อย.ร่วมตำรวจ บก.ปคบ.บุกจับผู้ลักลอบขาย ฉีดโบท็อกซ์-สารกลูตาไธโอน ย่านสายไหม หลังผู้บริโภคร้องตรวจสอบเว็บwww.biopharmacare.com เผยตรวจพบลักลอบฉีดโบท็อกซ์ โดยผู้ฉีดไม่ได้เป็นแพทย์ และสถานที่ฉีดเป็นบ้านพักอาศัย พร้อมผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยามูลค่าของกลางกว่า 400,000 บาท ชี้ผิดกฎหมายหลายข้อหา เตือนสาวๆ อย่าหลงเชื่อการฉีดโบท็อกซ์ หรือกลูตาไธโอน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบเว็บไซต์ชื่อ www.biopharmacare.com เนื่องจากมีการโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดหน้าเรียว ฉีดโบท็อกซ์ลดกราม โดยเจ้าของเว็บไซต์แจ้งว่าเป็นดีเทลยา พร้อมให้หมายเลขโทรศัพท์เพื่อนัดหมายฉีดโบท็อกซ์ และให้สอบถามข้อมูล จึงได้ตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ซึ่งหลังจาก อย.ได้รับข้อมูลจึงรุดประสานไปยังตำรวจ บก.ปคบ.เพื่อสืบสวนสอบสวนและทำการล่อซื้อยาจากเว็บไซต์ดังกล่าวทันที ทั้งนี้ จากการเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าว พบว่า มีการโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ และฉีดกลูตาไธโอนจริงตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน โดยมีข้อความโฆษณาว่า บริการฉีดผิวขาว หรือฉีดกลูตาไธโอนกับหมอที่คลินิก หรือโรงพยาบาลกว่า 10 แห่งที่กรุงเทพฯ และยังมีที่ต่างจังหวัดด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร 08-7677-9552 รวมทั้งโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดจมูกเติมเต็มด้วยสาร filler ที่ปลอดภัยได้ อย. โดยแพทย์ชำนาญการ ปลอดภัย ไม่ใช่ซิลิโคนเหลว ฉีดเสริมหน้าผาก ฉีดเติมร่องแก้ม ฉีดลดตีนกา บริการยกกระชับหน้าด้วยไหมทองคำ พร้อมจำหน่ายยาช่วยทำให้ผิวขาว เป็นต้น ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายในราคาสูงเป็นหลักหมื่นขึ้นไป
นพ.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย. ดำเนินการล่อซื้อยาฉีดโบท็อกซ์ ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ โดยทางตำรวจ บก.ปคบ.ได้ส่งสายสืบปลอมตัวเพื่อเข้ารับบริการฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งสถานที่นัดหมายรับบริการ คือ บ้านเลขที่ 228 ถ.สายไหม ซ.สายไหม 10 แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สามารถจับกุม น.ส.บุษวรรณ สุวรรณวัฒน์ (ฝ้าย ชื่อที่ปรากฏบนเว็บไซต์) ขณะกำลังฉีดโบท็อกซ์ด้วยตนเองให้กับผู้ล่อซื้อในบ้านพักดังกล่าว โดย น.ส.บุษวรรณไม่ได้เป็นแพทย์ และบ้านพักไม่ได้เป็นสถานพยาบาลถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด พร้อมทั้งจับยาและอุปกรณ์ที่ใช้ในขณะฉีดให้ลูกค้า 4 รายการ ได้แก่ Botulinum Toxin Type A Reg.No1C87/40(N) , หลอดฉีดยา, Liprikaine (Lidocaine 25 mg, Prilocaine 25 mg) Reg.No2A2/53 และแอลกอฮอล์ 70% นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบบ้านพักดังกล่าว และขยายผลต่อตรวจสอบรถยนต์ของ น.ส.บุษวรรณ (ผู้ต้องหา) พบผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ จำนวนมาก
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จึงยึดของกลางทั้งหมดเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมมูลค่าของกลางกว่า 400,000 บาท ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้แจ้งดำเนินคดีหลายข้อหา ได้แก่ 1.ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2.ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท 4.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ ที่โฆษณา การฉีดโบท็อกซ์ โดยเฉพาะการฉีดสารกลูตาไธโอน ที่อวดอ้างสรรพคุณทำให้ผิวขาวใส เพราะเป็นการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เนื่องจากเป็นการนำสารกลูตาไธโอนมาใช้ในทางที่ผิด เพราะสารกลูตาไธโอนไม่ได้มีข้อบ่งชี้ ในการช่วยทำให้ผิวขาวใสขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประโยชน์ที่อาจนำมาใช้ในทางการแพทย์ตามที่ระบุในเอกสารวิชาการ คือ การรักษาพิษจากยาพาราเซตามอล โดยใช้เบื้องต้นสำหรับรักษาโรคมะเร็งบางชนิด และขณะนี้ อย.ไม่ได้มีการรับขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ใช้สารนี้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ หากผู้ฉีดยาเป็นหมอเถื่อนที่ไม่ได้จบแพทย์ และไม่มีความรู้ด้านการรักษาหรือการฉีดยา ผู้บริโภคอาจได้รับอันตราย และเสียเงินทองจำนวนมาก พร้อมกันนี้ ขอเตือนมายังเจ้าของเว็บไซต์ทุกราย หรือแหล่งใดๆ ที่โฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดกลูตาไธโอน หรือฉีดสารใดๆ ก็ตามเข้าไปในร่างกาย เพื่อทำให้ผิวขาวใส พร้อมการขายยา หรืออาหารเสริม อวดสรรพคุณทำให้ผิวขาว อย่าได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ หากเป็นเว็บไซต์จะประสานไปยังกระทรวงไอซีที ดำเนินการตรวจสอบและสั่งปิดเว็บไซต์ พร้อมดำเนินคดีต่อเจ้าของเว็บไซต์อย่างเคร่งครัด มีโทษทั้งจำและปรับ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย หรือโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อต่างๆ สามารถร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบการกระทำความผิด
