รัฐบาลญี่ปุ่นออกคำเตือน ห้ามคนในมหานครโตเกียวใช้น้ำประปามาละลายนมผงเลี้ยงทารก หลังตรวจพบสารไอโอดีนปนเปื้อนเกินระดับปลอดภัยกว่า 2 เท่าตัว ด้านสหรัฐฯสั่งห้ามนำเข้านมและผักผลไม้จาก 4 จังหวัดรอบๆ โรงไฟฟ้าที่ประสบปัญหา และฮ่องกงเป็นดินแดนแรกในเอเชียซึ่งสั่งงดนำเข้าเช่นเดียวกัน เผยยอดผู้เสียชีวิตและสูญหายทะลุหลัก 25,000 คนแล้ว
ทางการผู้รับผิดชอบของมหานครโตเกียวแถลงวานนี้ว่า ได้ตรวจพบว่าตัวอย่างน้ำในโรงกรองน้ำแห่งหนึ่งซึ่งใช้ทำน้ำประปาสำหรับให้ชาวกรุงโตเกียว 13 ล้านคนได้ดื่มและใช้สอย มีปริมาณไอโอดีนปนเปื้อนรังสีซึ่งมีอัตราการสลายตัวอยู่ที่ 210 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม เกินกว่า 2 เท่าตัวของระดับความปลอดภัยสำหรับทารก
ทางด้าน ชินทาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าการมหานครโตเกียว ระบุว่าปริมาณรังสีดังกล่าวยังไม่ได้เป็นอันตรายในทันที และน้ำดังกล่าวยังสามารถใช้ดื่มได้ “แต่สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ผมใคร่ขอให้หลีกเลี่ยงจากการใช้น้ำประปามาละลายนมผงใช้เลี้ยงทารก”
นอกจากนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นเอชเค ของทางการญี่ปุ่นรายงานว่ายังพบน้ำประปาปนเปื้อนรังสีในเมืองฮิตาชิ-โอตะ ในจังหวัดอิบารากิ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงโตเกียวกับโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ
ไม่เฉพาะเรื่องน้ำประปา นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น ได้สั่งให้ยุติการขนส่งน้ำนมดิบและผักจำพวก บร็อกโคลี, กระหล่ำปลี, และพาร์สลีย์ ออกจากหลายๆ บริเวณที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือราว 250 กิโลเมตร
ขณะที่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นหลายรายแจ้งว่า ได้สั่งหยุดการขนส่งผลผลิตการเกษตรจากจังหวัดฟูกูชิมะ และอีก 3 จังหวัดใกล้เคียง อันได้แก่ อิบารากิ, โทชิงิ, และกุนมะ นอกจากนั้นในอีก 6 จังหวัดยังตรวจพบระดับรังสีในผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารทะเลเพิ่มสูงขึ้นด้วย
เวลานี้พื้นที่การตรวจสอบจึงได้ขยายเข้าสู่จังหวัด ไซตามะ และจังหวัดชิบะ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของมหานครโตเกียวและปริมณฑล อันเป็นที่พำนักอาศัยของผู้คนกว่า 30 ล้านคน
ด้านกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ได้ตรวจพบกัมมันตภาพรังสีสูงเกินขีดที่กฎหมายอนุญาตไปมากในผัก 11 ชนิดซึ่งปลูกในฟูกูชิมะ โดยที่ในผักกินใบชนิดหนึ่ง พบซีเซียม 82,000 เบคเคอเรล หรือคิดเป็น 164 เท่าตัวของที่กฎหมายอนุญาต
ทางกระทรวงอธิบายว่า หากเรากินผักเหล่านี้ 100 กรัมต่อวันเป็นเวลาราว 10 วัน ก็เท่ากับกินรังสีปริมาณราวครึ่งหนึ่งของที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในเวลา 1 ปี
“ถึงแม้การรับประทานอาหารเหล่านี้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพใดๆ แต่โชคร้าย เนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อไปเป็นระยะเวลายาวนาน เราจึงกำลังขอให้ยุติการขนส่งผลผลิตเหล่านี้กันตั้งแต่เนิ่นๆ และอยากจะให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้เท่าที่จะเป็นไปได้” ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลง ภายหลังที่มีรายงานข่าวว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางชนิดอาจจะผ่านเข้ามาถึงตลาดแล้ว
