อึ้ง!! มะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตหญิงไทยคนวันละ 14 คน เปิดผลวิจัยสาวไทยร้อยละ 84 ไม่เคยตรวจคัดกรอง เหตุชะล่าใจเพราะยังไม่มีอาการ อนุ กมธ.สาธารณสุข เสนอ 3 แนวทางป้องกันมะเร็งครบวงจร หนุนฉีดวัคซีนป้องกันHPV ให้หญิง 12-19 ปี ฟรี ชี้รัฐบาลลงทุนวางระบบ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละ กว่า 2 หมื่นล้าน สสส.จี้รัฐเร่งรณรงค์ให้ความรู้ด่วน
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่อาคารรัฐสภา 2 คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดเสวนาเสวนาเรื่อง “มะเร็งปากมดลูก : รู้เท่าทัน ผลักดันสู่นโยบาย” เพื่อให้ความรู้กับสมาชิกวุฒิสภา เครือข่ายประชาชน ข้าราชการและสื่อมวลชน เพศหญิงให้เห็นถึงปัญหาและผลกระทบต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและการป้องกันและแก้ไขปัยหาในเรื่องนี้
ศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในวงเสวนาว่า ปัจจุบันสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งถือว่าน่าเป็นห่วงมากขึ้น แต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งกว่า 6 ล้านคน องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์อีก 9 ปีข้างหน้า หรือในปี 2563 จะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งมากกว่า 11 ล้านคน ส่วนประเทศไทย มีแนวโน้มผู้ป่วยมะเร็งมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเพศหญิง พบอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกเป็นลำดับ 2 แต่กลับมีอัตราการตายสูงเป็นลำดับ 1 โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 คน และเสียชีวิตประมาณ 5,200 คน หรือร้อยละ 52 เทียบแล้วพบว่า แต่ละวันมีผู้ป่วยเพิ่ม 27 คน และเสียชีวิตวันละ 14 คน สำหรับมะเร็งปากมดลูกเกิดจากติดเชื้อไวรัสหูด หรือ HPV ป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ไม่สำส่อนทางเพศ งดสูบบุหรี่ นอกจากนั้นจะต้องมีการตรวจคัดกรอง และฉีดวัคซีน
ด้านพญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากการป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย อายุ 30-59 ปี โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกัน และค่าใช้จ่ายในการรักษาในกรณีต่างๆ เช่น ไม่มีการป้องกันเลย การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนและ การคัดกรอง โดยใช้ราคาวัคซีนที่ต่างกัน และในกรณีที่มีแต่การคัดกรองอย่างเดียวในจำนวนประชากรหญิงไทยอายุ 30-59 ปี
ในปี 2553 จำนวน 14.5 ล้านคน โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ เรื่องความคุ้มค่าการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของไทย เปรียบเทียบระหว่างการตรวจคัดกรองด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) การใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจาง หรือวีไอเอ (VIA) และการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV พบว่า ถ้าไม่มีการฉีดวัคซีนและไม่ตรวจคัดกรองเลยรัฐจะต้องเสียเงินเฉลี่ยคนละ 3,820 บาท สำหรับค่ารักษามะเร็งปากมดลูกซึ่งเกิดขึ้นในประชากรกลุ่มอายุนี้ คิดเป็นจำนวนถึง 55,720 ล้านบาท ภายในเวลา 5 ปีหรือปีละ 11,144 ล้านบาท แต่ถ้าตรวจคัดกรองโดยวิธีแป๊ปสเมียร์ อย่างเดียวให้ครอบคลุมได้ร้อยละ 80ของหญิงกลุ่มเป้าหมาย ค่ารักษาเฉลี่ยต่อ 1 คนจะลดลงเป็นคนละ 2,540 บาท และถ้าจะฉีดวัคซีนป้องกัน HPV และตรวจคัดกรองด้วยให้ได้ความครอบคลุมร้อยละ 70 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาจะเหลือคนละ 2,000 บาท ทำให้ค่ารักษาจะลดลงเหลือเพียง 29,173 ล้านบาทภายใน 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 5,834 ล้านบาท ซึ่งถูกลงกว่าครึ่ง
คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาความคุ้มค่าในการป้องกันและรักษา อ้างอิงจากการศึกษาวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ เรื่องความคุ้มค่าการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของไทย โดยเปรียบเทียบ ระหว่างการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) การใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจาง หรือวีไอเอ (VIA) และการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV โดยคิดจากต้นทุนเฉลี่ยต่อหญิงไทย อายุ 30-59 ปี พบว่า หากไม่ฉีดวัคซีนและไม่ตรวจคัดกรอง ต้องเสียค่ารักษาเมื่อพบโรค 3,820 บาท/คน หากตรวจคัดกรองเพียงอย่างเดียว เสียค่ารักษา 2,540 บาท/คน หากรัฐสนับสนุนให้ตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรหญิงทั้งหมด เสียค่ารักษาคนละ 2,000 บาท ซึ่งหากเปรียบเทียบแต่ละปีรัฐจะใช้งบฯ ป้องกันเพียงปีละ 6,618 ล้านบาท และเสียค่ารักษากรณีที่เมื่อพบโรคปีละ 35,791 ล้านบาท แต่หากไม่ฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรองรัฐจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษากรณีเมื่อพบโรคถึงปีละ 55,720 ล้านบาท สามารถประหยัดงบฯ ได้ถึงปีละ 19,929 ล้านบาท
พญ.พรพันธุ์กล่าวอีกว่า จากการพิจารณาของอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า การควบคุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลควรกำหนดนโยบายตามกลุ่มอายุ ดังนี้ 1.กลุ่มอายุ 30-45 ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการตรวจแป๊ปสเมียร์ / VIA ทุก 5 ปี 2.กลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ทุก 5 ปี และกลุ่มเสี่ยง (มีปัจจัยเสี่ยง) ควรได้รับการตรวจทุกปีด้วย Pap Smear หรือ HPV DNA Typing 3.กลุ่มอายุ 12-19 ปี ควรได้รับวัคซีนพื้นฐานทุกคน ซึ่งป้องกันได้ 10-20 ปี ทั้ง 3 แนวทางถือว่าคุ้มค่าและมีประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนี้ ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน ซึ่งยังป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การตั้งครรภ์และมีลูกหลายคน และการสูบบุหรี่ เป็นต้น เพื่อให้การป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
ด้าน น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส. กล่าวถึง โครงการสำรวจการรับรู้และทัศนคติในการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก พบว่า จากการสำรวจ ประชาชนทั่วไป อายุ 15-50 ปี ในเขต กทม.และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 9-23 ส.ค. 2554 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.2 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก โดยกลุ่มอายุ 31-40 ปี รับรู้ข้อมูลมากที่สุด ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-20 ปี รับรู้ข้อมูลน้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่ไม่เคยรับบริการตรวจคัดกรองเลยร้อยละ 60 ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุ 15-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 83.7 สำหรับกลุ่มที่เข้าคัดกรองมากที่สุดจากการตรวจสุขภาพประจำปี คือ กลุ่มอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.2 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 54 ส่วนใหญ่ผู้ที่เข้ารับการคัดกรองเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว คิดเป็นร้อยละ 57.9 ยังไม่แต่งงานแต่มีคู่รักร้อยละ 25 ที่น่ากังวลคือผู้ที่ยังไม่เคยรับการตรวจระบุว่า เพราะยังไม่มีอาการผิดปกติร้อยละ 66.3 ไม่มีเวลาร้อยละ 39.9 อายหมอ พยาบาลร้อยละ 21.3 และไม่คิดว่าตนเองจะเป็นมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 14.3
ส่วนรูปแบบในการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ทราบรูปแบบการตรวจคัดกรองร้อยละ 53.7 ขณะที่รู้จักวิธีแป๊ปสเมียร์ร้อยละ 35.9 วีไอเอร้อยละ 6 และฉีดวัคซีนร้อยละ 3.2 ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องรณรงค์ให้ความรู้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพราะผู้ชายถือเป็นพาหะนำเชื้อมาติดผู้หญิงได้ เพื่อให้เกิดการตระหนักในความเสี่ยงอันตรายที่เกิดและการป้องกันตนเองที่ถูกต้องทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เช่น การสูบบุหรี่ทำให้อัตราเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะกับใครก็ตาม ช่วยลดโอกาสเสี่ยงได้มาก รวมทั้งการตรวจคัดกรอง เป็นต้น
