นักโภชนาการแนะกินเจให้ได้โภชนาการต้องครบ 5 หมู่ และให้ระวังขาดโปรตีนและวิตามิน บี12 เตือนสิ่งต้องเลี่ยง ช่วงเจ แป้ง-เค็ม-มัน และ 2 ต้อง คือล้างผักให้สะอาดและออกกำลังกาย
นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ว่า ในช่วงระยะเวลา 10 วันนี้ ต้องเลือกอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและมีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ และวิตามินบี 12 ที่ตามปกติร่างกายได้รับจากตับ นม และไข่แดง จึงต้องหาอาหารทดแทน ซึ่งโปรตีนชั้นดี คือ ถั่วเมล็ดแห้ง ให้โปรตีนเทียบเท่าเนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ หรือโปรตีนเกษตร โดยหากทานเต้าหู้แผ่น 1 แผ่น ให้ปริมาณโปรตีนเทียบเท่าเนื้อหมูราว 3-4 ชิ้น สำหรับวิตามิน บี 12 หากร่างกายขาดจะทำให้โลหิตจาง ปลายประสาททำงานลดลง เกิดอาการชาที่แขนและขา ความจำไม่ดี และอารมณ์แปรปรวน แต่จะเกิดกับผู้ที่ทานเจหรือมังสวิรัติต่อเนื่องนานหลายปี เพื่อป้องกันการขาดวิตามิน บี12 ไม่ควรเคร่งครัดทานเจมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยอาจดื่มนมวัวทดแทนหรือกินข้าวซ้อมมือสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การถือศีลกินเจ ถือเป็นเรื่องดี เพราะนอกจากทำให้จิตใจบริสุทธิ์แล้ว ยังเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ดีในการรับประทานผักด้วย
นายสง่า กล่าวว่า สิ่งที่ต้องระวังในช่วงเทศกาลถือศีล กินเจ มี 3 เลี่ยง และ 2 ต้อง “3 เลี่ยง” คือ 1.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งเพราะจะเพิ่มน้ำหนักตัว เพราะอาหารเจมีผักเป็นส่วนใหญ่ ผักย่อยง่ายจึงหิวบ่อย คนที่กินเจจึงมักทานแป้งมากขึ้นด้วย แต่ถ้าเผาผลาญไม่หมดก็สะสมกลายเป็นน้ำตาล 2.หลีกเลี่ยงอาหารมันจัดอาหารเจมักใช้การผัด หรือทอด จึงต้องระวังน้ำมันส่วนเกิน ควรหันมาทานอาหารประเภท ต้ม นึ่ง อบ ยำ แทน ซึ่งรสชาติดีไม่แพ้กัน 3.หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะอาหารหลายชนิดในช่วงเจ จะทำในปริมาณมากๆ จึงมีการใส่เกลือ ซีอิ๊ว เพื่อช่วยถนอมอาหารให้อาหารอยู่ได้หลายวัน จึงอาจได้รับเกลือเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงและโรคไต ส่วน “2 ต้อง“ คือ 1.ต้องล้างผักให้สะอาดถูกวิธี โดยล้างให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 2 ครั้งๆ ละ 5-10 นาที เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนโดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างซึ่งหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง และ 2.ควรออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานไม่ให้สะสมกลายเป็นไขมัน โดยเดินเร็ว 30 นาที หรือปั่นจักรยาน 40 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ 150 กิโลแคลอรี่
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป สสส.เริ่มเดินเครื่อง “แผนอาหารสุขภาวะ” โดยยกระดับจากงานอาหาร-โภชนาการ และงานอาหารปลอดภัยที่เคยทำมาต่อยอดให้ครบวงจรอาหาร ตั้งแต่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน จนถึงระบบการตลาดสีเขียว-ตลาดอาหารคุณภาพ และค่านิยมการบริโภคอาหารปลอดภัยและโภชนาการ เน้นสร้างความร่วมมือสนับสนุนภาคีภาครัฐ ภาคชุมชนท้องถิ่นและภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤตอาหารและสุขภาพของคนไทย เนื่องจากพบว่าการผลิต-บริโภคอาหารของคนไทย ยังมีพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัย ส่งผลเสียต่อสุขภาพสูงมาก ทั้งภาวะอ้วนลงพุงที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัยเด็ก การขาดการออกกำลังกายและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เคลื่อนไหวร่างกายต่ำ และการผลิตที่ยังใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงมาก จึงจำเป็นต้องเร่งให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่ถูกต้องแก่ประชาชน พร้อมๆ ไปกับการส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยด้วย
นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ว่า ในช่วงระยะเวลา 10 วันนี้ ต้องเลือกอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและมีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ และวิตามินบี 12 ที่ตามปกติร่างกายได้รับจากตับ นม และไข่แดง จึงต้องหาอาหารทดแทน ซึ่งโปรตีนชั้นดี คือ ถั่วเมล็ดแห้ง ให้โปรตีนเทียบเท่าเนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ หรือโปรตีนเกษตร โดยหากทานเต้าหู้แผ่น 1 แผ่น ให้ปริมาณโปรตีนเทียบเท่าเนื้อหมูราว 3-4 ชิ้น สำหรับวิตามิน บี 12 หากร่างกายขาดจะทำให้โลหิตจาง ปลายประสาททำงานลดลง เกิดอาการชาที่แขนและขา ความจำไม่ดี และอารมณ์แปรปรวน แต่จะเกิดกับผู้ที่ทานเจหรือมังสวิรัติต่อเนื่องนานหลายปี เพื่อป้องกันการขาดวิตามิน บี12 ไม่ควรเคร่งครัดทานเจมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยอาจดื่มนมวัวทดแทนหรือกินข้าวซ้อมมือสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การถือศีลกินเจ ถือเป็นเรื่องดี เพราะนอกจากทำให้จิตใจบริสุทธิ์แล้ว ยังเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ดีในการรับประทานผักด้วย
นายสง่า กล่าวว่า สิ่งที่ต้องระวังในช่วงเทศกาลถือศีล กินเจ มี 3 เลี่ยง และ 2 ต้อง “3 เลี่ยง” คือ 1.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งเพราะจะเพิ่มน้ำหนักตัว เพราะอาหารเจมีผักเป็นส่วนใหญ่ ผักย่อยง่ายจึงหิวบ่อย คนที่กินเจจึงมักทานแป้งมากขึ้นด้วย แต่ถ้าเผาผลาญไม่หมดก็สะสมกลายเป็นน้ำตาล 2.หลีกเลี่ยงอาหารมันจัดอาหารเจมักใช้การผัด หรือทอด จึงต้องระวังน้ำมันส่วนเกิน ควรหันมาทานอาหารประเภท ต้ม นึ่ง อบ ยำ แทน ซึ่งรสชาติดีไม่แพ้กัน 3.หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะอาหารหลายชนิดในช่วงเจ จะทำในปริมาณมากๆ จึงมีการใส่เกลือ ซีอิ๊ว เพื่อช่วยถนอมอาหารให้อาหารอยู่ได้หลายวัน จึงอาจได้รับเกลือเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงและโรคไต ส่วน “2 ต้อง“ คือ 1.ต้องล้างผักให้สะอาดถูกวิธี โดยล้างให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 2 ครั้งๆ ละ 5-10 นาที เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนโดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างซึ่งหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง และ 2.ควรออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานไม่ให้สะสมกลายเป็นไขมัน โดยเดินเร็ว 30 นาที หรือปั่นจักรยาน 40 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ 150 กิโลแคลอรี่
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป สสส.เริ่มเดินเครื่อง “แผนอาหารสุขภาวะ” โดยยกระดับจากงานอาหาร-โภชนาการ และงานอาหารปลอดภัยที่เคยทำมาต่อยอดให้ครบวงจรอาหาร ตั้งแต่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน จนถึงระบบการตลาดสีเขียว-ตลาดอาหารคุณภาพ และค่านิยมการบริโภคอาหารปลอดภัยและโภชนาการ เน้นสร้างความร่วมมือสนับสนุนภาคีภาครัฐ ภาคชุมชนท้องถิ่นและภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤตอาหารและสุขภาพของคนไทย เนื่องจากพบว่าการผลิต-บริโภคอาหารของคนไทย ยังมีพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัย ส่งผลเสียต่อสุขภาพสูงมาก ทั้งภาวะอ้วนลงพุงที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัยเด็ก การขาดการออกกำลังกายและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เคลื่อนไหวร่างกายต่ำ และการผลิตที่ยังใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงมาก จึงจำเป็นต้องเร่งให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่ถูกต้องแก่ประชาชน พร้อมๆ ไปกับการส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยด้วย