สสท.รายงานสถานการณ์ป่วยเบาหวานของคนไทย หญิงกรุงเทพฯ ป่วยสูงสุดเกือบ 10% อีสานครองอันดับสองป่วย 9.1%
ข้อมูลเผยแพร่ของสำนักงานสำรวจสุขภาพของประชาชนไทย (สสท.) รายงานผลการสำรวจสุขภาพด้วยการตรวจร่างกายประชาชน ครั้งที่ 4 มีข้อมูลระบุถึงสถานการณ์สุขภาพเรื่องความชุกของโรคเบาหวานและภาวะบกพร่องของน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Impaired Fasting Glucose, IFG) ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ในปี 2552 ใกล้เคียงกับความชุกในปี 2547 คือร้อยละ 6.9 โดยความชุกในผู้ชายลดลงจากร้อยละ 6.4 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 6.0 ในปี 2552 ส่วนในผู้หญิงความชุกเพิ่มเล็กน้อยจากร้อยละ 7.3 เป็นร้อยละ 7.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน ความชุกของเบาหวานในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล ทั้งในเพศชาย (ร้อยละ 8.3 และ 5.0) และหญิง (ร้อยละ 9.4 และ 7.0)
การกระจายของความชุกเบาหวานตามภาค พบว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศ โดย
ในผู้หญิง ความชุกสูงสุดในกรุงเทพฯ (ร้อยละ 9.9) รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 9.1) ตามด้วย ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือ ตามลำดับ ส่วนในเพศชายพบว่า สูงสุดในกรุงเทพฯ (ร้อยละ 8.5) รองลงมาคือภาคกลาง (ร้อยละ 7.7) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับความครอบคลุมในการบริการมีการเปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้น นั่นคือ เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี 2547 สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานไม่ทราบว่าตนเองลดลงจากร้อยละ 56.6 เป็นร้อยละ 31.2 และในส่วนของการรักษาและสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ (FPG<126 มก./ดล.) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.2 เป็นร้อยละ 28.5
ความชุกของภาวะ IFG หรือภาวะบกพร่องของน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร โดยรวมร้อยละ 10.7 ความชุกในผู้ชายสูงกว่าในหญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 11.8 และ 9.5 ตามลำดับ) วามชุกของภาวะ IFG มีการกระจายตามเขตปกครองเช่นเดียวกับโรคเบาหวาน คือ ความชุกในเขตเทศบาล สูงกว่านอกเขตฯ ารกระจายตามภาคของภาวะ IFG พบว่าสูงที่สุดใน ภาคกลาง (ร้อยละ 18.6)รองลงมาคือภาคใต้ ภาคเหนือ กรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 44.4 เคยได้รับการตรวจเลือดคัดกรองเบาหวานในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 15.3 เคยได้รับการตรวจใน 1-5 ปีที่ผ่านมา