“จุรินทร์” เผย ผลตรวจอโวคาโดที่นำเข้าจากยุโรป เบื้องต้นพบเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการตรวจอีก 3-5 วัน จึงจะทราบผล ย้ำ การพบเชื้ออี.โคไล ปนเปื้อนในผักผลไม้ เป็นเรื่องปกติทั่วไป ประชาชนไทยไม่ต้องวิตกกังวล ยังรับประทานผักผลไม้ได้ตามปกติ แต่ก่อนรับประทาน ต้องล้างน้ำให้สะอาดก่อน อย.เผยเดินหน้าสุ่มตรวจผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์
วันนี้ (9 มิ.ย.)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการตรวจเชื้อแบคทีเรียอี.โคไลชนิดรุนแรง โอ 104 (Enterohaemorrhagic E.coli O104) จากตัวอย่างผัก ผลไม้นำเข้าจากยุโรป ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า หลังจากที่ด่านอาหารและยา ประจำท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้สุ่มเก็บอโวคาโด จำนวน 2 กิโลกรัม ส่งตรวจเพาะเชื้อที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ขณะนี้ทราบผลการตรวจในเบื้องต้น พบเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบว่า เป็นเชื้ออี.โคไลชนิดใด ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ จะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์อีกประมาณ 3-5 วัน จึงจะทราบผล ส่วนกะหล่ำปลีปมจะทราบผลตรวจเบื้องต้นในเช้าวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.)
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า การตรวจพบเชื้ออี.โคไล ในอโวคาโดครั้งนี้ จัดเป็นเรื่องปกติ ประชาชนไทยไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากโดยทั่วไป เชื้ออี.โคไล มีหลายชนิด และเป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์การเกษตร ผัก ผลไม้ ไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชน ยังสามารถรับประทานผัก ผลไม้ ต่อไปได้ตามปกติ โดยก่อนที่จะนำมารับประทาน ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลายๆ ครั้ง โดยให้คลี่ใบถูให้สะอาดในกรณีที่เป็นผักที่มีกาบใบห่อ ซึ่งวิธีการล้าง อาจล้างด้วยการเปิดน้ำไหลจากก๊อกแรงพอประมาณ ให้ไหลผ่านผักสด ผลไม้นานอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างควบคู่ด้วย เช่น น้ำส้มสายชู, เกลือ เป็นต้น หรือลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักสดหรือผลไม้ทิ้งไป เพื่อลดสิ่งปนเปื้อน
ส่วนการรับประทานผักโดยปรุงผ่านความร้อน รวมทั้งผักลวก จะปลอดภัย เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจะตายเมื่อถูกความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ด้านนพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารนำเข้าจากสหภาพยุโรป (อียู) ว่า เบื้องต้นมีการนำโคโรนีที่เกิดจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียในส่วนของกะหล่ำปลี และอโวคาโด ล็อตแรกส่งให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจทางห้องปฏิบัติการชั้นสูงเพื่อหาการปนเปื้อนของเชื้ออี.โคไล โอ 104 โดยจะทราบผลยืนยันที่แน่ชัดในวันจันทร์ที่ 13 มิ.ย. อย่างไรก็ตาม การสุ่มตรวจอาหารในขณะนี้ อย.จะดำเนินการใน 3 กลุ่ม คือ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ โดยเนื้อสัตว์ก็จะเป็นอาหารประเภทหนังหมูจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ซึ่งนานๆ จะนำเข้ามาครั้ง ไม่ได้บ่อยนัก ส่วนกรณีการปนเปื้อนของเชื้ออี.โคไล โอ 104 ในนมนั้นคิดว่า ไม่น่าห่วง เพราะไทยนำเข้านมผงซึ่งผ่านความร้อนมาอย่างดี ไม่ใช่นมสด
วันนี้ (9 มิ.ย.)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการตรวจเชื้อแบคทีเรียอี.โคไลชนิดรุนแรง โอ 104 (Enterohaemorrhagic E.coli O104) จากตัวอย่างผัก ผลไม้นำเข้าจากยุโรป ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า หลังจากที่ด่านอาหารและยา ประจำท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้สุ่มเก็บอโวคาโด จำนวน 2 กิโลกรัม ส่งตรวจเพาะเชื้อที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ขณะนี้ทราบผลการตรวจในเบื้องต้น พบเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบว่า เป็นเชื้ออี.โคไลชนิดใด ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ จะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์อีกประมาณ 3-5 วัน จึงจะทราบผล ส่วนกะหล่ำปลีปมจะทราบผลตรวจเบื้องต้นในเช้าวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.)
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า การตรวจพบเชื้ออี.โคไล ในอโวคาโดครั้งนี้ จัดเป็นเรื่องปกติ ประชาชนไทยไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากโดยทั่วไป เชื้ออี.โคไล มีหลายชนิด และเป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์การเกษตร ผัก ผลไม้ ไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชน ยังสามารถรับประทานผัก ผลไม้ ต่อไปได้ตามปกติ โดยก่อนที่จะนำมารับประทาน ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลายๆ ครั้ง โดยให้คลี่ใบถูให้สะอาดในกรณีที่เป็นผักที่มีกาบใบห่อ ซึ่งวิธีการล้าง อาจล้างด้วยการเปิดน้ำไหลจากก๊อกแรงพอประมาณ ให้ไหลผ่านผักสด ผลไม้นานอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างควบคู่ด้วย เช่น น้ำส้มสายชู, เกลือ เป็นต้น หรือลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักสดหรือผลไม้ทิ้งไป เพื่อลดสิ่งปนเปื้อน
ส่วนการรับประทานผักโดยปรุงผ่านความร้อน รวมทั้งผักลวก จะปลอดภัย เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจะตายเมื่อถูกความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ด้านนพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารนำเข้าจากสหภาพยุโรป (อียู) ว่า เบื้องต้นมีการนำโคโรนีที่เกิดจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียในส่วนของกะหล่ำปลี และอโวคาโด ล็อตแรกส่งให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจทางห้องปฏิบัติการชั้นสูงเพื่อหาการปนเปื้อนของเชื้ออี.โคไล โอ 104 โดยจะทราบผลยืนยันที่แน่ชัดในวันจันทร์ที่ 13 มิ.ย. อย่างไรก็ตาม การสุ่มตรวจอาหารในขณะนี้ อย.จะดำเนินการใน 3 กลุ่ม คือ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ โดยเนื้อสัตว์ก็จะเป็นอาหารประเภทหนังหมูจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ซึ่งนานๆ จะนำเข้ามาครั้ง ไม่ได้บ่อยนัก ส่วนกรณีการปนเปื้อนของเชื้ออี.โคไล โอ 104 ในนมนั้นคิดว่า ไม่น่าห่วง เพราะไทยนำเข้านมผงซึ่งผ่านความร้อนมาอย่างดี ไม่ใช่นมสด