ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ปักธง จังหวัดงานบุญปลอดเหล้าแห่งแรกของไทย ลดกระเป๋าฉีกจากน้ำเมาได้กว่า 76 ล้านบาท เน้นความร่วมมือสมัครใจเข้าร่วมโครงการ มีหมู่บ้านร่วมงดเหล้ากว่า 88% ประหยัดเงินแถมลดการทะเลาะวิวาทในงานระดับจังหวัดได้ด้วย สสส.เร่งเดินหน้าสานต่อรณรงค์งดเหล้า 9 ปี มั่นใจคนไทยห่างไกลน้ำเมามากขึ้น
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า มีนโยบายให้ริเริ่มโครงการจังหวัดศรีสะเกษ งานบุญปลอดเหล้า เทิดพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 - 5 ธันวาคม 2554 ส่งผลให้ขณะนี้มี 2,314 หมู่บ้าน จาก 2,626 หมู่บ้าน ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการ คิดเป็น 88% ที่จัดกิจกรรมปลอดเหล้าในงานบุญทั้งอวมงคล เช่น งานศพ และ มงคล เช่น งานแต่งงาน งานบวช ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทั้งหมดมีงานบุญปลอดน้ำเมา 3,745 กิจกรรม ทำให้สามารถประหยัดเงินได้อย่างน้อยงานละ 20,000 บาท ภาพรวมทั้งจังหวัดประหยัดเงินได้มากถึง 76,601,183 ล้านบาท โดยอำเภอที่ประหยัดเงินจากงานบุญปลอดน้ำเมาได้มากสุด 5 อันดับแรก คือ 1.อ.ขุขันธ์ ประหยัดได้ 19 ล้านบาท จากทั้งหมด 659 กิจกรรม 2.อ.อุทมพรพิสัย ประหยัด 14 ล้านบาท จาก 516 กิจกรรม 3.อ.ขุนหาญ ประหยัด 9.6 ล้านบาทจาก 391 กิจกรรม 4.อ.เมืองศรีสะเกษ ประหยัด 6.2 ล้านบาท จาก 254 กิจกรรม และ 5.อ.กันทรลักษ์ 5.7 ล้านบาท จาก 280 กิจกรรม
“เรียกได้ว่า ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีหมู่บ้านร่วมรณรงค์จัดกิจกรรมงานบุญปลอดเหล้ามากที่สุดในประเทศไทย โดยดำเนินการทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับหมู่บ้าน อย่างงานระดับจังหวัด เช่น งานเทศกาลปีใหม่ สี่เผ่าไทยจังหวัดศรีสะเกษ 2554 ปลอดเหล้านอกจากช่วยประหยัดเงินในการซื้อขายน้ำเมาแล้ว ยังไม่มีการทะเลาะวิวาทที่เป็นพิษร้ายจากฤทธิ์น้ำเมาเลยแม้แต่คดีเดียว จากที่ปี 2553 มีถึง 4 คดี นอกจากนี้ งานระดับจังหวัด อย่าง เทศกาลลำดวนบาน งานเงาะทุเรียนของจังหวัด ก็มีการทะเลาะวิวาทลดลงด้วย” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน กำลังให้ความสนใจและนำไปปฏิบัติสำหรับงานบุญ โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ คณะสงฆ์ภายในจังหวัด คณะกรรมการโรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ฯลฯ พบว่า มีหน่วยงาน บุคคลเข้าร่วม164,994 คนจากทั้งหมด 767,425 คน คิดเป็น 21.50% ของประชากรทั้งจังหวัด ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญ ที่ตนเน้นย้ำในการทำงาน คือ ไม่เน้นเชิงปริมาณ แต่เน้นเรื่องความสมัครใจจากการหารือและข้อตกลงของประชาคมในชุมชนเองว่าต้องการดำเนินการให้ปลอดน้ำเมาจริงๆ และคิดบทลงโทษกันเอง ซึ่งคาดว่าในการดำเนินการในช่วงที่เหลืออีกกว่า 2 เดือนจะได้รับความร่วมมือร่วมขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในเดือนธันวาคมปีนี้
ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาตั้งแต่ปี 2546 และในปี 2547 ได้ขยายผลจัดโครงการกฐินปลอดเหล้า และโครงการวัดปลอดเหล้า จนนำไปสู่การผลักดันพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และได้มีการรณรงค์เรื่องเลี้ยงเหล้าในงานบุญเท่ากับบาป ส่งผลให้จ.