สำหรับปฏิกิริยาจากประเทศต่างๆ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ได้ออกคำสั่งเมื่อวันอังคาร(22) ให้ยุติการนำเข้านม, ผัก, และผลไม้จาก 4 จังหวัดของญี่ปุ่นที่อยู่รอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ “นอกจากนั้นเอฟดีเอยังจะเฝ้าติดตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด เพื่อวินิจฉัยว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือนหรือไม่” สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯระบุ และบอกว่า “เอฟดีเอจะทดสอบอาหารและอาหารสัตว์ทุกอย่างที่ขนส่งจากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือน”
ในเวลาต่อมา ฮ่องกงซึ่งเป็นผู้นำเข้าอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่รายหนึ่ง ได้แถลงวานนี้ ห้ามนำเข้าอาหารจำพวกผักและนมจาก 5 จังหวัดของญี่ปุ่นที่มีรายงานการปนเปื้อนรังสี โดยที่สำนักข่าวจิจิเพรสของญี่ปุ่นรายงานว่า ทางการฮ่องกงได้ตรวจพบกัมมันตภาพรังสีสูงเกินระดับปลอดภัยถึง 10 เท่า ในผักโขมสปิแนช และหัวผักกาดเทอร์นิป ซึ่งนำเข้าจากญี่ปุ่น
นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า เกาหลีใต้อาจจะเป็นประเทศต่อไปที่จะห้ามนำเข้าอาหารญี่ปุ่น ขณะที่ในยุโรป ฝรั่งเศสได้ขอให้คณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) พิจารณาหาวิธีที่ชาติสมาชิกจะนำมาใช้อย่างประสานสอดคล้องกัน เพื่อการควบคุมสินค้านำเข้าปนเปื้อนรังสีจากญี่ปุ่น
จากภัยคุกคามเรื่องกัมมันตภาพรังสีที่แม้ทางการผู้รับผิดชอบยืนยันว่ายังไม่ได้เป็นอันตรายในเฉพาะหน้านี้ แต่ก็ได้ทำให้สถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ 25 ชาติในกรุงโตเกียวปิดทำการไปแล้ว ทั้งนี้ตามการแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศ ทาเกอากิ มัตสึโมโต ต่อคณะกรรมาธิการของสภาล่างเมื่อวานนี้
รัฐมนตรีผู้นี้บอกว่า นับถึงวันอังคาร(22) มีสถานเอกอัครราชทูต 8 แห่งโยกย้ายออกไปปฏิบัติงานนอกกรุงโตเกียว หรือกระทั่งนอกญี่ปุ่น ส่วนของชาติอื่นๆ ที่เหลือใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ของพวกตนอยู่ที่บ้าน และเปลี่ยนแปลงวิธีทำงานไปแบบวันต่อวัน
ทางด้านกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้ให้รายชื่อประเทศที่ปิดประตูสถานทูตของพวกตนในกรุงโตเกียว ดังนี้: แองโกลา, บาห์เรน, เบนิน, บอตสวานา, บูร์กินาฟาโซ, โครเอเชีย, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, ฟินแลนด์, เยอรมนี, กัวเตมาลา, เคนยา, โคโซโว, เลโซโท, ไลบีเรีย, ลิเบีย, มาลาวี, มอริเตเนีย, โมซัมบิก, นามิเบีย, เนปาล, ไนจีเรีย, ปานามา และ สวิตเซอร์แลนด์
ในส่วนของตัวเลขผู้เสียชีวิตและสูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวและสินามิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นให้ตัวเลขเมื่อคืนนี้ว่า ณ เวลา 21.00 น. (ตรงกับ 19.00 น.เวลาเมืองไทย) มีผู้เสียชีวิตที่ยืนยันแล้ว 9,487 คน และสูญหาย 15,617 คน รวมเป็น 25,104 คน
ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาแถลงประมาณการอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความเสียหายทางเศรษฐกิจจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิคราวนี้ว่า อยู่ระหว่าง 16 - 25 ล้านล้านเยน (ราว 185,000 - 308,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 6.08 - 9.5 ล้านล้านบาท)
สำหรับสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ บรรดาวิศวกรและคนงานซึ่งกำลังพยายามทำให้เตาปฏิกรณ์ลดอุณหภูมิลง เพื่อจะได้ควบคุมไม่ให้กัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาอีก ได้ถูกสั่งอพยพออกมาเมื่อมีควันดำลอยออกมาจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ทั้งนี้ตามคำแถลงของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ (เท็ปโก้) บริษัทผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ โดยที่บริษัทไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่มาของควันเหล่านี้ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้หนี่งได้แจ้งกับผู้สื่อข่าวในเวลาต่อมาว่า ควันเหล่านี้ไม่ได้เป็นปัญหาสลักสำคัญอะไร
