การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสังคมสมัยใหม่นั้นมีเพื่อความสะดวกสบาย ของคนในสังคมมากขึ้น การดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันจึงต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้านานา ชนิดอยู่ตลอดเวลา อย่าง คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ได้แผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำลายสมรรถภาพของไตตลอดเวลา หรือแม้แต่การใช้สารเคมีนานาชนิด เช่น สารกระตุ้น สารกันบูด สารปรุงรส และสารแต่งสี ล้วนเพิ่มภาระการทำงานของไตทั้งสิ้น
"โรคไต" จึงเป็นปัญหาสำคัญของคนในปัจจุบัน ซึ่งการรักษาด้วยแผนปัจจุบันในหลายๆ กรณีนั้นไม่สามารถช่วยแก้ไขโรคเหล่านี้ได้ หลายคนจึงหันกลับมาศึกษาและพึ่งพาแพทย์ทางเลือกอย่างแพทย์แผนจีนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุข และได้มีการเปิดอบรมผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนจีน โดยได้มอบใบอนุญาตแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ทั่วไป เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการรับการรักษาจากแพทย์แผนจีนในฐานะการแพทย์ทางเลือก
โดยโรคไตในทัศนะของแพทย์จีนนั้น มีความหมายกว้างครอบคลุมกระบวนการทั้งชีวิต โดยเพศหญิงจะเริ่มพัฒนาพลังไตตั้งแต่ 7 ขวบ และจะเริ่มพัฒนามากขึ้นตามลำดับ และจะค่อยเสื่อมถอยไปสิ้นสุดในช่วง 49 ปี ส่วนเพศชายจะเริ่มจาก 8 ขวบ และจะเสื่อมถอยไปสิ้นสุดในช่วง 64 ปี เมื่อร่างกายเข้าสู่จุดเสื่อมถอย ผมและฟันจะหลุดร่วง บ่งบอกชัดเจนว่าไตไม่ได้มีหน้าที่เพียงขับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น แต่หน้าที่ของไตเกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมปริมาณน้ำและของเหลว อีกทั้งยังกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นปกติด้วย
นพ.เจี๋ยงจงคัง หนึ่งในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนจีนที่ได้ศึกษาวิจัยโรคไต กล่าวว่า ผู้ป่วยที่กำลังฟอกล้างไต ล้างไตทางช่องท้อง และกำลังรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ถ้าได้ใช้วิธีการฝังเข็มและยาสมุนไพรจีนรักษาร่วมด้วย ไม่เพียงแต่จะลดการบวมน้ำเท่านั้นแต่ยังมีผลดีต่อการฟื้นฟูการทำงานของไตอีก ด้วย เป็นการปรับศักยภาพในการรักษาตนเองของร่างกาย อีกทั้งสามารถทำให้การล้างไตทางช่องท้องไม่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน รวมทั้งยืดชีวิตของผู้ป่วยให้ยืนยาวได้
"ได้มีการศึกษาวิจัยกับผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งอายุ 72 ปี ที่เป็นโรคไตวาย มีอาการบวมน้ำ และทำการล้างไตผ่านทางช่องท้องมาโดยตลอด ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ถ่ายไม่คล่อง ประสาทอ่อนล้า นอนไม่หลับ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็มบนจุดจิงลั่ว ร่วมกับการใช้สมุนไพรตงเซี่ยเฉ่า เพื่อปรับกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถเดิน กินอาหาร ขับถ่าย และนอนได้อย่างปกติ โดยได้รับการรักษาจำนวน 12 ครั้ง ภายในระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ดี คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นสามารถเดิน กินอาหาร ขับถ่าย และนอนได้อย่างปกติ ซึ่งผู้ป่วยและญาติพอใจในการรักษา"
ด้านนพ.อู๋ปิ่งกวาง ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาโรคไตวายของผู้ป่วยชายรายหนึ่ง อายุ 30 ปี ชอบดื่มเหล้า กินอาหารรสจัด จากนั้นป่วยเป็นหวัด มีไข้ ต่อมาจึงมีอาการเจ็บคอ คอบวม เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อน ปวดเอว ปวดท้อง ปัสสาวะน้อยและขัด ต่อมามีอาการบวมทั้งตัว ทางโรงพยาบาลรักษาโดยให้ยาปฎิชีวนะร่วมกับยาขับปัสสาวะกว่าครึ่งเดือน ได้ผลไม่ชัดเจน ซึ่งโรงพยาบาลวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลันร่วมกับไตวาย จึงได้นำส่งแผนกการแพทย์แผนจีนเพื่อทำการรักษา ขณะนั้นผู้ป่วยมีอาการอาเจียนไม่หยุด หงุดหงิด ปวดเอวปวดท้องมากชนิดทนไม่ไหว ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูกมานาน 5 วัน อาการบวมน้ำหนักมาก
