สมาคมผู้สูงอายุ เตือนพรรคการเมืองอย่าเมินเสียงคนแก่ ชี้ เป็น 1 ใน 5 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หลังตามดูนโยบายหาเสียงยังขาดความชัดเจน พร้อมเสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลผู้สูงอายุเฉพาะ นำงบจากการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขายลอตเตอรี่ บริหาร
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า ขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงการเข้าสู่การหาเสียงเลือกตั้ง เห็นว่า ทางพรรคการเมืองควรมีการนำเสนอประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้อกับผู้สูงอายุให้ชัดเจน แม้ว่าในภาพรวมจะมีหลายพรรคการเมืองที่นำนโยบายด้านนี้อยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น โดยคิดว่านโยบายด้านผู้สูงอายุที่นำเสนอควรครอบคลุมในประเด็นเหล่านี้ ทั้งการพัฒนาผู้สูงอายุในด้านอาชีพ และกิจกรรมต่างๆ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรและเป็นประโยชน์ต่อดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในบ้านและที่สาธารณะ การสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม และต้องมีนโยบายด้านการประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีข้อจำกัดในการหารายได้ จึงควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องนี้
นอกจากนี้ ควรมีนโยบายการจัดตั้งกองทุนเพื่อสวัสดิการโดยรวมเพื่อนำมาใช้ในการ จัดสวัสดิการบริการสังคม ครอบคลุมในทั้งเด็ก สตรี ผู้พิการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น จัดทำสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดพิเศษเพื่อจำหน่ายในการหารายได้เข้ากองทุนเป็นการเฉพาะ ซึ่งให้ได้จำนวนเงินประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อนำมาพัฒนาสวัสดิการเหล่านี้ โดยกองทุนนี้จะบริหารโดยรูปแบบคณะกรรมการ ที่ให้เอกชนเป็นผู้บริหาร โดยนโยบายนี้คาดว่าจะนำเสนอในรัฐบาลหน้านี้
ด้าน ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล กรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าจะมีพรรคการเมืองบางพรรคได้นำเสนอนโยบายหาเสียงด้านผู้สูงอายุ แต่คิดว่ายังไม่ชันเจน เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายอื่นๆ เช่น นโยบายบายแรงงานที่การเพิ่มค่าแรง เป็นต้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะพรรคการเมืองเหล่านี้ยังไม่เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ เท่าที่ควร ทั้งที่ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนถึงร้อยละ 15 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเกือบ 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีเสียงลงคะแนนทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่สนใจการเมืองอย่างมาก ดังนั้น พรรคการเมืองจึงไม่ควรมองข้ามกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีน้ำหนักในการช่วยเรียกคะแนนเสียง เพราะต่างมีลูกหลานที่คอยดูแลและได้รับประโยชน์จากนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุ
ศ.นพ.สุทธิชัย กล่าวต่อว่า การนำเสนอนโยบายผู้สูงอายุของพรรคการเมือง ควรมีความชัดเจน และเป็นรูปธรรม เน้นใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 2.ส่งเสริมและพัฒนาหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุ โดยเปลี่ยนจากเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญที่ผู้สูงอายุทุกคนต้องได้เท่าเทียม 3.ส่งเสริมช่องทางและโอกาสในการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และ 4.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนที่มีบางพรรคการเมืองเสนอนโยบายการตั้งสถานบริบาลสำหรับผู้สูงอายุ หรือ เนอร์ซิ่งโฮม นั้น เรื่องนี้ตนไม่เห็นด้วย และเป็นนโยบาลที่ผิดทิศทาง เพราะแนวทางที่ถูกต้อง คือ ต้องให้ผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน และให้คนในครอบครัวช่วยกันดูแล ยกเว้นผู้สูงอายุที่ไม่มีครอบครัว
ศ.นพ.สุทธิชัย กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรเพิ่มการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 7% เป็น 10% โดยนำ 3% ที่จัดเก็บเพิ่มนั้นมาเป็นงบประมาณในการดูแลสวัสดิการสังคม โดย 1% จะนำมาใช้สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และ 2% ที่เหลือนั้น นำมาเป็นงบประมาณรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งการกำหนดเช่นนี้จะทำให้เรามีงบประมาณที่แน่นอนในการนำมาใช้ และยังถือเป็นการร่วมจ่าย เนื่องจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการเก็บภาษีจากประชาชนทุกคน
