คณะกรรมควบคุม มอส.อนุมัติจบการศึกษาปี 53 นศ.พยาบาล 18 ราย เรียนในที่ตั้ง และอนุมัติอีก 7 ราย สาขารัฐประศาสนศาสตร์ แต่ให้ มอส.ไปตรวจสอบคุณสมบัติรายบุคคลก่อน พร้อมกันนี้ มีมติให้ นศ.ป.บัณฑิต จำนวน 1,387 รายเข้ารับการสอบประมวลความรู้ก่อน
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) กล่าวภายหลังการประชุมที่มี นายสมนึก พิมลเสถียร เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมฯ ได้อนุมัติจัดการศึกษาประจำปีการศึกษา 2554 ให้กับนักศึกษาใหม่ที่เรียนในคณะต่างๆ ซึ่งอยู่ในที่ตั้ง มอส.จำนวน 318 คนตามที่ รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดี มอส.เสนอ นอกจากนี้ ได้อนุมัติการจบหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา 2553 ของนักศึกษาคณะพยาบาลที่เรียนในที่ตั้ง จำนวน 18 คน ซึ่งอธิการบดี มอส.ได้ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์แล้ว
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้พิจารณากรณีนักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจบในปีการศึกษา 2553 แต่พบว่าคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ และเป็นการจัดการเรียนการสอนนอกที่ตั้ง ซึ่งสภา มอส.ชุดก่อนรับทราบแต่ไม่แจ้งเรื่องมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทำให้ที่ประชุมจึงอภิปรายกันกว้างขวางในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานทั้งผู้เรียนและหลักสูตร ท้ายที่สุดจึงมีมติอนุมัติผู้จบหลักสูตรเฉพาะราย เพียง 7 คนเท่านั้น และให้ทาง มอส.ไปตรวจสอบกลั่นกรองคุณสมบัติอีกครั้งตามกระบวนการ
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครู ประจำปีการศึกษา 2553 ที่มีปัญหาจำนวน 1,387 คน ที่ประชุมเห็นชอบตามที่อธิการบดี มอส.เสนอให้ทั้งหมดเข้ามากรอกข้อมูลด้วยตนเอง และเข้าร่วมการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) หรือสอบรวบยอดจำนวน 9 มาตรฐานความรู้ รวมทั้งเข้ารับการฝึกงานตามเกณฑ์ที่กำหนด กรณีที่ไม่สอบก็ต้องเรียนใหม่ หรือขอเงินคืนโดยต้องมีหลักฐานพิสูจน์ว่าได้จ่ายให้กับมหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ นายอานนท์ เที่ยงตรง ประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหานักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มอส.ได้เสนอรายงานเชิงวิจัยเรื่องปัญหาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ มอส.ในช่วงปีการศึกษา 2551-2553 โดยมีข้อสรุป ว่า ปัญหาป.บัณฑิตมีต้นเหตุเพราะไม่มีระบบทะเบียนอาจารย์ประจำตามแบบที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กำหนดเพราะมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มอาจารย์ โดยไม่เสนอให้สภา มอส.อนุมัติและไม่แจ้งต่อ กกอ.รับทราบ อีกทั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่ได้บริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน มอบหมายให้อาจารย์ผู้ขาดคุณสมบัติบริหารหลักสูตร และฝึกปฏิบัติการสอนไม่ครบตามเงื่อนไขที่คุรุสภากำหนด โดยแนวทางการแก้ปัญหาเสนอให้มีการจัดสอบประเมินความรู้ (Comprehensive Examination) เพื่อวัดว่านักศึกษาเหล่านี้มีความรู้ครบถ้วนหรือจำนวน 4 ครั้ง ในปีการศึกษา 2554 ครั้งละ 250,000 บาท รวม 1,000,000 บาท
ขณะเดียวกัน ผู้รับใบอนุญาตได้เสนอแผนการบริหาร มอส.ด้วย ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงและวิเคราะห์ในหลักการ และเสนอเพิ่มขึ้นมาอีกฉบับว่า ยินดีจะสนับสนุนงบประมาณหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบ ที่ประชุมได้พิจารณาในหลักการว่าเป็นเจตนารมณ์ของผู้รับใบอนุญาตที่อยากให้มีการดำเนินการต่อ โดยอยากให้คืนอำนาจให้ผู้รับใบอนุญาตและให้แต่งตั้งสภา มอส.ชุดใหม่ โดยให้สกอ.เห็นชอบและให้แต่งตั้งอธิการ รองอธิการชุดใหม่ จัดให้มีกลไกในการบริหาร มอส.ตามกฎต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้รับใบอนุญาตยินดีจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแผนดังกล่าวโดยให้นายสุมนต์ เป็นประธาน