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่อาคารรัฐสภา 2 คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดเสวนาเสวนาเรื่อง “มะเร็งปากมดลูก : รู้เท่าทัน ผลักดันสู่นโยบาย” เพื่อให้ความรู้กับสมาชิกวุฒิสภา เครือข่ายประชาชน ข้าราชการและสื่อมวลชน เพศหญิงให้เห็นถึงปัญหาและผลกระทบต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและการป้องกันและแก้ไขปัยหาในเรื่องนี้
ศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในวงเสวนาว่า ปัจจุบันสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งถือว่าน่าเป็นห่วงมากขึ้น แต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งกว่า 6 ล้านคน องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์อีก 9 ปีข้างหน้า หรือในปี 2563 จะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งมากกว่า 11 ล้านคน ส่วนประเทศไทย มีแนวโน้มผู้ป่วยมะเร็งมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเพศหญิง พบอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกเป็นลำดับ 2 แต่กลับมีอัตราการตายสูงเป็นลำดับ 1 โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 คน และเสียชีวิตประมาณ 5,200 คน หรือร้อยละ 52 เทียบแล้วพบว่า แต่ละวันมีผู้ป่วยเพิ่ม 27 คน และเสียชีวิตวันละ 14 คน สำหรับมะเร็งปากมดลูกเกิดจากติดเชื้อไวรัสหูด หรือ HPV ป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ไม่สำส่อนทางเพศ งดสูบบุหรี่ นอกจากนั้นจะต้องมีการตรวจคัดกรอง และฉีดวัคซีน
ด้านพญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากการป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย อายุ 30-59 ปี โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกัน และค่าใช้จ่ายในการรักษาในกรณีต่างๆ เช่น ไม่มีการป้องกันเลย การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนและ การคัดกรอง โดยใช้ราคาวัคซีนที่ต่างกัน และในกรณีที่มีแต่การคัดกรองอย่างเดียวในจำนวนประชากรหญิงไทยอายุ 30-59 ปี
ในปี 2553 จำนวน 14.5 ล้านคน โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ เรื่องความคุ้มค่าการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของไทย เปรียบเทียบระหว่างการตรวจคัดกรองด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) การใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจาง หรือวีไอเอ (VIA) และการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV พบว่า ถ้าไม่มีการฉีดวัคซีนและไม่ตรวจคัดกรองเลยรัฐจะต้องเสียเงินเฉลี่ยคนละ 3,820 บาท สำหรับค่ารักษามะเร็งปากมดลูกซึ่งเกิดขึ้นในประชากรกลุ่มอายุนี้ คิดเป็นจำนวนถึง 55,720 ล้านบาท ภายในเวลา 5 ปีหรือปีละ 11,144 ล้านบาท แต่ถ้าตรวจคัดกรองโดยวิธีแป๊ปสเมียร์ อย่างเดียวให้ครอบคลุมได้ร้อยละ 80ของหญิงกลุ่มเป้าหมาย ค่ารักษาเฉลี่ยต่อ 1 คนจะลดลงเป็นคนละ 2,540 บาท และถ้าจะฉีดวัคซีนป้องกัน HPV และตรวจคัดกรองด้วยให้ได้ความครอบคลุมร้อยละ 70 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาจะเหลือคนละ 2,000 บาท ทำให้ค่ารักษาจะลดลงเหลือเพียง 29,173 ล้านบาทภายใน 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 5,834 ล้านบาท ซึ่งถูกลงกว่าครึ่ง
คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาความคุ้มค่าในการป้องกันและรักษา อ้างอิงจากการศึกษาวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ เรื่องความคุ้มค่าการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของไทย โดยเปรียบเทียบ ระหว่างการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) การใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจาง หรือวีไอเอ (VIA) และการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV โดยคิดจากต้นทุนเฉลี่ยต่อหญิงไทย อายุ 30-59 ปี พบว่า หากไม่ฉีดวัคซีนและไม่ตรวจคัดกรอง ต้องเสียค่ารักษาเมื่อพบโรค 3,820 บาท/คน หากตรวจคัดกรองเพียงอย่างเดียว เสียค่ารักษา 2,540 บาท/คน หากรัฐสนับสนุนให้ตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรหญิงทั้งหมด เสียค่ารักษาคนละ 2,000 บาท ซึ่งหากเปรียบเทียบแต่ละปีรัฐจะใช้งบฯ ป้องกันเพียงปีละ 6,618 ล้านบาท และเสียค่ารักษากรณีที่เมื่อพบโรคปีละ 35,791 ล้านบาท แต่หากไม่ฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรองรัฐจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษากรณีเมื่อพบโรคถึงปีละ 55,720 ล้านบาท สามารถประหยัดงบฯ ได้ถึงปีละ 19,929 ล้านบาท
พญ.พรพันธุ์กล่าวอีกว่า จากการพิจารณาของอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า การควบคุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลควรกำหนดนโยบายตามกลุ่มอายุ ดังนี้ 1.กลุ่มอายุ 30-45 ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการตรวจแป๊ปสเมียร์ / VIA ทุก 5 ปี 2.กลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ทุก 5 ปี และกลุ่มเสี่ยง (มีปัจจัยเสี่ยง) ควรได้รับการตรวจทุกปีด้วย Pap Smear หรือ HPV DNA Typing 3.กลุ่มอายุ 12-19 ปี ควรได้รับวัคซีนพื้นฐานทุกคน ซึ่งป้องกันได้ 10-20 ปี ทั้ง 3 แนวทางถือว่าคุ้มค่าและมีประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนี้ ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน ซึ่งยังป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การตั้งครรภ์และมีลูกหลายคน และการสูบบุหรี่ เป็นต้น เพื่อให้การป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
ด้าน น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส. กล่าวถึง โครงการสำรวจการรับรู้และทัศนคติในการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก พบว่า จากการสำรวจ ประชาชนทั่วไป อายุ 15-50 ปี ในเขต กทม.และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 9-23 ส.ค. 2554 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.2 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก โดยกลุ่มอายุ 31-40 ปี รับรู้ข้อมูลมากที่สุด ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-20 ปี รับรู้ข้อมูลน้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่ไม่เคยรับบริการตรวจคัดกรองเลยร้อยละ 60 ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุ 15-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 83.7 สำหรับกลุ่มที่เข้าคัดกรองมากที่สุดจากการตรวจสุขภาพประจำปี คือ กลุ่มอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.2 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 54 ส่วนใหญ่ผู้ที่เข้ารับการคัดกรองเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว คิดเป็นร้อยละ 57.9 ยังไม่แต่งงานแต่มีคู่รักร้อยละ 25 ที่น่ากังวลคือผู้ที่ยังไม่เคยรับการตรวจระบุว่า เพราะยังไม่มีอาการผิดปกติร้อยละ 66.3 ไม่มีเวลาร้อยละ 39.9 อายหมอ พยาบาลร้อยละ 21.3 และไม่คิดว่าตนเองจะเป็นมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 14.3
ส่วนรูปแบบในการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ทราบรูปแบบการตรวจคัดกรองร้อยละ 53.7 ขณะที่รู้จักวิธีแป๊ปสเมียร์ร้อยละ 35.9 วีไอเอร้อยละ 6 และฉีดวัคซีนร้อยละ 3.2 ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องรณรงค์ให้ความรู้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพราะผู้ชายถือเป็นพาหะนำเชื้อมาติดผู้หญิงได้ เพื่อให้เกิดการตระหนักในความเสี่ยงอันตรายที่เกิดและการป้องกันตนเองที่ถูกต้องทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เช่น การสูบบุหรี่ทำให้อัตราเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะกับใครก็ตาม ช่วยลดโอกาสเสี่ยงได้มาก รวมทั้งการตรวจคัดกรอง เป็นต้น