อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนแล้ว 1.7 แสนราย มึนตำรวจยังกวาดจัดแรงงานข้ามชาติ ทั้งที่อยู่ในช่วงผ่อนปรนให้ขึ้นทะเบียน เชื่อ ตำรวจไม่รู้ข้อมูล จี้หน่วยงานระดับจังหวัดเร่งกระจายข้อมูล ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานข้ามชาติ แฉ แรงงานต่างด้าวถูกไถจากนายหน้าหนักรายละ 2-3 พันบาท เหตุนายจ้างไม่พาไปขึ้นทะเบียน
วันนี้ (22 มิ.ย.) นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยถึงการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวว่า ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนในวันที่ 15 มิถุนายน จนถึงขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนแล้ว 1.7 แสนราย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่เป็นระยะๆ อย่างกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงจับกุมแรงงานต่างด้าว ทั้งๆ ที่ช่วงนี้ไปจนถึงวันที่ 14 กรกฎาคม เป็นช่วงผ่อนผัน ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ 22 แห่งทราบในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) แล้ว นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้มีคำสั่งออกมาแล้วด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่มาจดทะเบียนจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3,880 บาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท และค่าตรวจโรค 600 บาท
“ตอนนี้แรงงานต่างด้าวหลายพื้นที่ร้องเรียนมาว่า ยังถูกจับกุมอยู่ ซึ่งดิฉันได้ประสานไปยังผู้อำนวยการเขต เพื่อให้ช่วยแจ้งเรื่องการขึ้นทะเบียนและมาตรการผ่อนปรนให้ตำรวจได้ทราบ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าตำรวจในหลายพื้นที่ยังไม่ทราบข้อมูล จึงยังจับกุมอยู่ ขณะนี้ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างด้าวได้รับรู้ทั่วถึงโดยประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านนี้” นางสุทัศนี กล่าว
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่กองทุนเงินทดแทนที่สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์นำไปฟ้ององค์การแรงงานระหว่างประเทศนั้น จริงๆ แล้วก็พยายามให้การดูแลสุขภาพได้มาตรฐานเดียวกับแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติ แต่ยังมีปัญหาในข้อกฎหมายอยู่ แต่เมื่อแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้พิสูจน์สัญชาติแล้วก็จะได้การดูแลในกองทุนเงินทดแทนเช่นเดียวกับแรงงานทั่วไป ทั้งนี้ ในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้จดทะเบียนผู้ที่ติดตามแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 15 ปีด้วย
นายอานดี้ ฮอลล์ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังกวาดจับแรงงานต่างๆ จำนวนมาก ในขณะที่กำลังเตรียมข้อมูลเอกสารลงทะเบียน โดยหลายพื้นที่มีการเรียกเงินจากแรงงานเหล่านี้ถึงหัวละ 2,000-3,000 บาท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าหลังจากการจดทะเบียนครั้งนี้ เป็นไปได้ยากที่จะมีการเรียกเก็บเงินจากแรงงานข้ามชาติได้อีก จึงได้เร่งเรียกเก็บเงินกันในตอนนี้
นายอานดี้ กล่าวอีกว่า การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ คนงานต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงหัวละ 4,500-8,000 บาทโดยส่วนหนึ่งต้องเสียให้กับนายหน้าที่พาไปขึ้นทะเบียนเพราะนายจ้างไม่ยอมพาไปเนื่องจากไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มและยอมเสียให้กับตำรวจแทน ทำให้ขณะนี้แรงงานข้ามชาติรู้สึกสับสนมาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาผู้ที่ติดตาม ซึ่งระเบียบใหม่ให้จดทะเบียนผู้ติดตามอายุไม่เกิน 15 ปี แต่ในความเป็นจริงมีพ่อแม่แรงงานเหล่านี้ที่สูงอายุจำนวนมากจึงไม่สามารถจดทะเบียนได้
วันนี้ (22 มิ.ย.) นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยถึงการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวว่า ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนในวันที่ 15 มิถุนายน จนถึงขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนแล้ว 1.7 แสนราย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่เป็นระยะๆ อย่างกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงจับกุมแรงงานต่างด้าว ทั้งๆ ที่ช่วงนี้ไปจนถึงวันที่ 14 กรกฎาคม เป็นช่วงผ่อนผัน ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ 22 แห่งทราบในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) แล้ว นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้มีคำสั่งออกมาแล้วด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่มาจดทะเบียนจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3,880 บาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท และค่าตรวจโรค 600 บาท
“ตอนนี้แรงงานต่างด้าวหลายพื้นที่ร้องเรียนมาว่า ยังถูกจับกุมอยู่ ซึ่งดิฉันได้ประสานไปยังผู้อำนวยการเขต เพื่อให้ช่วยแจ้งเรื่องการขึ้นทะเบียนและมาตรการผ่อนปรนให้ตำรวจได้ทราบ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าตำรวจในหลายพื้นที่ยังไม่ทราบข้อมูล จึงยังจับกุมอยู่ ขณะนี้ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างด้าวได้รับรู้ทั่วถึงโดยประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านนี้” นางสุทัศนี กล่าว
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่กองทุนเงินทดแทนที่สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์นำไปฟ้ององค์การแรงงานระหว่างประเทศนั้น จริงๆ แล้วก็พยายามให้การดูแลสุขภาพได้มาตรฐานเดียวกับแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติ แต่ยังมีปัญหาในข้อกฎหมายอยู่ แต่เมื่อแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้พิสูจน์สัญชาติแล้วก็จะได้การดูแลในกองทุนเงินทดแทนเช่นเดียวกับแรงงานทั่วไป ทั้งนี้ ในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้จดทะเบียนผู้ที่ติดตามแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 15 ปีด้วย
นายอานดี้ ฮอลล์ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังกวาดจับแรงงานต่างๆ จำนวนมาก ในขณะที่กำลังเตรียมข้อมูลเอกสารลงทะเบียน โดยหลายพื้นที่มีการเรียกเงินจากแรงงานเหล่านี้ถึงหัวละ 2,000-3,000 บาท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าหลังจากการจดทะเบียนครั้งนี้ เป็นไปได้ยากที่จะมีการเรียกเก็บเงินจากแรงงานข้ามชาติได้อีก จึงได้เร่งเรียกเก็บเงินกันในตอนนี้
นายอานดี้ กล่าวอีกว่า การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ คนงานต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงหัวละ 4,500-8,000 บาทโดยส่วนหนึ่งต้องเสียให้กับนายหน้าที่พาไปขึ้นทะเบียนเพราะนายจ้างไม่ยอมพาไปเนื่องจากไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มและยอมเสียให้กับตำรวจแทน ทำให้ขณะนี้แรงงานข้ามชาติรู้สึกสับสนมาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาผู้ที่ติดตาม ซึ่งระเบียบใหม่ให้จดทะเบียนผู้ติดตามอายุไม่เกิน 15 ปี แต่ในความเป็นจริงมีพ่อแม่แรงงานเหล่านี้ที่สูงอายุจำนวนมากจึงไม่สามารถจดทะเบียนได้