ลูกจ้างโอดผิดหวังรายได้ไม่เพิ่ม รัฐบาลแถลงนโยบายบิดพลิ้วค่าจ้าง 300 บ.ต่อวัน ไม่ตรงตามนโยบายหาเสียง แนะแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเอื้อให้ทำได้จริง เตรียมขอเข้าพบ “เผดิมชัย” แจงรายได้เดือนละกว่า 5.5 พันบาท แต่รายจ่ายเดือนละกว่า 6.8 พันบาท ส่งผลต้องทำโอทีให้มีรายได้พอจ่าย
วันนี้ (24 ส.ค.) นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลไม่ตรงกับที่ได้หาเสียงไว้ในเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำเพราะรัฐบาลเปลี่ยนถ้อยคำจากค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อตีความหมายรายได้ ก็คือ ค่าจ้างบวกกับค่าสวัสดิการและค่าโอที ทำให้แรงงานรู้สึกว่ารัฐบาลบิดพลิ้วนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน หากพูดถึงรายได้ภาพรวมในปัจจุบันทั้งในเรื่องของเงินเดือน และค่าสวัสดิการต่างๆลูกจ้างได้มากกว่า 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว แต่ถ้าได้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทำให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะไม่ต้องทำโอที ทั้งนี้ สัปดาห์หน้าสภาองค์การลูกจ้างฯจะขอเข้าพบนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.)เพื่อทวงถามความชัดเจนในเรื่องนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท
“หากจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน รัฐบาลสามารถทำได้โดยแก้ไขมาตรา 87 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากในปัจจุบันราคาสินค้ามีการขยับนำหน้าค่าจ้างไปก่อนแล้ว” นายมนัส กล่าว
นายมนัส กล่าวด้วยว่า จากการสำรวจรายได้ของแรงงานที่จ.สมุทรปราการได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 215 บาทต่อวัน หากคิดในเวลา 26 วันจะได้เดือนละ 5,590 บาท เมื่อดูภาพรายจ่ายพบว่าต้องจ่ายค่าประกันสังคม 279 บาท ค่ารถ 780 บาท ค่าอาหาร 3,000 บาท ค่าเช่าบ้าน 2,000 บาท ค่าเครื่องใช้อุปโภคบริโภค 800 บาท เมื่อรวมรายจ่ายทั้งหมด 6,859 บาทต่อเดือนเท่ากับติดลบอยู่ที่ 1,269 บาท ทุกวันนี้แรงงานอยู่ได้ด้วยการทำโอที แต่หากได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท จะมีรายได้ 7,800 บาทต่อเดือน เมื่อมาลบรายจ่าย 6,859 บาท จะมีเงินเหลือ 941 บาท ทำให้แรงงานไม่ต้องทำโอทีหรือทำโอทีน้อยลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากจะให้แรงงานและครอบครัวอยู่ได้ควรได้รับค่าจ้างวันละ 421 บาท
นายสราวุธ ขันอาสา พนักงานบริษัท ดานิลี่ฟาร์อิตส์ ซึ่งผลิตเหล็กและโลหะ จ.ระยอง กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่หาเสียงไว้ก่อนหน้านึ้ คือ ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท แต่เมื่อแถลงนโยบายกลับเป็นว่าให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน ซึ่งในความเป็นจริงแรงงานมีรายได้มากกว่าวันละ 300 บาทอยู่แล้ว เนื่องจากมีสวัสดิการต่างๆ เช่น รถรับ-ส่ง อาหารกลางวันและค่าทำโอที จึงคิดว่าแรงงานไม่ได้ประโยชน์อะไรจากนโยบายของรัฐบาล ทำให้รู้สึกผิดหวังเพราะเชื่อว่าแรงงานส่วนใหญ่เลือกพรรคเพื่อไทย(พท.) เนื่องจากว่าจะได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน โดยไม่รวมกับสวัสดิการต่างๆ แต่ก่อนหน้านี้พรรค พท.ได้หาเสียงไว้ว่า จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งห่างไกลจากค่าจ้างขั้นต่ำของจ.ระยองซึ่งอยู่ที่วันละ 183 บาทอย่างมาก
“ที่ จ.ระยอง ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 183 บาท หรือประมาณเดือนละ 6,200 บาทบวกเบี้ยขยันอีก 2,500 บาท และสวัสดิการต่างๆ อีก จะมีรายได้เดือนละเกินกว่า 9,000 บาท ซึ่งสูงกว่านโยบายรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา เมื่อพิจารณาแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายรายได้ไม่น้อยกว่า 300 ต่อวันของรัฐบาลก็คือ แม่บ้านและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)” นายสราวุธ กล่าว
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า ไม่ขอแสดงความเห็นเรื่องวิธีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เพราะต้องการให้มีผู้ให้ข้อมูลเพียงคนเดียว และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ รมว.พาณิชย์ ก็ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนไปแล้ว
