xs
xsm
sm
md
lg

หนุนใช้ “สมุดบันทึกยา” หวังแก้ปัญหา “ยาตีกัน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วิทยากรที่่ร่วมงานแถลงข่าว
สภาเภสัชฯ เตรียมแจกสมุดบันทึกการใช้ยา 5 หมื่นเล่ม รณรงค์คนไทยใช้ยาอย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหา “ยาตีกัน” หลังพบ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยวัยทองเข้ารักษาใน รพ.เพราะ “อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา-ใช้ยาไม่ถูกต้อง”

วันนี้ (17 มิ.ย.) ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวในการแถลงข่าวรณรงค์สัปดาห์เภสัชกรรม 2554 การเสวนาเรื่อง “ยาตีกัน ภัยเงียบผู้ใช้ยา” ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และกลุ่มคนดังกล่าวจะมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง โดยสถาบันวิจัยสาธารณสุข (สวรส.) ได้มีรายงานเแล้วว่าช่วงปี 2551-2552 จากการศึกษาสุขภาพคนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวนกว่า 9,000 คน มักป่วยเป็นโรค ความดันโลหิตสูงร้อยละ 48 ไขมันในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 26 และเบาหวาน ร้อยละ 16 โดยในส่วนของโรคเบาหวานนั้นพบป่วยแบบไม่รู้ตัว สูงถึงร้อยละ 43.3 และร้อยละ 31.5 รู้ว่าป่วยและได้รับการรักษาแต่ควบคุมไม่ได้ ขณะที่โรคความดันโลหิตสูงไม่รู้ตัวว่าป่วย ร้อยละ 60.5 และรู้ตัวว่าป่วย มีการรักษาแต่ควบคุมไม่ได้ร้อยละ 15.9 นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ติดตามผู้ป่วยสูงอายุจำนวน 331 คน ที่เข้ามารับการรักษา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ตามโรงพยาบาลที่ทำการศึกษาโดย คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่าประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยในเข้ารับการรักษาพยาบาลมีสาเหตุมาจากการใช้ยา โดยร้อยละ 60 มาจากอาการไม่พึงประสงค์จากยา และร้อยละ 40 มาจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง อาทิ การใช่ยาหลายชนิดซ้ำกัน การกินยาคู่กับอาหารเสริมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ดังนั้นแนวความคิดในการรณรงค์เรื่องการใช้ยาในสัปดาห์เภสัชกรรมที่จจะจัดขึ้นในวันที่ 26 มิ.ย.-2 ก.ค.นี้ ทางสภาเภสัชฯ และภาคีเครือข่าย จึงได้มีการจัดพิมพฺ์สมุดบันทึกยา ล็อตแรกจำนวน 5 หมื่นเล่ม เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับบริหการตามโรงพยาบาล และร้านยาคุณภาพ โดยผู้ป่วยสามารถจะบันทึกข้อมูลการใช้ยาด้วยตนเองหรือจะให้แพทย์ เภสัชกร เป็นผู้บันทึกก็ได้ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการรับการรักษาครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการติดตามรักษาของแพทย์เป็นไปอย่างเหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ในสัปดาห์

ด้าน ภก.จตุพร ทองอิ่ม เภสัชกรประจำศูนย์บริการสาธารณสุข 51 วัดไผ่ตัน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังมานานกว่า 10 ปี พบปัญหาในการใช้ยาหลายกรณีที่ใช้แบบไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดการตีกันของยา ซึ่งผลที่เกิดขึ้นที่เห็นได้ชัด คือ การลดประสิทธิภาพของยารักษาโรค และก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ หลายอย่าง อาทิ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทานยาลดความดันร่วมกับยาปฏิชีวนะบางชนิด จะส่งผลให้ระดับยาในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเดิม ผู้ป่วยก็จะได้รับอันตราย หรือกรณีผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดจากแพทย์ต้องระมัดระวังในการซื้อยา หรืออาหารเสริมมารับประทานร่วมด้วย เพราะอาจเกิดปฏิกิริยากัน ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า การใช้ยาฆ่าเชื้อร่วมกัยยาลดกรด หรือ แคลเซียม เหล็ก วิตามินบางชนิด ผลที่เกิดขึ้นชัดเจน คือ การตีกันของยาเหล่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษาอาการเดิมอาจลดลงจาก 100% เหลือแค่ 50% เช่น กรณีผู้ป่วยกรดไหลย้อนนั้น หากรับประทานยาแคลเซียม ร่วมกับยาลดกรด อาการจะไม่ดีขึ้นเลย เพราะแคลเซียมนั้นจำเป็นต้องใช้กรดในการละลายยา ขณะที่สถานการณ์การใช้ยากดประสาท อย่าง ยานอนหลับหลายยี่ห้อในผู้สูงอายุนั้น หลายคนอาจมีการกินมากกว่า 2 ชนิด ก็จะส่งผลให้ยาออกฤทธิ์กดประสาทมากกว่าเดิม แม้ในขณะที่ไม่ต้องการหลับก็จะเกิดอาการง่วงซึมตลอดเวลา อาจเกิดอันตรายหกล้ม ส่งผลต่อข้อเข่า และกระดูกได้

" ในส่วนของผู้ที่ชอบทานอาหารเสริม ร่วมกับการใช้ยาแอสไพรินก็อันตรายเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การกินน้ำมันปลา ใบแปะก๊วย น้ำมันกระเทียม ร่วมกับยาแก้ปวดจะส่งผลให้ยาและอาหารเสริมดังกล่าวตีกัน ผลเสียคือ ทำลายระบบไหลเวียนของเลือด เสี่ยงของ
ภาวะเลือดออกง่าย อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรมีการเว้นช่วงเวลาของการบริโภคยาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เช่น ทานอาหารเสริมตอนเช้า และทานยากรักษาโรคตอนเย็น หรือเว้นช่วงอย่าสงน้อย 2 ชั่วโมง โดยหากไม่ทราบข้อมูลก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนตัดสินใจซื้อยามารับประทาน” ภก.จตุพร กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น