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบเว็บไซต์ชื่อ www.biopharmacare.com เนื่องจากมีการโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดหน้าเรียว ฉีดโบท็อกซ์ลดกราม โดยเจ้าของเว็บไซต์แจ้งว่าเป็นดีเทลยา พร้อมให้หมายเลขโทรศัพท์เพื่อนัดหมายฉีดโบท็อกซ์ และให้สอบถามข้อมูล จึงได้ตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ซึ่งหลังจาก อย.ได้รับข้อมูลจึงรุดประสานไปยังตำรวจ บก.ปคบ.เพื่อสืบสวนสอบสวนและทำการล่อซื้อยาจากเว็บไซต์ดังกล่าวทันที ทั้งนี้ จากการเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าว พบว่า มีการโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ และฉีดกลูตาไธโอนจริงตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน โดยมีข้อความโฆษณาว่า บริการฉีดผิวขาว หรือฉีดกลูตาไธโอนกับหมอที่คลินิก หรือโรงพยาบาลกว่า 10 แห่งที่กรุงเทพฯ และยังมีที่ต่างจังหวัดด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร 08-7677-9552 รวมทั้งโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดจมูกเติมเต็มด้วยสาร filler ที่ปลอดภัยได้ อย. โดยแพทย์ชำนาญการ ปลอดภัย ไม่ใช่ซิลิโคนเหลว ฉีดเสริมหน้าผาก ฉีดเติมร่องแก้ม ฉีดลดตีนกา บริการยกกระชับหน้าด้วยไหมทองคำ พร้อมจำหน่ายยาช่วยทำให้ผิวขาว เป็นต้น ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายในราคาสูงเป็นหลักหมื่นขึ้นไป
นพ.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย. ดำเนินการล่อซื้อยาฉีดโบท็อกซ์ ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ โดยทางตำรวจ บก.ปคบ.ได้ส่งสายสืบปลอมตัวเพื่อเข้ารับบริการฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งสถานที่นัดหมายรับบริการ คือ บ้านเลขที่ 228 ถ.สายไหม ซ.สายไหม 10 แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สามารถจับกุม น.ส.บุษวรรณ สุวรรณวัฒน์ (ฝ้าย ชื่อที่ปรากฏบนเว็บไซต์) ขณะกำลังฉีดโบท็อกซ์ด้วยตนเองให้กับผู้ล่อซื้อในบ้านพักดังกล่าว โดย น.ส.บุษวรรณไม่ได้เป็นแพทย์ และบ้านพักไม่ได้เป็นสถานพยาบาลถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด พร้อมทั้งจับยาและอุปกรณ์ที่ใช้ในขณะฉีดให้ลูกค้า 4 รายการ ได้แก่ Botulinum Toxin Type A Reg.No1C87/40(N) , หลอดฉีดยา, Liprikaine (Lidocaine 25 mg, Prilocaine 25 mg) Reg.No2A2/53 และแอลกอฮอล์ 70% นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบบ้านพักดังกล่าว และขยายผลต่อตรวจสอบรถยนต์ของ น.ส.บุษวรรณ (ผู้ต้องหา) พบผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ จำนวนมาก
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จึงยึดของกลางทั้งหมดเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมมูลค่าของกลางกว่า 400,000 บาท ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้แจ้งดำเนินคดีหลายข้อหา ได้แก่ 1.ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2.ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท 4.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ ที่โฆษณา การฉีดโบท็อกซ์ โดยเฉพาะการฉีดสารกลูตาไธโอน ที่อวดอ้างสรรพคุณทำให้ผิวขาวใส เพราะเป็นการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เนื่องจากเป็นการนำสารกลูตาไธโอนมาใช้ในทางที่ผิด เพราะสารกลูตาไธโอนไม่ได้มีข้อบ่งชี้ ในการช่วยทำให้ผิวขาวใสขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประโยชน์ที่อาจนำมาใช้ในทางการแพทย์ตามที่ระบุในเอกสารวิชาการ คือ การรักษาพิษจากยาพาราเซตามอล โดยใช้เบื้องต้นสำหรับรักษาโรคมะเร็งบางชนิด และขณะนี้ อย.ไม่ได้มีการรับขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ใช้สารนี้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ หากผู้ฉีดยาเป็นหมอเถื่อนที่ไม่ได้จบแพทย์ และไม่มีความรู้ด้านการรักษาหรือการฉีดยา ผู้บริโภคอาจได้รับอันตราย และเสียเงินทองจำนวนมาก พร้อมกันนี้ ขอเตือนมายังเจ้าของเว็บไซต์ทุกราย หรือแหล่งใดๆ ที่โฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดกลูตาไธโอน หรือฉีดสารใดๆ ก็ตามเข้าไปในร่างกาย เพื่อทำให้ผิวขาวใส พร้อมการขายยา หรืออาหารเสริม อวดสรรพคุณทำให้ผิวขาว อย่าได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ หากเป็นเว็บไซต์จะประสานไปยังกระทรวงไอซีที ดำเนินการตรวจสอบและสั่งปิดเว็บไซต์ พร้อมดำเนินคดีต่อเจ้าของเว็บไซต์อย่างเคร่งครัด มีโทษทั้งจำและปรับ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย หรือโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อต่างๆ สามารถร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบการกระทำความผิด