แพทย์เตือน “ครอบครัวดิจิตอล” ส่งผลให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง เสนอตั้ง “ศูนย์วิจัยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ” ป้องกันปัญหาสุขภาพ เตรียมรับมือสังคมวัยทอง
นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง “สุขภาพผู้สูงอายุ : ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม” ภายในงานจากการประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์ 3 สถาบัน พ.ศ.2554 : จุฬาฯ-รามา-ศิริราช ที่ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า ในปี 2553 กลุ่มอายุที่มากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 25-29 ปี และเมื่อถึงปี 2593 กลุ่มอายุที่มากที่สุดจะอยู่ที่ 75 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มวัยทำงานจะมีสัดส่วนที่ลดลงเรื่อยๆ และสิ่งที่ส่งผลชัดเจน คือ ในเร็วๆ นี้ ทราบมาว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะมีการปิดโรงเรียนระดับประถมศึกษาถึงประมาณ 4,000 แห่ง ทั้งนี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากอัตราการเกิดใหม่ของคนไทยมีน้อยลงจากเดิมเมื่อประมาณปี 2515 มีอัตราการเกิดอยู่ที่ปีละกว่า 1 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีอัตราการเกิดอยู่ที่ปีละประมาณ 8แสนคนเท่านั้น
นพ.เกษม กล่าวต่อว่า จากเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ(UN) ระบุว่า ประเทศใดที่มีประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 เป็นสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมคนแก่ หากเกินร้อยละ 20 จะเป็นสังคมคนแก่ ซึ่งจากข้อมูลของหนังสือโครงสร้างประชากรเมื่อปี 2550 ระบุว่า เมื่อปี 2543 ไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.43 ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า อีกราว 14 ปีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 19.99 ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยจะเป็นสังคมคนแก่ในปี 2568 ดังนั้น ควรมีการเตรียมตัวรองรับภาวะสังคมผู้สูงอายุ ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับชีวิตผู้สูงอายุ สุขภาวะผู้สูงอายุ และควรจัดตั้งศูนย์วิจัยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุด้วย ขณะเดียวกันสถานการณ์ขณะนี้ คือ สภาพครอบครัวดิจิตอล ไม่มีคนในครอบครัวสนใจผู้สูงอายุ สนใจสังคมอิเล็กทรอนิกส์ มีผลทำให้เกิดความห่างเหินกันในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วง
นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง “สุขภาพผู้สูงอายุ : ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม” ภายในงานจากการประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์ 3 สถาบัน พ.ศ.2554 : จุฬาฯ-รามา-ศิริราช ที่ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า ในปี 2553 กลุ่มอายุที่มากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 25-29 ปี และเมื่อถึงปี 2593 กลุ่มอายุที่มากที่สุดจะอยู่ที่ 75 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มวัยทำงานจะมีสัดส่วนที่ลดลงเรื่อยๆ และสิ่งที่ส่งผลชัดเจน คือ ในเร็วๆ นี้ ทราบมาว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะมีการปิดโรงเรียนระดับประถมศึกษาถึงประมาณ 4,000 แห่ง ทั้งนี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากอัตราการเกิดใหม่ของคนไทยมีน้อยลงจากเดิมเมื่อประมาณปี 2515 มีอัตราการเกิดอยู่ที่ปีละกว่า 1 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีอัตราการเกิดอยู่ที่ปีละประมาณ 8แสนคนเท่านั้น
นพ.เกษม กล่าวต่อว่า จากเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ(UN) ระบุว่า ประเทศใดที่มีประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 เป็นสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมคนแก่ หากเกินร้อยละ 20 จะเป็นสังคมคนแก่ ซึ่งจากข้อมูลของหนังสือโครงสร้างประชากรเมื่อปี 2550 ระบุว่า เมื่อปี 2543 ไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.43 ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า อีกราว 14 ปีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 19.99 ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยจะเป็นสังคมคนแก่ในปี 2568 ดังนั้น ควรมีการเตรียมตัวรองรับภาวะสังคมผู้สูงอายุ ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับชีวิตผู้สูงอายุ สุขภาวะผู้สูงอายุ และควรจัดตั้งศูนย์วิจัยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุด้วย ขณะเดียวกันสถานการณ์ขณะนี้ คือ สภาพครอบครัวดิจิตอล ไม่มีคนในครอบครัวสนใจผู้สูงอายุ สนใจสังคมอิเล็กทรอนิกส์ มีผลทำให้เกิดความห่างเหินกันในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วง