สพฐ.ปรับแผนการประเมินโฮมสคูลใหม่ ยึดผลงานผู้เรียนเป็นหลัก แทนการยึดวันและเวลาเรียน ชี้ หากผู้เรียนได้รับรางวัลมาสามารถยื่นผลงานขอเทียบประเมินกับ สพท.ได้ ระบุหากเป็นผลงานระดับภูมิภาค/ชาติ สามารถเทียบผ่านวิชานั้นได้เลย ระยะยาวตั้งคณะทำงานอนุกรรมการขับเคลื่อนโฮมสคูลเต็มที่ “กมล” เผย “ชินภัทร” เห็นชอบในหลักการแล้ว แต่ต้องให้ที่ประชุม กพฐ.พิจารณาก่อนเพื่อประกาศเป็นนโยบายต่อไป
นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (โฮมสคูล) 200 ครอบครัว โดยก่อนหน้ามีการร้องเรียนจาก 17 ครอบครัว ซึ่งประสบปัญหาการประเมินผลผู้เรียนที่ผู้ปกครองต้องการให้ประเมินผลการเรียนแบบรวบยอดไม่ต้องประเมินหลายครั้ง เพราะฉะนั้น ตนจึงจัดประชุมระดมความคิดระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มครอบครัว ผู้ปฏิบัติงานของ สพฐ.และสำนักงานเขตพื้นที่ (สพท.) เพื่อหารือถึงประเด็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ช่วยเหลือทั้งแบบเร่งด่วนและแบบระยะยาว ดังนี้ แผนเร่งด่วนให้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษทั้ง 17 ครอบครัวเป็นกรณีพิเศษ
ส่วนแผนระยะยาวก็มีมติให้ตั้งคณะทำงาน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล ภายใต้คณะอนุกรรมการการจัดการศึกษาทางเลือกของ สพฐ.ที่จะประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิจาก สพฐ.โดยกำหนดให้มีภารกิจ 4 ประการ ได้แก่ 1.จัดทำแนวปฏิบัติและคู่มือการดำเนินงานโฮมสคูล 2.ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรทั้งใน สพฐ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการและแนวทางการดำเนินงานของโฮมสคูล 3.เสนอแนวทางในการแก้กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติให้เหมาะสมสอดคล้องระหว่างการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับโฮมสคูล 4.กำหนดแผนพัฒนาโฮมสคูล รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติงานอื่นเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพโฮมสคูลในอนาคต
นายกมล กล่าวต่อว่า ที่ประชุมก็ยังมอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่วยงานหลัก พร้อมตั้งหน่วย ประสานงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 12 แห่ง เพื่อจะให้รับผิดชอบ และพัฒนาองค์ความรู้ตามการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูลที่เหมาะสม สำหรับเกณฑ์ประเมินใหม่นั้น กำหนดให้วัดผลงานของผู้เรียนเป็นหลัก เช่น หากนักเรียนได้แชมป์วาดรูป ก็สามารถนำรางวัลนั้นมาขอเทียบประเมินกับคณะกรรมการ สพท.ได้ ยิ่งหากได้รางวัลในระดับภูมิภาคหรือระดับชาติ ก็สามารถนำเทียบประเมินผ่านชั้นม.6 ได้เลย ถึงแม้จะไม่ค่อยได้เรียนเลยก็ตาม ทั้งนี้ เพราะในวิธีการประเมินใหม่นั้นจะไม่นับชั่วโมงหรือวันเรียนเหมือนกับที่ผ่านมา
“ได้เสนอแผนทั้งหมดต่อนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.แล้ว ซึ่งเลขาธิการ กพฐ.เห็นชอบในหลักการแล้ว เบื้องต้นก็ต้องไปเสนอที่ประชุม กพฐ.ครั้งต่อไปก่อนถึงจะประกาศเป็นแผนต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อแนวทางของการเรียนโฮมสคูลเริ่มชัดเจนและดีขึ้นแล้ว ผมก็ยังไม่อยากให้นักเรียนแห่กันมาเรียนโฮมสคูล เพราะการเรียนโฮมสคูลนั้นมีวัตถุประสงค์ให้กับเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ไม่มีเวลาแต่อยากเรียนเท่านั้น เช่น นักกีฬาระดับชาติ” นายกมล กล่าว
นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (โฮมสคูล) 200 ครอบครัว โดยก่อนหน้ามีการร้องเรียนจาก 17 ครอบครัว ซึ่งประสบปัญหาการประเมินผลผู้เรียนที่ผู้ปกครองต้องการให้ประเมินผลการเรียนแบบรวบยอดไม่ต้องประเมินหลายครั้ง เพราะฉะนั้น ตนจึงจัดประชุมระดมความคิดระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มครอบครัว ผู้ปฏิบัติงานของ สพฐ.และสำนักงานเขตพื้นที่ (สพท.) เพื่อหารือถึงประเด็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ช่วยเหลือทั้งแบบเร่งด่วนและแบบระยะยาว ดังนี้ แผนเร่งด่วนให้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษทั้ง 17 ครอบครัวเป็นกรณีพิเศษ
ส่วนแผนระยะยาวก็มีมติให้ตั้งคณะทำงาน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล ภายใต้คณะอนุกรรมการการจัดการศึกษาทางเลือกของ สพฐ.ที่จะประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิจาก สพฐ.โดยกำหนดให้มีภารกิจ 4 ประการ ได้แก่ 1.จัดทำแนวปฏิบัติและคู่มือการดำเนินงานโฮมสคูล 2.ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรทั้งใน สพฐ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการและแนวทางการดำเนินงานของโฮมสคูล 3.เสนอแนวทางในการแก้กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติให้เหมาะสมสอดคล้องระหว่างการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับโฮมสคูล 4.กำหนดแผนพัฒนาโฮมสคูล รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติงานอื่นเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพโฮมสคูลในอนาคต
นายกมล กล่าวต่อว่า ที่ประชุมก็ยังมอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่วยงานหลัก พร้อมตั้งหน่วย ประสานงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 12 แห่ง เพื่อจะให้รับผิดชอบ และพัฒนาองค์ความรู้ตามการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูลที่เหมาะสม สำหรับเกณฑ์ประเมินใหม่นั้น กำหนดให้วัดผลงานของผู้เรียนเป็นหลัก เช่น หากนักเรียนได้แชมป์วาดรูป ก็สามารถนำรางวัลนั้นมาขอเทียบประเมินกับคณะกรรมการ สพท.ได้ ยิ่งหากได้รางวัลในระดับภูมิภาคหรือระดับชาติ ก็สามารถนำเทียบประเมินผ่านชั้นม.6 ได้เลย ถึงแม้จะไม่ค่อยได้เรียนเลยก็ตาม ทั้งนี้ เพราะในวิธีการประเมินใหม่นั้นจะไม่นับชั่วโมงหรือวันเรียนเหมือนกับที่ผ่านมา
“ได้เสนอแผนทั้งหมดต่อนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.แล้ว ซึ่งเลขาธิการ กพฐ.เห็นชอบในหลักการแล้ว เบื้องต้นก็ต้องไปเสนอที่ประชุม กพฐ.ครั้งต่อไปก่อนถึงจะประกาศเป็นแผนต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อแนวทางของการเรียนโฮมสคูลเริ่มชัดเจนและดีขึ้นแล้ว ผมก็ยังไม่อยากให้นักเรียนแห่กันมาเรียนโฮมสคูล เพราะการเรียนโฮมสคูลนั้นมีวัตถุประสงค์ให้กับเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ไม่มีเวลาแต่อยากเรียนเท่านั้น เช่น นักกีฬาระดับชาติ” นายกมล กล่าว