สพฉ.จับมือ กรมเจ้าท่า กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ลงนามบันทึกความร่วมมือพัฒนาโครงการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ และพัฒนาเครือข่ายอาสาวารี ตอบโจทย์พัฒนาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำให้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมจัดซ้อมแผนฉุกเฉินลำเลียงผู้ป่วยทางน้ำ
วันนี้ (27 ก.ย.) ที่ รร.รอยัลริเวอร์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับ กรมเจ้าท่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือดำเนินงาน “โครงการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำและพัฒนาเครือข่ายอาสาวารี” โดยมี นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า รวมลงนาม และ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์ ธวัชชัย วงศ์คงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เป็นพยาน
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการดังกล่าว ริเริ่มขึ้นเนื่องจากสถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุทางน้ำ มีอัตราผู้บาดเจ็บและเสียชิวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีสถิติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยเกิดวิกฤตอุทกภัย ทำให้มีผู้ป่วยวิกฤตทางน้ำ อุบัติเหตุจมน้ำ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ณ จุดเกิดเหตุ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
“ สพฉ.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงผลักดันการทำงานในเชิงรุก โดยเชื่อว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำและเครือข่ายอาสาวารี ให้ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น โดยอาศัยศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 4 หน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนทุกคนบนแผ่นดินไทย ได้รับการบริหารในการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามแนวทาง 3 เร็ว 2 ดี ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ โทรศัพท์แจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669 เร็ว ชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินถึงที่เกิดเหตุเร็ว และนำผู้ป่วยฉุกเฉินส่งถึงโรงพยาบาลเร็ว รวมทั้งได้รับบริการที่ดีท้งกรณีภัยพิบัติและไม่มีภัยพิบัติ” นพ.ชาตรี กล่าว
เลขาธิการ สพฉ.กล่าวต่อว่า ในส่วนของ สพฉ.จะสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในระดับต่างๆ และอาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) เอง รวมทั้งร่วมฝึกอบรมในโครงการอาสาวารี ของกรมเจ้าท่า เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมช่วยเหลือต่อไป รวมทั้งอุดหนุน ชดเชยการปฏิบัติการให้กับชุดปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการทางน้ำ
สำหรับกรมเจ้าท่าในฐานะศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ ที่มีภารกิจและปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานเมื่อมีเหตุฉุกเฉินและคอยรับแจ้งเหตุทางน้ำ จะจัดชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ อาทิ เครือข่ายอาสาวารี ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ รวมทั้งประสานการช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มเติม และในส่วนของกรมควบคุม โดยสำนักโรคไม่ติดต่อและสำนักระบาดวิทยาจะสนับสนุนความรู้ทางวิชาการในเรื่องการป้องกันการจมน้ำ และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหน่วยงานนำร่องจะร่วมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และจัดชุดปฏิบัติการทางน้ำตามที่ สพฉ.กำหนด
อย่างไรก็ตาม หลังการบันทึกความร่วมมือ มีการฝึกซ้อมการช่วยเหลือและลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางน้ำ โดยสมมติสถานการณ์เรือเช่าเหมาลำมีผู้โดยสารประมาณ 10 คน ท้องเรือแตก มีผู้บาดเจ็บ และขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 1199 โดยเครือข่ายอาสาวารี ซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่ และผ่านการอบรมทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และประสานต่อ 1669 เพื่อรอรับผู้บาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงต่อไป โดยการฝึกซ้อมครั้งนี้เป็นการซ้อมการช่วยเหลือส่งต่อระหว่างเรือและรถพยาบาล เพื่อให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงระบบสั่งการของสายด่วน 1199 ของกรมเจ้าท่า และสายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉินของ สพฉ.ด้วย
วันนี้ (27 ก.ย.) ที่ รร.รอยัลริเวอร์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับ กรมเจ้าท่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือดำเนินงาน “โครงการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำและพัฒนาเครือข่ายอาสาวารี” โดยมี นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า รวมลงนาม และ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์ ธวัชชัย วงศ์คงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เป็นพยาน
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการดังกล่าว ริเริ่มขึ้นเนื่องจากสถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุทางน้ำ มีอัตราผู้บาดเจ็บและเสียชิวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีสถิติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยเกิดวิกฤตอุทกภัย ทำให้มีผู้ป่วยวิกฤตทางน้ำ อุบัติเหตุจมน้ำ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ณ จุดเกิดเหตุ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
“ สพฉ.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงผลักดันการทำงานในเชิงรุก โดยเชื่อว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำและเครือข่ายอาสาวารี ให้ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น โดยอาศัยศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 4 หน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนทุกคนบนแผ่นดินไทย ได้รับการบริหารในการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามแนวทาง 3 เร็ว 2 ดี ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ โทรศัพท์แจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669 เร็ว ชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินถึงที่เกิดเหตุเร็ว และนำผู้ป่วยฉุกเฉินส่งถึงโรงพยาบาลเร็ว รวมทั้งได้รับบริการที่ดีท้งกรณีภัยพิบัติและไม่มีภัยพิบัติ” นพ.ชาตรี กล่าว
เลขาธิการ สพฉ.กล่าวต่อว่า ในส่วนของ สพฉ.จะสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในระดับต่างๆ และอาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) เอง รวมทั้งร่วมฝึกอบรมในโครงการอาสาวารี ของกรมเจ้าท่า เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมช่วยเหลือต่อไป รวมทั้งอุดหนุน ชดเชยการปฏิบัติการให้กับชุดปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการทางน้ำ
สำหรับกรมเจ้าท่าในฐานะศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ ที่มีภารกิจและปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานเมื่อมีเหตุฉุกเฉินและคอยรับแจ้งเหตุทางน้ำ จะจัดชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ อาทิ เครือข่ายอาสาวารี ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ รวมทั้งประสานการช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มเติม และในส่วนของกรมควบคุม โดยสำนักโรคไม่ติดต่อและสำนักระบาดวิทยาจะสนับสนุนความรู้ทางวิชาการในเรื่องการป้องกันการจมน้ำ และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหน่วยงานนำร่องจะร่วมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และจัดชุดปฏิบัติการทางน้ำตามที่ สพฉ.กำหนด
อย่างไรก็ตาม หลังการบันทึกความร่วมมือ มีการฝึกซ้อมการช่วยเหลือและลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางน้ำ โดยสมมติสถานการณ์เรือเช่าเหมาลำมีผู้โดยสารประมาณ 10 คน ท้องเรือแตก มีผู้บาดเจ็บ และขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 1199 โดยเครือข่ายอาสาวารี ซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่ และผ่านการอบรมทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และประสานต่อ 1669 เพื่อรอรับผู้บาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงต่อไป โดยการฝึกซ้อมครั้งนี้เป็นการซ้อมการช่วยเหลือส่งต่อระหว่างเรือและรถพยาบาล เพื่อให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงระบบสั่งการของสายด่วน 1199 ของกรมเจ้าท่า และสายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉินของ สพฉ.ด้วย