สธ.เตรียมออกกฎกระทรวง ยกระดับมาตรฐานโรงงานผลิตยาสมุนไพร ปรับหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและแก้ไขกฎหมายยา ส่งออกสมุนไพรไทยสู่ตลาดอาเซียน ปี 58
วันนี้ (16 ก.ย.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กทม. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาเรื่อง โอกาสสมุนไพรไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ว่า อนาคตสมุนไพรไทย มีโอกาสเติบโตในตลาดโลก เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีแนวโน้มหันมาให้ความสนใจใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพราะได้จากธรรมชาติและให้ประโยชน์ไม่ด้อยกว่ายาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีสมุนไพรคุณภาพดีมากแห่งหนึ่งของโลก
นายต่อพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยงานดูแลเรื่องการส่งเสริมพัฒนาสมุนไพรไทยร่วมกัน 3 กรม ได้แก่ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดูตั้งแต่การศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทยใช้เป็นยา เครื่องสำอาง อาหารเสริมสุขภาพ พัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์คุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร การรับรองคุณภาพมาตรฐานสมุนไพร และควบคุมมาตรฐานการผลิตของโรงงานสมุนไพรให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (GMP : Good Manufacturing Practice)
“ในการเตรียมการให้พร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุข โดย อย.ได้ดำเนินการพัฒนาสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดประชาคมอาเซียนได้ใน 3 เรื่องใหญ่ ได้แก่ 1.เตรียมออกกฎกระทรวงสาธารณสุข ยกระดับมาตรฐานสถานที่ผลิตสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี ซึ่งขณะนี้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างรอกฤษฎีกา 2.ปรับแก้หลักเกณฑ์การรับขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของประชาคมอาเซียน โดยให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมวางหลักเกณฑ์การพัฒนายาสมุนไพรให้เป็นสากล และ3.แก้ไขพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้มีความทันสมัยและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสมุนไพร เช่น แก้นิยามศัพท์คำว่า ยาแผนโบราณ แก้ไขเป็นยาแผนไทย หรือยาแผนทางเลือก คณะกรรมการภาใต้กฎหมายยาที่ดูแลเรื่องยา ซึ่งเดิมมี 1 ชุด จะแยกคณะกรรมการที่รับผิดชอบดูแลยาสมุนไพรออกมาอีก 1 ชุด และมีการเขียนหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับสมุนไพรไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา” นายต่อพงษ์กล่าว
ทื้งนี้ ข้อมูลล่าสุดเดือนธันวาคม 2553 มีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพีในประเทศ จำนวน 27 แห่ง และมีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพีของอาเซียนแล้ว 15 แห่ง
วันนี้ (16 ก.ย.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กทม. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาเรื่อง โอกาสสมุนไพรไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ว่า อนาคตสมุนไพรไทย มีโอกาสเติบโตในตลาดโลก เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีแนวโน้มหันมาให้ความสนใจใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพราะได้จากธรรมชาติและให้ประโยชน์ไม่ด้อยกว่ายาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีสมุนไพรคุณภาพดีมากแห่งหนึ่งของโลก
นายต่อพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยงานดูแลเรื่องการส่งเสริมพัฒนาสมุนไพรไทยร่วมกัน 3 กรม ได้แก่ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดูตั้งแต่การศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทยใช้เป็นยา เครื่องสำอาง อาหารเสริมสุขภาพ พัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์คุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร การรับรองคุณภาพมาตรฐานสมุนไพร และควบคุมมาตรฐานการผลิตของโรงงานสมุนไพรให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (GMP : Good Manufacturing Practice)
“ในการเตรียมการให้พร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุข โดย อย.ได้ดำเนินการพัฒนาสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดประชาคมอาเซียนได้ใน 3 เรื่องใหญ่ ได้แก่ 1.เตรียมออกกฎกระทรวงสาธารณสุข ยกระดับมาตรฐานสถานที่ผลิตสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี ซึ่งขณะนี้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างรอกฤษฎีกา 2.ปรับแก้หลักเกณฑ์การรับขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของประชาคมอาเซียน โดยให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมวางหลักเกณฑ์การพัฒนายาสมุนไพรให้เป็นสากล และ3.แก้ไขพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้มีความทันสมัยและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสมุนไพร เช่น แก้นิยามศัพท์คำว่า ยาแผนโบราณ แก้ไขเป็นยาแผนไทย หรือยาแผนทางเลือก คณะกรรมการภาใต้กฎหมายยาที่ดูแลเรื่องยา ซึ่งเดิมมี 1 ชุด จะแยกคณะกรรมการที่รับผิดชอบดูแลยาสมุนไพรออกมาอีก 1 ชุด และมีการเขียนหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับสมุนไพรไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา” นายต่อพงษ์กล่าว
ทื้งนี้ ข้อมูลล่าสุดเดือนธันวาคม 2553 มีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพีในประเทศ จำนวน 27 แห่ง และมีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพีของอาเซียนแล้ว 15 แห่ง