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า ขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงการเข้าสู่การหาเสียงเลือกตั้ง เห็นว่า ทางพรรคการเมืองควรมีการนำเสนอประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้อกับผู้สูงอายุให้ชัดเจน แม้ว่าในภาพรวมจะมีหลายพรรคการเมืองที่นำนโยบายด้านนี้อยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น โดยคิดว่านโยบายด้านผู้สูงอายุที่นำเสนอควรครอบคลุมในประเด็นเหล่านี้ ทั้งการพัฒนาผู้สูงอายุในด้านอาชีพ และกิจกรรมต่างๆ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรและเป็นประโยชน์ต่อดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในบ้านและที่สาธารณะ การสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม และต้องมีนโยบายด้านการประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีข้อจำกัดในการหารายได้ จึงควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องนี้
นอกจากนี้ ควรมีนโยบายการจัดตั้งกองทุนเพื่อสวัสดิการโดยรวมเพื่อนำมาใช้ในการ จัดสวัสดิการบริการสังคม ครอบคลุมในทั้งเด็ก สตรี ผู้พิการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น จัดทำสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดพิเศษเพื่อจำหน่ายในการหารายได้เข้ากองทุนเป็นการเฉพาะ ซึ่งให้ได้จำนวนเงินประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อนำมาพัฒนาสวัสดิการเหล่านี้ โดยกองทุนนี้จะบริหารโดยรูปแบบคณะกรรมการ ที่ให้เอกชนเป็นผู้บริหาร โดยนโยบายนี้คาดว่าจะนำเสนอในรัฐบาลหน้านี้
ด้าน ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล กรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าจะมีพรรคการเมืองบางพรรคได้นำเสนอนโยบายหาเสียงด้านผู้สูงอายุ แต่คิดว่ายังไม่ชันเจน เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายอื่นๆ เช่น นโยบายบายแรงงานที่การเพิ่มค่าแรง เป็นต้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะพรรคการเมืองเหล่านี้ยังไม่เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ เท่าที่ควร ทั้งที่ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนถึงร้อยละ 15 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเกือบ 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีเสียงลงคะแนนทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่สนใจการเมืองอย่างมาก ดังนั้น พรรคการเมืองจึงไม่ควรมองข้ามกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีน้ำหนักในการช่วยเรียกคะแนนเสียง เพราะต่างมีลูกหลานที่คอยดูแลและได้รับประโยชน์จากนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุ
ศ.นพ.สุทธิชัย กล่าวต่อว่า การนำเสนอนโยบายผู้สูงอายุของพรรคการเมือง ควรมีความชัดเจน และเป็นรูปธรรม เน้นใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 2.ส่งเสริมและพัฒนาหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุ โดยเปลี่ยนจากเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญที่ผู้สูงอายุทุกคนต้องได้เท่าเทียม 3.ส่งเสริมช่องทางและโอกาสในการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และ 4.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนที่มีบางพรรคการเมืองเสนอนโยบายการตั้งสถานบริบาลสำหรับผู้สูงอายุ หรือ เนอร์ซิ่งโฮม นั้น เรื่องนี้ตนไม่เห็นด้วย และเป็นนโยบาลที่ผิดทิศทาง เพราะแนวทางที่ถูกต้อง คือ ต้องให้ผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน และให้คนในครอบครัวช่วยกันดูแล ยกเว้นผู้สูงอายุที่ไม่มีครอบครัว
ศ.นพ.สุทธิชัย กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรเพิ่มการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 7% เป็น 10% โดยนำ 3% ที่จัดเก็บเพิ่มนั้นมาเป็นงบประมาณในการดูแลสวัสดิการสังคม โดย 1% จะนำมาใช้สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และ 2% ที่เหลือนั้น นำมาเป็นงบประมาณรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งการกำหนดเช่นนี้จะทำให้เรามีงบประมาณที่แน่นอนในการนำมาใช้ และยังถือเป็นการร่วมจ่าย เนื่องจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการเก็บภาษีจากประชาชนทุกคน