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) กล่าวภายหลังการประชุมที่มี นายสมนึก พิมลเสถียร เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมฯ ได้อนุมัติจัดการศึกษาประจำปีการศึกษา 2554 ให้กับนักศึกษาใหม่ที่เรียนในคณะต่างๆ ซึ่งอยู่ในที่ตั้ง มอส.จำนวน 318 คนตามที่ รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดี มอส.เสนอ นอกจากนี้ ได้อนุมัติการจบหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา 2553 ของนักศึกษาคณะพยาบาลที่เรียนในที่ตั้ง จำนวน 18 คน ซึ่งอธิการบดี มอส.ได้ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์แล้ว
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้พิจารณากรณีนักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจบในปีการศึกษา 2553 แต่พบว่าคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ และเป็นการจัดการเรียนการสอนนอกที่ตั้ง ซึ่งสภา มอส.ชุดก่อนรับทราบแต่ไม่แจ้งเรื่องมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทำให้ที่ประชุมจึงอภิปรายกันกว้างขวางในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานทั้งผู้เรียนและหลักสูตร ท้ายที่สุดจึงมีมติอนุมัติผู้จบหลักสูตรเฉพาะราย เพียง 7 คนเท่านั้น และให้ทาง มอส.ไปตรวจสอบกลั่นกรองคุณสมบัติอีกครั้งตามกระบวนการ
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครู ประจำปีการศึกษา 2553 ที่มีปัญหาจำนวน 1,387 คน ที่ประชุมเห็นชอบตามที่อธิการบดี มอส.เสนอให้ทั้งหมดเข้ามากรอกข้อมูลด้วยตนเอง และเข้าร่วมการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) หรือสอบรวบยอดจำนวน 9 มาตรฐานความรู้ รวมทั้งเข้ารับการฝึกงานตามเกณฑ์ที่กำหนด กรณีที่ไม่สอบก็ต้องเรียนใหม่ หรือขอเงินคืนโดยต้องมีหลักฐานพิสูจน์ว่าได้จ่ายให้กับมหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ นายอานนท์ เที่ยงตรง ประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหานักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มอส.ได้เสนอรายงานเชิงวิจัยเรื่องปัญหาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ มอส.ในช่วงปีการศึกษา 2551-2553 โดยมีข้อสรุป ว่า ปัญหาป.บัณฑิตมีต้นเหตุเพราะไม่มีระบบทะเบียนอาจารย์ประจำตามแบบที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กำหนดเพราะมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มอาจารย์ โดยไม่เสนอให้สภา มอส.อนุมัติและไม่แจ้งต่อ กกอ.รับทราบ อีกทั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่ได้บริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน มอบหมายให้อาจารย์ผู้ขาดคุณสมบัติบริหารหลักสูตร และฝึกปฏิบัติการสอนไม่ครบตามเงื่อนไขที่คุรุสภากำหนด โดยแนวทางการแก้ปัญหาเสนอให้มีการจัดสอบประเมินความรู้ (Comprehensive Examination) เพื่อวัดว่านักศึกษาเหล่านี้มีความรู้ครบถ้วนหรือจำนวน 4 ครั้ง ในปีการศึกษา 2554 ครั้งละ 250,000 บาท รวม 1,000,000 บาท
ขณะเดียวกัน ผู้รับใบอนุญาตได้เสนอแผนการบริหาร มอส.ด้วย ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงและวิเคราะห์ในหลักการ และเสนอเพิ่มขึ้นมาอีกฉบับว่า ยินดีจะสนับสนุนงบประมาณหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบ ที่ประชุมได้พิจารณาในหลักการว่าเป็นเจตนารมณ์ของผู้รับใบอนุญาตที่อยากให้มีการดำเนินการต่อ โดยอยากให้คืนอำนาจให้ผู้รับใบอนุญาตและให้แต่งตั้งสภา มอส.ชุดใหม่ โดยให้สกอ.เห็นชอบและให้แต่งตั้งอธิการ รองอธิการชุดใหม่ จัดให้มีกลไกในการบริหาร มอส.ตามกฎต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้รับใบอนุญาตยินดีจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแผนดังกล่าวโดยให้นายสุมนต์ เป็นประธาน