xs
xsm
sm
md
lg

“ชินภัทร” เตรียมเสนอใช้โอเน็ต 20% คัดเด็ก ม.1

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ชินภัทร” เตรียมเสนอใช้โอเน็ตคัดเด็กเรียนต่อ ม.1 ไม่น้อยกว่า 20%  ชี้ หาก ร.ร.มีความพร้อม และ คกก.สถานศึกษาเห็นชอบก็สามารถใช้สัดส่วนสูงกว่านี้ได้ ส่วนสัดส่วนคะแนนโอเน็ตแต่ละวิชาขอหารือกับผู้บริหาร สพฐ.ก่อน

                นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการกำหนดสัดส่วนการนำคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสอบคัดเลือกเข้าศึกต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555 ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประชุมรับฟังความเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาหลายครั้ง ว่าควรจะกำหนดสัดส่วนการใช้คะแนนโอเน็ตที่เท่าไรจึงจะเหมาะสม ก่อนหน้านี้ สพฐ.เห็นว่าควรจะกำหนดไว้อยู่ที่ประมาณ 10% แต่เมื่อถามความเห็นส่วนใหญ่ระบุว่าควรจะกำหนดสัดส่วนอยู่ที่ 20-50% และขอให้ สพฐ.เป็นกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำ

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่า จะเสนอสัดส่วนนำคะแนนโอเน็ตใช้เพื่อคัดเลือกนักเรียน ม.1 ไม่น้อยกว่า 20% กรณี ที่คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนเห็นว่าโรงเรียนมีศักยภาพและพร้อมจะใช้ สูงกว่าที่ สพฐ.กำหนดก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ สัดส่วนคะแนนโอเน็ตของแต่ละวิชาควรจะเป็นเท่าใดนั้นขอหารือในการประชุมผู้ บริหาร สพฐ.วันพรุ่งนี้ (26 มิ.ย.) ก่อน หากผู้บริหารเห็นด้วยก็จะทำรายละเอียดแนวปฏิบัติการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อ โรงเรเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ในเดือน ก.ย.และคาดว่า ไม่เกินเดือน ต.ค.จะเสนอให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พิจารณาได้

“มีผู้บริหารบางท่านทักท้วงว่าการที่ใช้คะแนนโอเน็ตมาใช้สอบเข้าเรียนต่อจะยิ่ง ตอกย้ำความเสียเปรียบ และเกิดความเสียหายซึ่งคาดว่าคงมองในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่เราต้องมองในมุมการประเมินเพราะเราลงทุนเพื่อคุณภาพเราจึงต้องนำผลการ ประเมินมาใช้เป็นเรื่องที่ สพฐ.ต้องรับผิดชอบไม่ใช่ปล่อยให้เด็กไม่ตั้งใจเรียน อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อผลการเรียนของตนเองด้วย ที่สำคัญมีโรงเรียนที่แข่งขันสูงจริงๆ ประมาณ 200 กว่าโรงเท่านั้น ที่ใช้โรงเรียนอื่นๆ ก็ใช้เกณฑ์ปกติ ทั้งนี้ ในส่วนของการรับนักเรียน ม.4 นั้นขณะนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีบางประเด็น เช่น การรับนักเรียนม.3 ที่จบโรงเรียนเดิมเข้าเรียนต่อ ซึ่งการรับนักเรียนที่ผ่านมาก็พบปัญหาบ้างซึ่งคงต้องเอามาหารือกันภายหลัง”เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น