“ชินภัทร” ให้เขตพื้นที่ฯ ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายทดสอบ หาแนวทางยืดหยุ่นการประเมิน นร.ที่เรียนแบบโฮมสคูล รับการประเมินตามหลักสูตรอาจไม่เหมาะ
เมื่อวันที่ 31 พ.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กทม.ได้รายงานกรณีที่มีผู้ปกครองรายหนึ่งร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) เกี่ยวกับปัญหาการประเมินผลผู้เรียนที่ผู้ปกครองต้องการให้ประเมินผลแบบรวบยอดไม่ต้องประเมินหลายครั้ง เพราะเด็กเป็นนักกีฬาสนุกเกอร์บางครั้งช่วงการแข่งขันตรงกับการต้องประเมินซึ่งไม่สะดวก แต่เนื่องจากขณะนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นรายชั้นปี ดังนั้นการประเมินผลผู้เรียนจะต้องเป็นไปรายชั้นปีเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การประเมินตามหลักสูตรนั้นอาจจะไม่สะดวกกับการจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล ดังนั้นจึงได้มอบให้ สพป.กทม.ร่วมกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สวก.) และสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปหารือร่วมกันว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่จะยืดหยุ่นได้บ้าง โดยยึดหลักว่าการจัดการศึกษาแบบโฮมสคูลเป็นการจัดการศึกษาทางเลือก รูปแบบการจัดการศึกษาต้องดูบริบทของครอบครัวเป็นองค์ประกอบ ซึ่งอาจจะต้องบูรณาการรูปแบบของการประเมินให้เหมาะสม
“หน้าที่ของ สพฐ.จะต้องให้การประกันสิทธิเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้นในส่วนของการศึกษาแบบโฮมสคูลนั้น สพป.แต่ละเขตจะมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล และทำการติดตามประเมินผลว่าครอบครัวที่มาลงทะเบียนจัดการศึกษาได้ตามเกณฑ์หรือไม่ ปัจจุบันมีครอบครัวที่จัดการศึกษาแบบโฮมสคูล 96 ครอบครัว เป็นนักเรียน 227 คนซึ่งกระจายอยู่ใน 37 เขต แบ่งเป็นภาคเหนือ 8 เขต ภาคใต้ 7 เขต ภาคกลาง 18 เขตและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 เขต” นายชินภัทร กล่าว
เมื่อวันที่ 31 พ.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กทม.ได้รายงานกรณีที่มีผู้ปกครองรายหนึ่งร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) เกี่ยวกับปัญหาการประเมินผลผู้เรียนที่ผู้ปกครองต้องการให้ประเมินผลแบบรวบยอดไม่ต้องประเมินหลายครั้ง เพราะเด็กเป็นนักกีฬาสนุกเกอร์บางครั้งช่วงการแข่งขันตรงกับการต้องประเมินซึ่งไม่สะดวก แต่เนื่องจากขณะนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นรายชั้นปี ดังนั้นการประเมินผลผู้เรียนจะต้องเป็นไปรายชั้นปีเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การประเมินตามหลักสูตรนั้นอาจจะไม่สะดวกกับการจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล ดังนั้นจึงได้มอบให้ สพป.กทม.ร่วมกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สวก.) และสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปหารือร่วมกันว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่จะยืดหยุ่นได้บ้าง โดยยึดหลักว่าการจัดการศึกษาแบบโฮมสคูลเป็นการจัดการศึกษาทางเลือก รูปแบบการจัดการศึกษาต้องดูบริบทของครอบครัวเป็นองค์ประกอบ ซึ่งอาจจะต้องบูรณาการรูปแบบของการประเมินให้เหมาะสม
“หน้าที่ของ สพฐ.จะต้องให้การประกันสิทธิเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้นในส่วนของการศึกษาแบบโฮมสคูลนั้น สพป.แต่ละเขตจะมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล และทำการติดตามประเมินผลว่าครอบครัวที่มาลงทะเบียนจัดการศึกษาได้ตามเกณฑ์หรือไม่ ปัจจุบันมีครอบครัวที่จัดการศึกษาแบบโฮมสคูล 96 ครอบครัว เป็นนักเรียน 227 คนซึ่งกระจายอยู่ใน 37 เขต แบ่งเป็นภาคเหนือ 8 เขต ภาคใต้ 7 เขต ภาคกลาง 18 เขตและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 เขต” นายชินภัทร กล่าว