ลำปาง เริ่มรณรงค์จัดงานศพปลอดเหล้าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยครบทุกตำบล จนมีการขยายผลสำหรับงานบุญทุกชนิดให้ปลอดน้ำเมาได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วไทย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับการร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด รวมถึงภาคประชาชน และเอกชน ที่ให้การสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง สสส. และภาคีเครือข่าย จะรณรงค์อย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ขยายภาคี ทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งจัดทำข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อพร้อมกับการขยายผลพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า มีนโยบายให้ริเริ่มโครงการจังหวัดศรีสะเกษ งานบุญปลอดเหล้า เทิดพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 - 5 ธันวาคม 2554 ส่งผลให้ขณะนี้มี 2,314 หมู่บ้าน จาก 2,626 หมู่บ้าน ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการ คิดเป็น 88% ที่จัดกิจกรรมปลอดเหล้าในงานบุญทั้งอวมงคล เช่น งานศพ และ มงคล เช่น งานแต่งงาน งานบวช ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทั้งหมดมีงานบุญปลอดน้ำเมา 3,745 กิจกรรม ทำให้สามารถประหยัดเงินได้อย่างน้อยงานละ 20,000 บาท ภาพรวมทั้งจังหวัดประหยัดเงินได้มากถึง 76,601,183 ล้านบาท โดยอำเภอที่ประหยัดเงินจากงานบุญปลอดน้ำเมาได้มากสุด 5 อันดับแรก คือ 1.อ.ขุขันธ์ ประหยัดได้ 19 ล้านบาท จากทั้งหมด 659 กิจกรรม 2.อ.อุทมพรพิสัย ประหยัด 14 ล้านบาท จาก 516 กิจกรรม 3.อ.ขุนหาญ ประหยัด 9.6 ล้านบาทจาก 391 กิจกรรม 4.อ.เมืองศรีสะเกษ ประหยัด 6.2 ล้านบาท จาก 254 กิจกรรม และ 5.อ.กันทรลักษ์ 5.7 ล้านบาท จาก 280 กิจกรรม
“เรียกได้ว่า ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีหมู่บ้านร่วมรณรงค์จัดกิจกรรมงานบุญปลอดเหล้ามากที่สุดในประเทศไทย โดยดำเนินการทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับหมู่บ้าน อย่างงานระดับจังหวัด เช่น งานเทศกาลปีใหม่ สี่เผ่าไทยจังหวัดศรีสะเกษ 2554 ปลอดเหล้านอกจากช่วยประหยัดเงินในการซื้อขายน้ำเมาแล้ว ยังไม่มีการทะเลาะวิวาทที่เป็นพิษร้ายจากฤทธิ์น้ำเมาเลยแม้แต่คดีเดียว จากที่ปี 2553 มีถึง 4 คดี นอกจากนี้ งานระดับจังหวัด อย่าง เทศกาลลำดวนบาน งานเงาะทุเรียนของจังหวัด ก็มีการทะเลาะวิวาทลดลงด้วย” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน กำลังให้ความสนใจและนำไปปฏิบัติสำหรับงานบุญ โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ คณะสงฆ์ภายในจังหวัด คณะกรรมการโรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ฯลฯ พบว่า มีหน่วยงาน บุคคลเข้าร่วม164,994 คนจากทั้งหมด 767,425 คน คิดเป็น 21.50% ของประชากรทั้งจังหวัด ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญ ที่ตนเน้นย้ำในการทำงาน คือ ไม่เน้นเชิงปริมาณ แต่เน้นเรื่องความสมัครใจจากการหารือและข้อตกลงของประชาคมในชุมชนเองว่าต้องการดำเนินการให้ปลอดน้ำเมาจริงๆ และคิดบทลงโทษกันเอง ซึ่งคาดว่าในการดำเนินการในช่วงที่เหลืออีกกว่า 2 เดือนจะได้รับความร่วมมือร่วมขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในเดือนธันวาคมปีนี้
ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาตั้งแต่ปี 2546 และในปี 2547 ได้ขยายผลจัดโครงการกฐินปลอดเหล้า และโครงการวัดปลอดเหล้า จนนำไปสู่การผลักดันพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และได้มีการรณรงค์เรื่องเลี้ยงเหล้าในงานบุญเท่ากับบาป ส่งผลให้จ.ลำปาง เริ่มรณรงค์จัดงานศพปลอดเหล้าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยครบทุกตำบล จนมีการขยายผลสำหรับงานบุญทุกชนิดให้ปลอดน้ำเมาได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วไทย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับการร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด รวมถึงภาคประชาชน และเอกชน ที่ให้การสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง สสส. และภาคีเครือข่าย จะรณรงค์อย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ขยายภาคี ทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งจัดทำข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อพร้อมกับการขยายผลพื้นที่อื่นๆ ต่อไป