โดย คุณวัตร ไพรภัทรกุล
ในสภาวะปัจจุบัน ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติตลอดเวลา โดยเฉพาะภัยจากธรรมชาติ รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดเตรียมระบบการช่วยเหลือฉุกเฉินนให้มีความพร้อมทุกรูปแบบ ทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดการประชุมเสวนาและมอบนโยบายการดำเนินงานทางการแพทย์และสาธารณสุข และเป็นประธานในพิธีบันทึกความร่วมมือการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติและการลำเลียงผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินอย่างครบวงจรในเขตภาคใต้ ระหว่างผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 6, 7, 8 ที่ดูแล 14 จังหวัดภาคใต้ กับเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 11, 12 กองทัพเรือภาค 2 สงขลา กองทัพเรือภาค 3 ภูเก็ต กองบังคับการตำรวจน้ำ จ.สุราษฎร์ธานี สงขลา ภูเก็ต ตรัง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา เขต 13 ภูเก็ต สำนักงานเจ้าท่าภาค 4 ภาค 5 และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ โดยใช้งบรองรับกว่า 100 ล้านบาท
“สธ.ทำคนเดียวคงไม่สำเร็จ ต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายถึงจะประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเพราะการเข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้นนั้นสามารถลดอัตราการพิการ และเสียชีวิตได้ อีกทั้งไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละหลายแสนล้าน สิ่งนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติได้” ปลัด สธ.กล่าว
หลังจากนั้น ได้มีการจัดการซ้อมแผนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อฝึกการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุให้หน่วยกู้ชีพในพื้นที่เกิดความชำนาญ ซึ่งได้จำลองสถานการณ์ คือ มีเรือหางยาว 2 ลำชนกันที่ริมชายฝั่งเกาะพงัน มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 10 คน และเสียชีวิต 1 คน ซึ่งมีพลเมืองดีแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669 ทางศูนย์รับแจ้งเหตุจึงได้สั่งการประสานส่งทีมกู้ชีพ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นเข้าให้การช่วยเหลือ โดยใช้แผนอุบัติเหตุหมู่ ซึ่งภายหลังที่ได้รับการแจ้งเหตุได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาในการปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วยและนำส่งโรงพยาบาลภายใน 10 นาที ให้ได้ร้อยละ 80 ของการออกปฏิบัติการ
ขั้นตอนการช่วยเหลือฉุกเฉินมีดังนี้ 1.หน่วยงานแรกที่เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุจะประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ พร้อมนำแถบสีเหลืองมากันบริเวณรอบพื้นที่เพื่อป้องกันไทยมุง โดยหน่วยกู้ภัยอื่นๆ ที่เข้ามาจะสอบถามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2.บริเวณรอบนอกจะมีนายเดินรถคอยดูแลและจัดระเบียบรถกู้ภัยเข้า-ออก โดยทำงานร่วมกับตำรวจจราจรที่จะคอยดูแลการจราจรรอบนอก พร้อมทั้งคอยเปิดทางให้กับรถกู้ภัยและรถพยาบาล 3.ในบริเวณที่เกิดเหตุจะมีหน่วยแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็น Field commander ที่จะทำหน้าที่สั่งการว่าจะให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะถูกส่งตัวไป รพ.ไหน โดยก่อนหน้านี้ จะมีการคัดแยกผู้บาดเจ็บออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสีเขียว เหลือง แดง และดำ เป็นการแบ่งตามอาการ คือ เบา กลาง หนัก และเสียชีวิต ตามลำดับ โดยการแบ่งกลุ่มนี้จะสอดคล้องกับการเข้าไปช่วยเหลือของหน่วยแพทย์ด้วย
4.เจ้าหน้าที่ Loading officer จะคอยรับคำสั่งจากหน่วยแพทย์ในการนำไปส่งรพ. โดยแบ่งตามอาการผู้บาดเจ็บ เช่น กลุ่มสีเขียวที่อาการเบาจะถูกนำส่งไปที่รพ.ที่อยู่ไกล ส่วนกลุ่มสีแดงที่อาการหนักจะถูกนำส่ง รพ.ที่อยู่ใกล้กว่า ซึ่งหน้าที่นี้เจ้าหน้าที่จะต้องคอยสั่งการว่าจะนำส่งด้วยพาหนะอะไร ที่จะเหมาะสมและรวดเร็วที่สุด โดยจะต้องคอยประสานงานกับ รพ.และหน่วยอื่นๆ เพื่อขอรถพยาบาลและรถขนส่งผู้บาดเจ็บสนับสนุน 5.สุดท้าย เจ้าหน้าที่ Field commander และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ามาเก็บข้อมูลและชันสูตรศพ
สิ่งที่น่าสนใจระหว่างการช่วยเหลือฉุกเฉินคือ จะไม่มีการปั๊มหัวใจผู้ประสบเหตุในพื้นที่ ด้วยเหตุผลที่ว่า จะต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่คิดว่าน่าจะรอดชีวิตก่อน เพื่อจะไม่ได้เป็นการเสียโอกาสในการช่วยผู้ที่น่าจะรอดกว่า...