ทางการผู้รับผิดชอบของมหานครโตเกียวแถลงวานนี้ว่า ได้ตรวจพบว่าตัวอย่างน้ำในโรงกรองน้ำแห่งหนึ่งซึ่งใช้ทำน้ำประปาสำหรับให้ชาวกรุงโตเกียว 13 ล้านคนได้ดื่มและใช้สอย มีปริมาณไอโอดีนปนเปื้อนรังสีซึ่งมีอัตราการสลายตัวอยู่ที่ 210 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม เกินกว่า 2 เท่าตัวของระดับความปลอดภัยสำหรับทารก
ทางด้าน ชินทาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าการมหานครโตเกียว ระบุว่าปริมาณรังสีดังกล่าวยังไม่ได้เป็นอันตรายในทันที และน้ำดังกล่าวยังสามารถใช้ดื่มได้ “แต่สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ผมใคร่ขอให้หลีกเลี่ยงจากการใช้น้ำประปามาละลายนมผงใช้เลี้ยงทารก”
นอกจากนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นเอชเค ของทางการญี่ปุ่นรายงานว่ายังพบน้ำประปาปนเปื้อนรังสีในเมืองฮิตาชิ-โอตะ ในจังหวัดอิบารากิ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงโตเกียวกับโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ
ไม่เฉพาะเรื่องน้ำประปา นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น ได้สั่งให้ยุติการขนส่งน้ำนมดิบและผักจำพวก บร็อกโคลี, กระหล่ำปลี, และพาร์สลีย์ ออกจากหลายๆ บริเวณที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือราว 250 กิโลเมตร
ขณะที่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นหลายรายแจ้งว่า ได้สั่งหยุดการขนส่งผลผลิตการเกษตรจากจังหวัดฟูกูชิมะ และอีก 3 จังหวัดใกล้เคียง อันได้แก่ อิบารากิ, โทชิงิ, และกุนมะ นอกจากนั้นในอีก 6 จังหวัดยังตรวจพบระดับรังสีในผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารทะเลเพิ่มสูงขึ้นด้วย
เวลานี้พื้นที่การตรวจสอบจึงได้ขยายเข้าสู่จังหวัด ไซตามะ และจังหวัดชิบะ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของมหานครโตเกียวและปริมณฑล อันเป็นที่พำนักอาศัยของผู้คนกว่า 30 ล้านคน
ด้านกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ได้ตรวจพบกัมมันตภาพรังสีสูงเกินขีดที่กฎหมายอนุญาตไปมากในผัก 11 ชนิดซึ่งปลูกในฟูกูชิมะ โดยที่ในผักกินใบชนิดหนึ่ง พบซีเซียม 82,000 เบคเคอเรล หรือคิดเป็น 164 เท่าตัวของที่กฎหมายอนุญาต
ทางกระทรวงอธิบายว่า หากเรากินผักเหล่านี้ 100 กรัมต่อวันเป็นเวลาราว 10 วัน ก็เท่ากับกินรังสีปริมาณราวครึ่งหนึ่งของที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในเวลา 1 ปี
“ถึงแม้การรับประทานอาหารเหล่านี้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพใดๆ แต่โชคร้าย เนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อไปเป็นระยะเวลายาวนาน เราจึงกำลังขอให้ยุติการขนส่งผลผลิตเหล่านี้กันตั้งแต่เนิ่นๆ และอยากจะให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้เท่าที่จะเป็นไปได้” ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลง ภายหลังที่มีรายงานข่าวว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางชนิดอาจจะผ่านเข้ามาถึงตลาดแล้ว
สำหรับปฏิกิริยาจากประเทศต่างๆ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ได้ออกคำสั่งเมื่อวันอังคาร(22) ให้ยุติการนำเข้านม, ผัก, และผลไม้จาก 4 จังหวัดของญี่ปุ่นที่อยู่รอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ “นอกจากนั้นเอฟดีเอยังจะเฝ้าติดตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด เพื่อวินิจฉัยว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือนหรือไม่” สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯระบุ และบอกว่า “เอฟดีเอจะทดสอบอาหารและอาหารสัตว์ทุกอย่างที่ขนส่งจากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือน”
