สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ศึกษาสภาพแวดล้อม รอบโรงชำแหละไก่ หวั่นก่อมลพิษ
นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯ กรณีพบโรงชำแหละไก่ที่นำซากไก่มาชุบฟอร์มาลิน และจำหน่ายแก่ผู้บริโภคว่า ที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่า เรื่องโรคที่เกิดจากสารเคมีซึ่งใช้ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งทางสำนักฯได้รวบรวมไว้จะมีแต่กรณีการได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าแมลง ซึ่งมีผู้ป่วยราว 1,000-2,000 ราย แต่สำหรับผู้ที่ทำงานในโรงชำแหละเนื้อ ไก่ หมู นั้น ยังไม่เคยมีรายงานจำนวนแบบชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู้ป่วยเลย เพียงแต่อาจจะผ่านการสัมผัสสารอันตรายในแบบเฉียบพลัน เช่น สัมผัสสารฟอร์มาลินมากที่สุดนั้น จะรู้สึก แสบ คัน ผิวหนัง หรือจมูก ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ และใช้เวลาไม่นานก็หาย ซึ่งประชาชนสามารถใช้บริกาสถานพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่เมื่อเกิดกรณีอย่างนี้ ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกพอสมควร ดังนั้นทางสำนักฯก็จะจัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเรื่องสภาพแวดล้อมรอบๆ โรงชำแหละ เกี่ยวกับผลกระทบที่จากฟอร์มาลีน หรือน้ำเสียจากการล้างเนื้อไก่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อชุมชน อาทิ ดูว่าโรงชำแหละเองได้นำของเสียปล่อยลงแม่น้ำ ซึ่งใช้สำหรับการอุปโภคแบบสาธารณของชุมชนใกล้เคียงหรือไม่ พร้อมทั้งศึกษากลุ่เสี่ยงในภาคเกษตรกรรมการชำแหละเนื้อสัตว์
“เนื่องจากโรคจากสารต่างๆที่ใช้ในภาคเกษตรนั้น อาจจะพบน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น กรณีนี้จะเป็นโอกาสและจังหวะในการศึกษามลพิษในสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะอันตรายจากสารผสมอาหารก็ถือเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่สามารถสะสมในระยะยาวแล้วแสดงผลกระทบช้า อย่างไรก็ตาม จะพบสารพิษหรือไม่สำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯก็ต้องใช้มาตรการเรื่องนี้โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพแวดล้อมรอบๆ โรงชำแหละก่อน และจะรายงานผลเพื่อเก็บไว้ศึกษา หากพบผู้ป่วยที่มีพิษสะสมจากสารผสมอาหาร” นพ.สมเกียรติ กล่าว
นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯ กรณีพบโรงชำแหละไก่ที่นำซากไก่มาชุบฟอร์มาลิน และจำหน่ายแก่ผู้บริโภคว่า ที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่า เรื่องโรคที่เกิดจากสารเคมีซึ่งใช้ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งทางสำนักฯได้รวบรวมไว้จะมีแต่กรณีการได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าแมลง ซึ่งมีผู้ป่วยราว 1,000-2,000 ราย แต่สำหรับผู้ที่ทำงานในโรงชำแหละเนื้อ ไก่ หมู นั้น ยังไม่เคยมีรายงานจำนวนแบบชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู้ป่วยเลย เพียงแต่อาจจะผ่านการสัมผัสสารอันตรายในแบบเฉียบพลัน เช่น สัมผัสสารฟอร์มาลินมากที่สุดนั้น จะรู้สึก แสบ คัน ผิวหนัง หรือจมูก ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ และใช้เวลาไม่นานก็หาย ซึ่งประชาชนสามารถใช้บริกาสถานพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่เมื่อเกิดกรณีอย่างนี้ ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกพอสมควร ดังนั้นทางสำนักฯก็จะจัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเรื่องสภาพแวดล้อมรอบๆ โรงชำแหละ เกี่ยวกับผลกระทบที่จากฟอร์มาลีน หรือน้ำเสียจากการล้างเนื้อไก่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อชุมชน อาทิ ดูว่าโรงชำแหละเองได้นำของเสียปล่อยลงแม่น้ำ ซึ่งใช้สำหรับการอุปโภคแบบสาธารณของชุมชนใกล้เคียงหรือไม่ พร้อมทั้งศึกษากลุ่เสี่ยงในภาคเกษตรกรรมการชำแหละเนื้อสัตว์
“เนื่องจากโรคจากสารต่างๆที่ใช้ในภาคเกษตรนั้น อาจจะพบน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น กรณีนี้จะเป็นโอกาสและจังหวะในการศึกษามลพิษในสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะอันตรายจากสารผสมอาหารก็ถือเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่สามารถสะสมในระยะยาวแล้วแสดงผลกระทบช้า อย่างไรก็ตาม จะพบสารพิษหรือไม่สำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯก็ต้องใช้มาตรการเรื่องนี้โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพแวดล้อมรอบๆ โรงชำแหละก่อน และจะรายงานผลเพื่อเก็บไว้ศึกษา หากพบผู้ป่วยที่มีพิษสะสมจากสารผสมอาหาร” นพ.สมเกียรติ กล่าว