xs
xsm
sm
md
lg

ไทยถกมะกันพัฒนาแล็บอาหารเศรษฐกิจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ไทย-สหรัฐฯ จัดประชุมพัฒนาห้องแล็บตรวจวิเคราะห์อาหารกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค เพื่อพัฒนางานด้าน ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเศรษฐกิจการค้าของโลก

 

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไทย กล่าวต้อนรับคณะวิทยากร ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกเอเปกทั้ง 21 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีน-ไทเป         ไทย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และคณะผู้จัดการประชุมจากสหรัฐอเมริกา โดยกล่าวว่าในนามของประเทศไทยรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทางผู้จัดได้เลือกที่จะจัดงานนี้ที่ประเทศไทย ซึ่งการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการอาหารเป็นเรื่องที่ควรตระหนักและให้ความ สำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะสินค้าอาหารที่บริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกต้องเป็นสินค้าที่ได้ คุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจพิสูจน์คุณภาพที่ถูกต้อง แม่นยำ   จากห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหาร เพื่อป้องกันปัญหา ส่งเสริมระบบการควบคุมและลดข้อโต้แย้งทางการค้า

รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวต่ออีกว่า การป้องกันอาหารจากการปนเปื้อนทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ดังนั้น การจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการของไทยและสมาชิกเอเปกให้มีความเข้มแข็ง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการสาธารณสุขและเวทีการค้าระหว่างประเทศ

ดร.ปนัดดา ซิลวา นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ และผู้อำนวยการศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็น Moderator และผู้บรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความเสี่ยง กล่าวเสริมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ มีการวิจัยและพัฒนา ชุดทดสอบอาหารอย่างง่ายซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ได้จริงในชุมชน สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคจากความ เสี่ยงอันตราย ของสารปนเปื้อนในอาหาร และสามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดสาธิตชุดทดสอบอาหารในการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้แทนประเทศที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย

นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร (ศปอ.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะทำงานนานาชาติด้านความปลอดภัยอาหารในกลุ่มเอเปคให้ความสำคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งของระบบความปลอดภัยด้านอาหารที่ จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโลกและส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าอาหารทั้งในระดับภูมิภาคและการค้าโลก ที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยกำหนดประเด็นการพัฒนาศักยภาพใน 4 เรื่อง ได้แก่ Risk Analysis, Food Supply Chain Management, Food Safety Incident Management และ Building Laboratory Capacity ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปก จึงควรตระหนักในเรื่องนี้ สืบเนื่องจากมติสมัชชาองค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2553 ได้ระบุว่า มีผู้ป่วยจากโรคระบาดทางอาหารมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางด้านอาหารในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก
กำลังโหลดความคิดเห็น