ในเวลาต่อมา ฮ่องกงซึ่งเป็นผู้นำเข้าอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่รายหนึ่ง ได้แถลงวานนี้ ห้ามนำเข้าอาหารจำพวกผักและนมจาก 5 จังหวัดของญี่ปุ่นที่มีรายงานการปนเปื้อนรังสี โดยที่สำนักข่าวจิจิเพรสของญี่ปุ่นรายงานว่า ทางการฮ่องกงได้ตรวจพบกัมมันตภาพรังสีสูงเกินระดับปลอดภัยถึง 10 เท่า ในผักโขมสปิแนช และหัวผักกาดเทอร์นิป ซึ่งนำเข้าจากญี่ปุ่น
นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า เกาหลีใต้อาจจะเป็นประเทศต่อไปที่จะห้ามนำเข้าอาหารญี่ปุ่น ขณะที่ในยุโรป ฝรั่งเศสได้ขอให้คณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) พิจารณาหาวิธีที่ชาติสมาชิกจะนำมาใช้อย่างประสานสอดคล้องกัน เพื่อการควบคุมสินค้านำเข้าปนเปื้อนรังสีจากญี่ปุ่น
จากภัยคุกคามเรื่องกัมมันตภาพรังสีที่แม้ทางการผู้รับผิดชอบยืนยันว่ายังไม่ได้เป็นอันตรายในเฉพาะหน้านี้ แต่ก็ได้ทำให้สถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ 25 ชาติในกรุงโตเกียวปิดทำการไปแล้ว ทั้งนี้ตามการแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศ ทาเกอากิ มัตสึโมโต ต่อคณะกรรมาธิการของสภาล่างเมื่อวานนี้
รัฐมนตรีผู้นี้บอกว่า นับถึงวันอังคาร(22) มีสถานเอกอัครราชทูต 8 แห่งโยกย้ายออกไปปฏิบัติงานนอกกรุงโตเกียว หรือกระทั่งนอกญี่ปุ่น ส่วนของชาติอื่นๆ ที่เหลือใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ของพวกตนอยู่ที่บ้าน และเปลี่ยนแปลงวิธีทำงานไปแบบวันต่อวัน
ทางด้านกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้ให้รายชื่อประเทศที่ปิดประตูสถานทูตของพวกตนในกรุงโตเกียว ดังนี้: แองโกลา, บาห์เรน, เบนิน, บอตสวานา, บูร์กินาฟาโซ, โครเอเชีย, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, ฟินแลนด์, เยอรมนี, กัวเตมาลา, เคนยา, โคโซโว, เลโซโท, ไลบีเรีย, ลิเบีย, มาลาวี, มอริเตเนีย, โมซัมบิก, นามิเบีย, เนปาล, ไนจีเรีย, ปานามา และ สวิตเซอร์แลนด์
ในส่วนของตัวเลขผู้เสียชีวิตและสูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวและสินามิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นให้ตัวเลขเมื่อคืนนี้ว่า ณ เวลา 21.00 น. (ตรงกับ 19.00 น.เวลาเมืองไทย) มีผู้เสียชีวิตที่ยืนยันแล้ว 9,487 คน และสูญหาย 15,617 คน รวมเป็น 25,104 คน
ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาแถลงประมาณการอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความเสียหายทางเศรษฐกิจจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิคราวนี้ว่า อยู่ระหว่าง 16 - 25 ล้านล้านเยน (ราว 185,000 - 308,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 6.08 - 9.5 ล้านล้านบาท)
สำหรับสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ บรรดาวิศวกรและคนงานซึ่งกำลังพยายามทำให้เตาปฏิกรณ์ลดอุณหภูมิลง เพื่อจะได้ควบคุมไม่ให้กัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาอีก ได้ถูกสั่งอพยพออกมาเมื่อมีควันดำลอยออกมาจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ทั้งนี้ตามคำแถลงของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ (เท็ปโก้) บริษัทผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ โดยที่บริษัทไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่มาของควันเหล่านี้ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้หนี่งได้แจ้งกับผู้สื่อข่าวในเวลาต่อมาว่า ควันเหล่านี้ไม่ได้เป็นปัญหาสลักสำคัญอะไร