ปัญหา 4 สถาบันไม่ผ่านการรับรองจากสัตวแพทยสภายังไม่หมด ติดขัดทั้งปัญหาอาจารย์ และเครื่องมือที่ครบตามเกณฑ์
นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวถึงผลการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย มทร.ตะวันออก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากหลักสูตรสัตวแพทย์ไม่ผ่านการรับรองจากสัตวแพทยสภา ว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อขอให้สัตวแพทยสภารับรองหลักสูตร เท่าที่ทราบผลการดำเนินงานเป็นไปค่อนข้างดี แต่ยังติดปัญหาเรื่องของอาจารย์ประจำหลักสูตร และเครื่องมือที่ยังไม่ครบตามเกณฑ์ที่ทางสัตวแพทยสภากำหนด ตนจึงแนะนำให้มหาวิทยาลัยกลับไปเตรียมความพร้อมและให้สัตวแพทยสภาเข้าไปตรวจอีกครั้ง ซึ่งเร็วๆ นี้ ตนจะนัดทั้งสองฝ่ายมาหารือร่วมกันอีกรอบ
ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ได้เปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2554 ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนักศึกษาที่เข้าเรียนก็อาจจะมีปัญหาดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงขอให้มหาวิทยาลัยแจ้งให้นักศึกษาที่เข้าเรียนใหม่ได้รับทราบว่า เรียนไปอาจจะไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพ ส่วนปัญหาอีกข้อหนึ่งคือสิทธิกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หากหลักสูตรไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ ส่วนนักศึกษาเดิมเข้าใจว่าจะไม่มีปัญหา
“ปัญหาหลักสูตรและสถาบันที่ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพเป็นเรื่องที่แก้ยาก เพราะสภาวิชาชีพมีอำนาจรับรองหลักสูตรและสถาบันโดยที่ สกอ.ไม่มีสิทธิ์ไปควบคุม แต่การดำเนินการที่ตรงกันก็คือเรื่องคุณภาพ สกอ.อยากให้มองที่นักศึกษาเป็นหลักว่านักศึกษาที่มีคุณภาพควรจะมีโอกาสได้สอบเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่หากประเมินที่ละสถาบันจะเป็นปัญหากับสถาบันที่เปิดใหม่แต่ยังไม่มีความพร้อมในระยะสั้น ซึ่งบางสาขา เช่น แพทยสภาใช้วิธีสอบรวมกันหมด ซึ่งส่วนตัวคิดว่าสภาวิชาชีพควรจะจัดระบบให้สามารถดำเนินการได้สำหรับสถาบันที่เปิดใหม่ด้วย” นพ.กำจร กล่าว
นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวถึงผลการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย มทร.ตะวันออก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากหลักสูตรสัตวแพทย์ไม่ผ่านการรับรองจากสัตวแพทยสภา ว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อขอให้สัตวแพทยสภารับรองหลักสูตร เท่าที่ทราบผลการดำเนินงานเป็นไปค่อนข้างดี แต่ยังติดปัญหาเรื่องของอาจารย์ประจำหลักสูตร และเครื่องมือที่ยังไม่ครบตามเกณฑ์ที่ทางสัตวแพทยสภากำหนด ตนจึงแนะนำให้มหาวิทยาลัยกลับไปเตรียมความพร้อมและให้สัตวแพทยสภาเข้าไปตรวจอีกครั้ง ซึ่งเร็วๆ นี้ ตนจะนัดทั้งสองฝ่ายมาหารือร่วมกันอีกรอบ
ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ได้เปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2554 ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนักศึกษาที่เข้าเรียนก็อาจจะมีปัญหาดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงขอให้มหาวิทยาลัยแจ้งให้นักศึกษาที่เข้าเรียนใหม่ได้รับทราบว่า เรียนไปอาจจะไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพ ส่วนปัญหาอีกข้อหนึ่งคือสิทธิกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หากหลักสูตรไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ ส่วนนักศึกษาเดิมเข้าใจว่าจะไม่มีปัญหา
“ปัญหาหลักสูตรและสถาบันที่ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพเป็นเรื่องที่แก้ยาก เพราะสภาวิชาชีพมีอำนาจรับรองหลักสูตรและสถาบันโดยที่ สกอ.ไม่มีสิทธิ์ไปควบคุม แต่การดำเนินการที่ตรงกันก็คือเรื่องคุณภาพ สกอ.อยากให้มองที่นักศึกษาเป็นหลักว่านักศึกษาที่มีคุณภาพควรจะมีโอกาสได้สอบเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่หากประเมินที่ละสถาบันจะเป็นปัญหากับสถาบันที่เปิดใหม่แต่ยังไม่มีความพร้อมในระยะสั้น ซึ่งบางสาขา เช่น แพทยสภาใช้วิธีสอบรวมกันหมด ซึ่งส่วนตัวคิดว่าสภาวิชาชีพควรจะจัดระบบให้สามารถดำเนินการได้สำหรับสถาบันที่เปิดใหม่ด้วย” นพ.กำจร กล่าว