ทั้งนี้ จากข้อมูลสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ณ วันที่ 13 มี.ค.2554 ทั่วประเทศ มีชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งภาครัฐ เอกชนและมูลนิธิต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียน 122,945 คน มีรถยนต์พร้อมเครื่องมือกู้ชีพ 14,189 คัน เรือ 1,128 ลำ เครื่องบิน 101 ลำ และศูนย์รับแจ้งเหตุสั่งการแพทย์ฉุกเฉิน 78 แห่ง โดยผลดำเนินการตั้งแต่ 21 ก.ย.53-20 มี.ค.54 ออกปฏิบัติการ 580,811 ครั้ง โดยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินร้อยละ 60 อุบัติเหตุจราจรร้อยละ 28 ซึ่งภายใน 10 นาที สามารถให้การช่วยเหลือได้ร้อยละ 75
ในสภาวะปัจจุบัน ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติตลอดเวลา โดยเฉพาะภัยจากธรรมชาติ รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดเตรียมระบบการช่วยเหลือฉุกเฉินนให้มีความพร้อมทุกรูปแบบ ทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดการประชุมเสวนาและมอบนโยบายการดำเนินงานทางการแพทย์และสาธารณสุข และเป็นประธานในพิธีบันทึกความร่วมมือการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติและการลำเลียงผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินอย่างครบวงจรในเขตภาคใต้ ระหว่างผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 6, 7, 8 ที่ดูแล 14 จังหวัดภาคใต้ กับเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 11, 12 กองทัพเรือภาค 2 สงขลา กองทัพเรือภาค 3 ภูเก็ต กองบังคับการตำรวจน้ำ จ.สุราษฎร์ธานี สงขลา ภูเก็ต ตรัง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา เขต 13 ภูเก็ต สำนักงานเจ้าท่าภาค 4 ภาค 5 และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ โดยใช้งบรองรับกว่า 100 ล้านบาท
“สธ.ทำคนเดียวคงไม่สำเร็จ ต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายถึงจะประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเพราะการเข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้นนั้นสามารถลดอัตราการพิการ และเสียชีวิตได้ อีกทั้งไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละหลายแสนล้าน สิ่งนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติได้” ปลัด สธ.กล่าว
หลังจากนั้น ได้มีการจัดการซ้อมแผนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อฝึกการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุให้หน่วยกู้ชีพในพื้นที่เกิดความชำนาญ ซึ่งได้จำลองสถานการณ์ คือ มีเรือหางยาว 2 ลำชนกันที่ริมชายฝั่งเกาะพงัน มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 10 คน และเสียชีวิต 1 คน ซึ่งมีพลเมืองดีแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669 ทางศูนย์รับแจ้งเหตุจึงได้สั่งการประสานส่งทีมกู้ชีพ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นเข้าให้การช่วยเหลือ โดยใช้แผนอุบัติเหตุหมู่ ซึ่งภายหลังที่ได้รับการแจ้งเหตุได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาในการปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วยและนำส่งโรงพยาบาลภายใน 10 นาที ให้ได้ร้อยละ 80 ของการออกปฏิบัติการ
ขั้นตอนการช่วยเหลือฉุกเฉินมีดังนี้ 1.หน่วยงานแรกที่เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุจะประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ พร้อมนำแถบสีเหลืองมากันบริเวณรอบพื้นที่เพื่อป้องกันไทยมุง โดยหน่วยกู้ภัยอื่นๆ ที่เข้ามาจะสอบถามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2.บริเวณรอบนอกจะมีนายเดินรถคอยดูแลและจัดระเบียบรถกู้ภัยเข้า-ออก โดยทำงานร่วมกับตำรวจจราจรที่จะคอยดูแลการจราจรรอบนอก พร้อมทั้งคอยเปิดทางให้กับรถกู้ภัยและรถพยาบาล 3.ในบริเวณที่เกิดเหตุจะมีหน่วยแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็น Field commander ที่จะทำหน้าที่สั่งการว่าจะให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะถูกส่งตัวไป รพ.ไหน โดยก่อนหน้านี้ จะมีการคัดแยกผู้บาดเจ็บออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสีเขียว เหลือง แดง และดำ เป็นการแบ่งตามอาการ คือ เบา กลาง หนัก และเสียชีวิต ตามลำดับ โดยการแบ่งกลุ่มนี้จะสอดคล้องกับการเข้าไปช่วยเหลือของหน่วยแพทย์ด้วย
4.เจ้าหน้าที่ Loading officer จะคอยรับคำสั่งจากหน่วยแพทย์ในการนำไปส่งรพ. โดยแบ่งตามอาการผู้บาดเจ็บ เช่น กลุ่มสีเขียวที่อาการเบาจะถูกนำส่งไปที่รพ.ที่อยู่ไกล ส่วนกลุ่มสีแดงที่อาการหนักจะถูกนำส่ง รพ.ที่อยู่ใกล้กว่า ซึ่งหน้าที่นี้เจ้าหน้าที่จะต้องคอยสั่งการว่าจะนำส่งด้วยพาหนะอะไร ที่จะเหมาะสมและรวดเร็วที่สุด โดยจะต้องคอยประสานงานกับ รพ.และหน่วยอื่นๆ เพื่อขอรถพยาบาลและรถขนส่งผู้บาดเจ็บสนับสนุน 5.สุดท้าย เจ้าหน้าที่ Field commander และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ามาเก็บข้อมูลและชันสูตรศพ
สิ่งที่น่าสนใจระหว่างการช่วยเหลือฉุกเฉินคือ จะไม่มีการปั๊มหัวใจผู้ประสบเหตุในพื้นที่ ด้วยเหตุผลที่ว่า จะต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่คิดว่าน่าจะรอดชีวิตก่อน เพื่อจะไม่ได้เป็นการเสียโอกาสในการช่วยผู้ที่น่าจะรอดกว่า...
ทั้งนี้ จากข้อมูลสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ณ วันที่ 13 มี.ค.2554 ทั่วประเทศ มีชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งภาครัฐ เอกชนและมูลนิธิต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียน 122,945 คน มีรถยนต์พร้อมเครื่องมือกู้ชีพ 14,189 คัน เรือ 1,128 ลำ เครื่องบิน 101 ลำ และศูนย์รับแจ้งเหตุสั่งการแพทย์ฉุกเฉิน 78 แห่ง โดยผลดำเนินการตั้งแต่ 21 ก.ย.53-20 มี.ค.54 ออกปฏิบัติการ 580,811 ครั้ง โดยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินร้อยละ 60 อุบัติเหตุจราจรร้อยละ 28 ซึ่งภายใน 10 นาที สามารถให้การช่วยเหลือได้ร้อยละ 75