สพฉ.จับมือ กทม.ลงนามข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เชื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วันนี้ (2 มิ.ย.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมี นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแหงชาติ (สพฉ.) และ นพ.สราวุฒิ สนธิแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครร่วมลงนาม
นพ.ชาตรี กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงครั้งนี้ สพฉ.และ กรุงเทพมหานคร จะร่วมกันดำเนินงานและบริหารจัดการระบบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พิเศษ โดยให้ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ประสานการดำเนินการกับ สพฉ.โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีหน่วยปฏิบัติที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ มีการตรวจสอบบุคลากร หน่วยปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน
“การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ นอกจากจะพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั่วไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังมีการร่วมกันพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุและสั่งการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้พบเหตุฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถโทร.แจ้งได้ที่สายด่วน 1646 หรือ สายด่วน 1669 จะมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น เชื่อว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินต่อไป” นพ.ชาตรี กล่าว
ด้าน นพ.สราวุฒิ กล่าวว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร มีการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน คือแบ่งโซนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินออกเป็น 9 โซน มีโรงพยาบาลที่เป็นแม่โซนเป็นเครือข่ายดำเนินการ คือ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลตำรวจ นอกจากนี้มีชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลทั้ง 44 แห่ง และมีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (BLS) ซึ่งจะพร้อมให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
“การลงนามบันทึกความตกลงดังกล่าว ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก โดยจะมีการวางแผนพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกันต่อไป และนำไปสู่การบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ครอบคลุม ให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้รับบริการแพทย์ฉุกเฉินที่ดีขึ้น นอกจากนี้หวังว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะเป็นต้นแบบของเมืองใหญ่ในประเทศได้ต่อไป” นพ.สราวุฒิ กล่าว
วันนี้ (2 มิ.ย.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมี นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแหงชาติ (สพฉ.) และ นพ.สราวุฒิ สนธิแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครร่วมลงนาม
นพ.ชาตรี กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงครั้งนี้ สพฉ.และ กรุงเทพมหานคร จะร่วมกันดำเนินงานและบริหารจัดการระบบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พิเศษ โดยให้ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ประสานการดำเนินการกับ สพฉ.โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีหน่วยปฏิบัติที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ มีการตรวจสอบบุคลากร หน่วยปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน
“การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ นอกจากจะพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั่วไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังมีการร่วมกันพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุและสั่งการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้พบเหตุฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถโทร.แจ้งได้ที่สายด่วน 1646 หรือ สายด่วน 1669 จะมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น เชื่อว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินต่อไป” นพ.ชาตรี กล่าว
ด้าน นพ.สราวุฒิ กล่าวว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร มีการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน คือแบ่งโซนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินออกเป็น 9 โซน มีโรงพยาบาลที่เป็นแม่โซนเป็นเครือข่ายดำเนินการ คือ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลตำรวจ นอกจากนี้มีชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลทั้ง 44 แห่ง และมีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (BLS) ซึ่งจะพร้อมให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
“การลงนามบันทึกความตกลงดังกล่าว ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก โดยจะมีการวางแผนพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกันต่อไป และนำไปสู่การบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ครอบคลุม ให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้รับบริการแพทย์ฉุกเฉินที่ดีขึ้น นอกจากนี้หวังว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะเป็นต้นแบบของเมืองใหญ่ในประเทศได้ต่อไป” นพ.สราวุฒิ กล่าว