ASTVผู้จัดการรายวัน-รัฐส่งซิกเพิ่มทักษะแรงงานรองรับ AEC ปี 2558 คาดอีก 5 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมต้องการแรงงานไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน เป็นแรงงานสายวิชาชีพถึง 90%
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลต่อการผลิตกำลังคนโดยมุ่งเน้นสมรรถนะและทักษะ” ในงานประชุมสัมมนาความต้องการกำลังคนภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการกับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)ว่า ในปี 2558 ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยในอนาคตจะมีการโยกย้ายฐานการผลิตมากขึ้น และการย้ายฐานก็จะคำนึงถึงปัจจัยด้านแรงงานประกอบด้วย ซึ่งไทยจะต้องมีการปรับตัวในด้านแรงงานด้วยการเพิ่มทักษะรองรับ โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มแรงงานด้านอาชีวะเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% ของแรงงานในระบบ
นอกจากนี้ ผลจากการที่โลกเกิดวิกฤตทางด้านอาหารและพลังงาน ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงงานภาคอุตสาหกรรม โดยแรงงานส่วนหนึ่งได้ไหลกลับไปยังภาคการเกษตร และสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้วัยแรงงานเริ่มอยู่ระดับทรงตัวและจะลดลงตามลำดับในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จึงต้องมีการวางแผนรับมือ
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อีก 5 ปีข้างหน้า เฉพาะภาคอุตสาหกรรมใน 7 สาขา เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลการเกษตร จะต้องการแรงงานไม่น้อย 2.5-3 แสนคน และประมาณ 90% ที่ต้องการจะเป็นแรงงานที่จบสายอาชีพ ส่วนปริญญาตรีมีเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งภาครัฐต้องวางแผนการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 5-6 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานที่มีคุณภาพหลายแสนคน โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่การเป็น AEC ตลาดแรงงานจะมีความหลากหลายและต้องมีการแข่งขันที่รุนแรง จึงเป็นความท้าทายที่ไทยจะต้องรักษาระดับการจ้างงานที่จะต้องดูแลทั้งแรงงานนอกระบบและในระบบให้สมดุล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลต่อการผลิตกำลังคนโดยมุ่งเน้นสมรรถนะและทักษะ” ในงานประชุมสัมมนาความต้องการกำลังคนภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการกับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)ว่า ในปี 2558 ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยในอนาคตจะมีการโยกย้ายฐานการผลิตมากขึ้น และการย้ายฐานก็จะคำนึงถึงปัจจัยด้านแรงงานประกอบด้วย ซึ่งไทยจะต้องมีการปรับตัวในด้านแรงงานด้วยการเพิ่มทักษะรองรับ โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มแรงงานด้านอาชีวะเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% ของแรงงานในระบบ
นอกจากนี้ ผลจากการที่โลกเกิดวิกฤตทางด้านอาหารและพลังงาน ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงงานภาคอุตสาหกรรม โดยแรงงานส่วนหนึ่งได้ไหลกลับไปยังภาคการเกษตร และสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้วัยแรงงานเริ่มอยู่ระดับทรงตัวและจะลดลงตามลำดับในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จึงต้องมีการวางแผนรับมือ
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อีก 5 ปีข้างหน้า เฉพาะภาคอุตสาหกรรมใน 7 สาขา เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลการเกษตร จะต้องการแรงงานไม่น้อย 2.5-3 แสนคน และประมาณ 90% ที่ต้องการจะเป็นแรงงานที่จบสายอาชีพ ส่วนปริญญาตรีมีเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งภาครัฐต้องวางแผนการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 5-6 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานที่มีคุณภาพหลายแสนคน โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่การเป็น AEC ตลาดแรงงานจะมีความหลากหลายและต้องมีการแข่งขันที่รุนแรง จึงเป็นความท้าทายที่ไทยจะต้องรักษาระดับการจ้างงานที่จะต้องดูแลทั้งแรงงานนอกระบบและในระบบให้สมดุล