กลุ่มอาจารย์สายสังคม ยันยกเลิก TQF หาช่องประเมินใหม่ ติง “สุเมธ” พูดไม่ตรงสร้างความแตกแยกในอุดมศึกษา ขณะที่ สกอ.ชี้เลิกไม่ได้เตรียมชง กกอ.หาข้อยุติ 6 ต.ค.
นางสาวปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่คณะทำงานปฏิรูปอุดมศึกษาไทย นำรายชื่อคณาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั่วประเทศ กว่า 700 คน ได้ร่วมลงชื่อไม่เห็นด้วยกับการประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552 หรือ TQF ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และต้องการให้มีการยกเลิกกรอบดังกล่าว โดยได้นำเสนอต่อ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวนั้นได้ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และนายกำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ กกอ. ได้ร่วมประชุมด้วยและมีข้อสรุป ว่าจะมีการทบทวน แต่เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา นายสุเมธ ได้ยืนยันจะดำเนินการเรื่องเรื่องทีคิวเอฟต่อไป
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนั้น มีตัวแทนของสกอ.มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำงานฯและคณาจารย์ที่ลงนามในจดหมาย ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกาศใช้ทีคิวเอฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาระการกรอกและแก้ไขเอกสารจำนวนมหาศาล ที่นำไปสู่การคัดลอกข้อมูลลงแบบฟอร์มของคณาจารย์เพื่อให้งานจบไปโดยไม่ใส่ใจต่อเนื้อหาใดๆ บั่นทอนพลังงานที่อาจารย์ควรใช้เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและรับผิดชอบต่อสังคม ปัญหาความเป็นมาตรฐานเชิงเดี่ยวของทีคิวเอฟกรอบผลการเรียนรู้ที่ละเอียดยิบและไม่ยืดหยุ่น ไม่สนใจความหลากหลายของสาขาวิชาต่างๆ และลักษณะที่แตกต่างกันของมหาวิทยาลัยไทย ความซ้ำซ้อนของการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ อาทิ สมศ.และ สกอ.ตลอดจนกระบวนการพัฒนาทีคิวเอฟที่ขาดการมีส่วนร่วมของคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ซึ่งทางคณะทำงานปฏิรูปอุดมศึกษาไทย มีความกังวลว่า ท่าทีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะฉุดรั้งให้อุดมศึกษาไทยต้องถอยหลังเข้าสู่ยุคมืดของการศึกษา หากแต่จะทวีช่องว่างและความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารอุดมศึกษา และคณาจารย์ในประเทศให้รุนแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย
“คณะทำงานปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ในนามของคณาจารย์ 700 คนทั่วประเทศ ขอออกแถลงการณ์ยืนยันขอให้สกอ.ยกเลิกกรอบทีคิวเอฟไปก่อน และหาแนวทางการประเมินใหม่ที่สอดคล้องกันทั้งสายสังคม สายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ คณะทำงานฯเห็นความสำคัญที่จะต้องมีการประกันคุณภาพอุดมศึกษา แต่ทีคิวเอฟเป็นเครื่องมือที่สร้างปัญหามากกว่าส่งเสริมคุณภาพ”นางสาวปิ่นแก้ว กล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า ตนจะเสนอต่อ นายสุเมธ ให้นำเรื่องดังกล่าวหารือต่อที่ประชุมคณะกรรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)ในวันที่ 6 ตุลาคมนี้ โดยทาง สกอ.จะเชิญอาจารย์ที่มีข้อเรียกร้องในเรื่องนี้ทั้งหมดมาร่วมเสวนาจนได้ข้อยุติก่อนดำเนินการปรับแก้ในครั้งเดียวกัน ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะไม่มีการยกเลิกทีคิวเอฟ เนื่องจากที่ผ่านมา มีการดำเนินการไปมากแล้ว มีการประกาศใช้ไปแล้ว 10 สาขา อยู่ระหว่างดำเนินการ 25 สาขา นอกจากนี้ มีหลายศาสตร์ที่เน้นการใช้ทีคิวเอฟเป็นเครื่องประกันคุณภาพ โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
นางสาวปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่คณะทำงานปฏิรูปอุดมศึกษาไทย นำรายชื่อคณาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั่วประเทศ กว่า 700 คน ได้ร่วมลงชื่อไม่เห็นด้วยกับการประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552 หรือ TQF ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และต้องการให้มีการยกเลิกกรอบดังกล่าว โดยได้นำเสนอต่อ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวนั้นได้ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และนายกำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ กกอ. ได้ร่วมประชุมด้วยและมีข้อสรุป ว่าจะมีการทบทวน แต่เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา นายสุเมธ ได้ยืนยันจะดำเนินการเรื่องเรื่องทีคิวเอฟต่อไป
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนั้น มีตัวแทนของสกอ.มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำงานฯและคณาจารย์ที่ลงนามในจดหมาย ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกาศใช้ทีคิวเอฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาระการกรอกและแก้ไขเอกสารจำนวนมหาศาล ที่นำไปสู่การคัดลอกข้อมูลลงแบบฟอร์มของคณาจารย์เพื่อให้งานจบไปโดยไม่ใส่ใจต่อเนื้อหาใดๆ บั่นทอนพลังงานที่อาจารย์ควรใช้เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและรับผิดชอบต่อสังคม ปัญหาความเป็นมาตรฐานเชิงเดี่ยวของทีคิวเอฟกรอบผลการเรียนรู้ที่ละเอียดยิบและไม่ยืดหยุ่น ไม่สนใจความหลากหลายของสาขาวิชาต่างๆ และลักษณะที่แตกต่างกันของมหาวิทยาลัยไทย ความซ้ำซ้อนของการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ อาทิ สมศ.และ สกอ.ตลอดจนกระบวนการพัฒนาทีคิวเอฟที่ขาดการมีส่วนร่วมของคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ซึ่งทางคณะทำงานปฏิรูปอุดมศึกษาไทย มีความกังวลว่า ท่าทีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะฉุดรั้งให้อุดมศึกษาไทยต้องถอยหลังเข้าสู่ยุคมืดของการศึกษา หากแต่จะทวีช่องว่างและความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารอุดมศึกษา และคณาจารย์ในประเทศให้รุนแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย
“คณะทำงานปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ในนามของคณาจารย์ 700 คนทั่วประเทศ ขอออกแถลงการณ์ยืนยันขอให้สกอ.ยกเลิกกรอบทีคิวเอฟไปก่อน และหาแนวทางการประเมินใหม่ที่สอดคล้องกันทั้งสายสังคม สายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ คณะทำงานฯเห็นความสำคัญที่จะต้องมีการประกันคุณภาพอุดมศึกษา แต่ทีคิวเอฟเป็นเครื่องมือที่สร้างปัญหามากกว่าส่งเสริมคุณภาพ”นางสาวปิ่นแก้ว กล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า ตนจะเสนอต่อ นายสุเมธ ให้นำเรื่องดังกล่าวหารือต่อที่ประชุมคณะกรรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)ในวันที่ 6 ตุลาคมนี้ โดยทาง สกอ.จะเชิญอาจารย์ที่มีข้อเรียกร้องในเรื่องนี้ทั้งหมดมาร่วมเสวนาจนได้ข้อยุติก่อนดำเนินการปรับแก้ในครั้งเดียวกัน ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะไม่มีการยกเลิกทีคิวเอฟ เนื่องจากที่ผ่านมา มีการดำเนินการไปมากแล้ว มีการประกาศใช้ไปแล้ว 10 สาขา อยู่ระหว่างดำเนินการ 25 สาขา นอกจากนี้ มีหลายศาสตร์ที่เน้นการใช้ทีคิวเอฟเป็นเครื่องประกันคุณภาพ โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น