หารือร่วม สปสช.-สปส.ไม่คืบ ยุติแค่ความเข้าใจตาม ม.10 พ.ร.บ.ประกันสุขภาพ เน้นยึดฉันทามติของทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนประชามติอาจมีในอนาคต ถกต่อนัดหน้า 9 มิ.ย.
วันนี้ (10 พ.ค.) ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะประธานการประชุม ร่วมกับนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวหลังการประชุมหารือระหว่างผู้แทนจากบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับบอร์ดสำนักงานประกันสังคม ถึงกรณีความพร้อมในการดำเนินการตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า มีข้อยุติร่วมกัน 3 เรื่อง คือ 1.เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย (ตามมาตรา 10 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554 และหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.) 2.เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกันตน 3.เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาระบบบริการสาธารณะสุขในภาพรวมของประเทศ โดยเป็นไปตามหลักความเป็นธรรม คุณภาพ และประสิทธิภาพ
นพ.วิชัย กล่าวว่า ประเด็นของมาตรา 10 ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554 นั้น ได้มีการทำความเข้าใจกันของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งมีความสำคัญมาก ทำให้รู้ความคิดของแต่ละฝ่ายว่ามีความคิดเห็นในวรรคไหนอย่างไรบ้าง ส่วนประเด็นในเรื่องสิทธิการซ้ำซ้อนขณะนี้แก้ไปได้เยอะแล้ว เพราะสมัยก่อนที่ยังมีความซ้ำซ้อนอยู่เนื่องจากระบบไอทียังไม่ได้รับการพัฒนา
นพ.วิชัย กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานควรจะเหมือนกัน เช่น ถ้าคนนี้ได้ยา คนนี้ไม่ได้ยา ตรงนี้ยอมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องคนฐานะดีอยากนอนห้องพิเศษ แต่คนจนอยากนอนห้องธรรมดา อย่างนี้ยอมได้ ซึ่งการเลือกว่าจะรักษาใครด้วยสิทธิ์ไหนถือว่าผิดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่คิดว่าเรื่องนี้ยังคงต้องใช้เวลา อย่างประเทศเกาหลีใช้เวลา 17 ปี ในการรวมทุกกองทุน ซึ่งคิดว่าของไทยคงไม่น่าจะนานขนาดนั้น ส่วนแนวโน้มต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องขึ้นอยู่กับฉันทามติของทั้ง 2 ฝ่ายก่อน ส่วนการทำประชามตินั้นยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน แต่คาดว่าอาจจะมีการทำในอนาคต
ส่วนนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า การเจรจาร่วมกันเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนในการใช้สิทธิ ซึ่งปัจจุบันไม่มีปัญหานี้แล้ว เนื่องจากระบบขณะนี้หากป้อนข้อมูลบุคคลจะปรากฏสิทธิรักษาพยาบาล 1 สิทธิเสมอ จึงเหลือเพียงประเด็นที่จะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนของการพัฒนาระบบให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นธรรมเท่านั้น เพราะหากพิจารณามาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีการโอนหรือรวมผู้ประกันตนไปอยู่กับ สปสช.
ทั้งนี้ จะมีการนัดประชุมร่วมกันในครั้งหน้า วันที่ 9 มิ.ย.2554 เวลา 13.30 น.ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันนี้ (10 พ.ค.) ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะประธานการประชุม ร่วมกับนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวหลังการประชุมหารือระหว่างผู้แทนจากบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับบอร์ดสำนักงานประกันสังคม ถึงกรณีความพร้อมในการดำเนินการตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า มีข้อยุติร่วมกัน 3 เรื่อง คือ 1.เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย (ตามมาตรา 10 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554 และหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.) 2.เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกันตน 3.เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาระบบบริการสาธารณะสุขในภาพรวมของประเทศ โดยเป็นไปตามหลักความเป็นธรรม คุณภาพ และประสิทธิภาพ
นพ.วิชัย กล่าวว่า ประเด็นของมาตรา 10 ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554 นั้น ได้มีการทำความเข้าใจกันของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งมีความสำคัญมาก ทำให้รู้ความคิดของแต่ละฝ่ายว่ามีความคิดเห็นในวรรคไหนอย่างไรบ้าง ส่วนประเด็นในเรื่องสิทธิการซ้ำซ้อนขณะนี้แก้ไปได้เยอะแล้ว เพราะสมัยก่อนที่ยังมีความซ้ำซ้อนอยู่เนื่องจากระบบไอทียังไม่ได้รับการพัฒนา
นพ.วิชัย กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานควรจะเหมือนกัน เช่น ถ้าคนนี้ได้ยา คนนี้ไม่ได้ยา ตรงนี้ยอมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องคนฐานะดีอยากนอนห้องพิเศษ แต่คนจนอยากนอนห้องธรรมดา อย่างนี้ยอมได้ ซึ่งการเลือกว่าจะรักษาใครด้วยสิทธิ์ไหนถือว่าผิดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่คิดว่าเรื่องนี้ยังคงต้องใช้เวลา อย่างประเทศเกาหลีใช้เวลา 17 ปี ในการรวมทุกกองทุน ซึ่งคิดว่าของไทยคงไม่น่าจะนานขนาดนั้น ส่วนแนวโน้มต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องขึ้นอยู่กับฉันทามติของทั้ง 2 ฝ่ายก่อน ส่วนการทำประชามตินั้นยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน แต่คาดว่าอาจจะมีการทำในอนาคต
ส่วนนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า การเจรจาร่วมกันเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนในการใช้สิทธิ ซึ่งปัจจุบันไม่มีปัญหานี้แล้ว เนื่องจากระบบขณะนี้หากป้อนข้อมูลบุคคลจะปรากฏสิทธิรักษาพยาบาล 1 สิทธิเสมอ จึงเหลือเพียงประเด็นที่จะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนของการพัฒนาระบบให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นธรรมเท่านั้น เพราะหากพิจารณามาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีการโอนหรือรวมผู้ประกันตนไปอยู่กับ สปสช.
ทั้งนี้ จะมีการนัดประชุมร่วมกันในครั้งหน้า วันที่ 9 มิ.ย.2554 เวลา 13.30 น.ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