วันนี้ (24 ส.ค.) นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลไม่ตรงกับที่ได้หาเสียงไว้ในเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำเพราะรัฐบาลเปลี่ยนถ้อยคำจากค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อตีความหมายรายได้ ก็คือ ค่าจ้างบวกกับค่าสวัสดิการและค่าโอที ทำให้แรงงานรู้สึกว่ารัฐบาลบิดพลิ้วนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน หากพูดถึงรายได้ภาพรวมในปัจจุบันทั้งในเรื่องของเงินเดือน และค่าสวัสดิการต่างๆลูกจ้างได้มากกว่า 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว แต่ถ้าได้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทำให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะไม่ต้องทำโอที ทั้งนี้ สัปดาห์หน้าสภาองค์การลูกจ้างฯจะขอเข้าพบนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.)เพื่อทวงถามความชัดเจนในเรื่องนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท
“หากจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน รัฐบาลสามารถทำได้โดยแก้ไขมาตรา 87 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากในปัจจุบันราคาสินค้ามีการขยับนำหน้าค่าจ้างไปก่อนแล้ว” นายมนัส กล่าว
นายมนัส กล่าวด้วยว่า จากการสำรวจรายได้ของแรงงานที่จ.สมุทรปราการได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 215 บาทต่อวัน หากคิดในเวลา 26 วันจะได้เดือนละ 5,590 บาท เมื่อดูภาพรายจ่ายพบว่าต้องจ่ายค่าประกันสังคม 279 บาท ค่ารถ 780 บาท ค่าอาหาร 3,000 บาท ค่าเช่าบ้าน 2,000 บาท ค่าเครื่องใช้อุปโภคบริโภค 800 บาท เมื่อรวมรายจ่ายทั้งหมด 6,859 บาทต่อเดือนเท่ากับติดลบอยู่ที่ 1,269 บาท ทุกวันนี้แรงงานอยู่ได้ด้วยการทำโอที แต่หากได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท จะมีรายได้ 7,800 บาทต่อเดือน เมื่อมาลบรายจ่าย 6,859 บาท จะมีเงินเหลือ 941 บาท ทำให้แรงงานไม่ต้องทำโอทีหรือทำโอทีน้อยลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากจะให้แรงงานและครอบครัวอยู่ได้ควรได้รับค่าจ้างวันละ 421 บาท
นายสราวุธ ขันอาสา พนักงานบริษัท ดานิลี่ฟาร์อิตส์ ซึ่งผลิตเหล็กและโลหะ จ.ระยอง กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่หาเสียงไว้ก่อนหน้านึ้ คือ ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท แต่เมื่อแถลงนโยบายกลับเป็นว่าให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน ซึ่งในความเป็นจริงแรงงานมีรายได้มากกว่าวันละ 300 บาทอยู่แล้ว เนื่องจากมีสวัสดิการต่างๆ เช่น รถรับ-ส่ง อาหารกลางวันและค่าทำโอที จึงคิดว่าแรงงานไม่ได้ประโยชน์อะไรจากนโยบายของรัฐบาล ทำให้รู้สึกผิดหวังเพราะเชื่อว่าแรงงานส่วนใหญ่เลือกพรรคเพื่อไทย(พท.) เนื่องจากว่าจะได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน โดยไม่รวมกับสวัสดิการต่างๆ แต่ก่อนหน้านี้พรรค พท.ได้หาเสียงไว้ว่า จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งห่างไกลจากค่าจ้างขั้นต่ำของจ.ระยองซึ่งอยู่ที่วันละ 183 บาทอย่างมาก
“ที่ จ.ระยอง ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 183 บาท หรือประมาณเดือนละ 6,200 บาทบวกเบี้ยขยันอีก 2,500 บาท และสวัสดิการต่างๆ อีก จะมีรายได้เดือนละเกินกว่า 9,000 บาท ซึ่งสูงกว่านโยบายรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา เมื่อพิจารณาแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายรายได้ไม่น้อยกว่า 300 ต่อวันของรัฐบาลก็คือ แม่บ้านและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)” นายสราวุธ กล่าว
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า ไม่ขอแสดงความเห็นเรื่องวิธีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เพราะต้องการให้มีผู้ให้ข้อมูลเพียงคนเดียว และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ รมว.พาณิชย์ ก็ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนไปแล้ว