xs
xsm
sm
md
lg

ก.แรงงาน-คลัง จับมือ ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อแรงงานหางานใน ตปท.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ก.แรง งาน-คลังจับมือ ร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ 3 ธนาคาร ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน และธกส. ให้บริการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ วงเงินไม่เกินรายละ 150,000 บ. ดอกเบี้ยต่ำ พร้อมเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับแรงงานไทยในต่างประเทศ ผ่านระบบโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าบริการ
         
วันนี้ (27 เม.ย) ที่กระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน และนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.การคลัง ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องสินเชื่อเพื่อการไปทำงาน ต่างประเทศระหว่างอธิบดีกรมการจัดหางานและผู้แทนธนาคารพาณิชย์ของภาครัฐ 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) โดยนางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้เป็นข้อตกลงในการให้สินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศแก่ คนหางานที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยการจัดส่งของกรมการจัดหางาน หรือโดยการส่งของบริษัทจัดหางาน
         
นางสุทัศนี กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้เนื่องจากความห่วงใยของนายเฉลิมชัย ที่ไม่ต้องการเห็นแรงงานไทยเป็นกังวลจากภาวะหนี้สินในระหว่างที่ทำงานในต่าง ประเทศ
           
          โดยเฉพาะการกู้เงินจากนอกระบบซึ่งทำ ให้ถูกขูดรีดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการให้สินเชื่อแก่คนงานครั้งนี้อยู่ในวงเงินกู้ตามค่าใช้จ่ายจริงไม่ เกินรายละ 1.5 แสนบาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 18 เดือน โดยเสียดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด หรือประมาณร้อยละ 9 ต่อปี ซึ่งคนหางานสามารถกู้เงินได้ตามค่าใช้จ่ายการบริการจัดส่ง และยังสามารถกู้เพิ่มได้อีกร้อยละ 20 ของค่าบริการ ส่วนเงื่อนไขหลักประกันการกู้เงิน
         
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สำหรับผู้กู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ สามารถให้บริษัทจัดหางานที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้การันตีหรือเป็นผู้ค้ำ ประกันเงินกู้ ซึ่งบริษัทจัดหางานที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเรียกเก็บค่าหัวคิวไม่ เกิน  4 เท่าของเงินเดือนที่ได้รับ ส่วนกรณีที่กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง สามารถให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ค้ำประกัน หรือ แรงงานไทยที่ร่วมเดินทางไปทำงานด้วย สำหรับการจัดส่งในโครงการนี้จะต้องตกลงกับนายจ้างและบริษัทจัดหางาน ให้ส่งเงินเดือนของแรงงานกลับมาประเทศไทย ผ่านธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อหักเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้
         
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงนต่าง ประเทศได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการเดิน ทางไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบด้วย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินนโยบายปฏิญญา 3 สิงหา ที่ต้องการดุแลปกป้องคนหางานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศให้ได้รับสิทธิ ประโยชน์และการคุ้มครองตามกฎหมายและให้ได้รับการปฏิบัติจากนายจ้างตาม มาตรฐานสากล ไม่ให้ถูกกเอารัดเอาเปรียบ คนหางานและครอบครัวได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การเรียกเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศของบริษัท จัดหางานจะต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและให้ดำเนินธุรกิจเป็นไปตาม หลักธรรมาภิบาลด้วย

นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงแรงงานได้เปิด”ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับแรงงานไทยในต่าง ประเทศ”เพื่อให้แรงงานที่ตกทุกข์ได้ยากสามารถโทรศัพท์ร้องเรียนผ่านทางหมาย เลข 800 662 662 66 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าบริการ นำร่องใน 20 ประเทศ ประกอบด้วย แคนาดา จีน สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ฮ่องกง ฮังการี อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ โปรตุเกตุ รัสเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวีเดน ไต้หวัน และอังกฤษ เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อเกิดสถานการณ์ภายในประเทศที่แรงงานไทยเดินทางไปทำ งาน อาทิ ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศลิเบีย สถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารของแรงงานไทย แม้ในบางประเทศจะมีสำนักแรงงานในต่างประเทศ (สนร.)

 “การเปิดศูนย์ดังกล่าวถือเป็นการยกระดับการบริการของกระทรวงแรงงาน รวมถึงการบูรณาการงานของหน่วยงานในกระทรวงแรงงานที่ให้บริการแรงงานไทยที่ เดินทางไปทำงานในต่างประเทศไว้ในจุดเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือแรงงานที่ตกทุกข์ได้ยากจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ขึ้น”นายเฉลิมชัย กล่าว
         

นายกรณ์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนงานให้มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว โดยเปิดโอกาสให้คนงานได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้น ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งธนาคารทั้ง 3 แห่ง จะปล่อยเงินกู้ให้กับคนงาน นอกจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้วจะให้รวมไปถึงค่าใช้จ่ายระหว่างที่ยังไม่ มีรายได้จากการทำงาน อีกประมาณร้อยละ 20 ของค่าบริการ
         

นายกรณ์ ยังกล่าวถึงการที่รัฐบาล เสนอให้ปรับค่าจ้างขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ภายใน 2 ปี ว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการด้านภาษี เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการเมื่อขึ้นค่าจ้าง ทั้งนี้มีความชัดเจนว่าจะลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ตามนโยบายของรัฐ จะไม่ทำแบบหว่านไปทุกแห่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น