"การรักษาจึงต้องระบายของเสียออกจากร่างกาย ขับพิษ ลดบวม ตำรับยาที่ใช้คือ ต้าเฉิงชี่ทัง โดยเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสม เมื่อรับประทานยา 5 ห่อ ผู้ป่วยจึงถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ เลิกอาเจียน อาการปวดเอวปวดท้องหายไป อาการบวมน้ำลดไป 70% หลังจากนั้นได้มีการปรับตัวยาและใช้ยาเสริมม้าม บำรุงไต เพื่อปรับสมดุลร่างกาย สภาพร่างกายทั่วไปจึงเป็นปกติ" นพ.อู๋ปิ่งกวางระบุ
"โรคไต" จึงเป็นปัญหาสำคัญของคนในปัจจุบัน ซึ่งการรักษาด้วยแผนปัจจุบันในหลายๆ กรณีนั้นไม่สามารถช่วยแก้ไขโรคเหล่านี้ได้ หลายคนจึงหันกลับมาศึกษาและพึ่งพาแพทย์ทางเลือกอย่างแพทย์แผนจีนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุข และได้มีการเปิดอบรมผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนจีน โดยได้มอบใบอนุญาตแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ทั่วไป เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการรับการรักษาจากแพทย์แผนจีนในฐานะการแพทย์ทางเลือก
โดยโรคไตในทัศนะของแพทย์จีนนั้น มีความหมายกว้างครอบคลุมกระบวนการทั้งชีวิต โดยเพศหญิงจะเริ่มพัฒนาพลังไตตั้งแต่ 7 ขวบ และจะเริ่มพัฒนามากขึ้นตามลำดับ และจะค่อยเสื่อมถอยไปสิ้นสุดในช่วง 49 ปี ส่วนเพศชายจะเริ่มจาก 8 ขวบ และจะเสื่อมถอยไปสิ้นสุดในช่วง 64 ปี เมื่อร่างกายเข้าสู่จุดเสื่อมถอย ผมและฟันจะหลุดร่วง บ่งบอกชัดเจนว่าไตไม่ได้มีหน้าที่เพียงขับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น แต่หน้าที่ของไตเกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมปริมาณน้ำและของเหลว อีกทั้งยังกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นปกติด้วย
นพ.เจี๋ยงจงคัง หนึ่งในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนจีนที่ได้ศึกษาวิจัยโรคไต กล่าวว่า ผู้ป่วยที่กำลังฟอกล้างไต ล้างไตทางช่องท้อง และกำลังรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ถ้าได้ใช้วิธีการฝังเข็มและยาสมุนไพรจีนรักษาร่วมด้วย ไม่เพียงแต่จะลดการบวมน้ำเท่านั้นแต่ยังมีผลดีต่อการฟื้นฟูการทำงานของไตอีก ด้วย เป็นการปรับศักยภาพในการรักษาตนเองของร่างกาย อีกทั้งสามารถทำให้การล้างไตทางช่องท้องไม่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน รวมทั้งยืดชีวิตของผู้ป่วยให้ยืนยาวได้
"ได้มีการศึกษาวิจัยกับผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งอายุ 72 ปี ที่เป็นโรคไตวาย มีอาการบวมน้ำ และทำการล้างไตผ่านทางช่องท้องมาโดยตลอด ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ถ่ายไม่คล่อง ประสาทอ่อนล้า นอนไม่หลับ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็มบนจุดจิงลั่ว ร่วมกับการใช้สมุนไพรตงเซี่ยเฉ่า เพื่อปรับกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถเดิน กินอาหาร ขับถ่าย และนอนได้อย่างปกติ โดยได้รับการรักษาจำนวน 12 ครั้ง ภายในระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ดี คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นสามารถเดิน กินอาหาร ขับถ่าย และนอนได้อย่างปกติ ซึ่งผู้ป่วยและญาติพอใจในการรักษา"
ด้านนพ.อู๋ปิ่งกวาง ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาโรคไตวายของผู้ป่วยชายรายหนึ่ง อายุ 30 ปี ชอบดื่มเหล้า กินอาหารรสจัด จากนั้นป่วยเป็นหวัด มีไข้ ต่อมาจึงมีอาการเจ็บคอ คอบวม เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อน ปวดเอว ปวดท้อง ปัสสาวะน้อยและขัด ต่อมามีอาการบวมทั้งตัว ทางโรงพยาบาลรักษาโดยให้ยาปฎิชีวนะร่วมกับยาขับปัสสาวะกว่าครึ่งเดือน ได้ผลไม่ชัดเจน ซึ่งโรงพยาบาลวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลันร่วมกับไตวาย จึงได้นำส่งแผนกการแพทย์แผนจีนเพื่อทำการรักษา ขณะนั้นผู้ป่วยมีอาการอาเจียนไม่หยุด หงุดหงิด ปวดเอวปวดท้องมากชนิดทนไม่ไหว ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูกมานาน 5 วัน อาการบวมน้ำหนักมาก
"การรักษาจึงต้องระบายของเสียออกจากร่างกาย ขับพิษ ลดบวม ตำรับยาที่ใช้คือ ต้าเฉิงชี่ทัง โดยเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสม เมื่อรับประทานยา 5 ห่อ ผู้ป่วยจึงถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ เลิกอาเจียน อาการปวดเอวปวดท้องหายไป อาการบวมน้ำลดไป 70% หลังจากนั้นได้มีการปรับตัวยาและใช้ยาเสริมม้าม บำรุงไต เพื่อปรับสมดุลร่างกาย สภาพร่างกายทั่วไปจึงเป็นปกติ" นพ.อู๋ปิ่งกวางระบุ