นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ กล่าวปาฐกถาในการประชุมภาคีเครือข่ายเพศศึกษาเพื่อเยาวชน เรื่อง "การศึกษาไทยต้องทำอะไรกับการสร้างการเรียนรู้ให้เยาวชนในโลกปัจจุบัน" ว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อรองรับใช้เด็ก แต่รับใช้รัฐ เพราะรัฐสร้างมาก่อนโรงเรียน และสอนให้เด็กยอมรับอำนาจรัฐ รวมถึงการรับใช้ทุน เพราะทุนเข้ามาครอบงำสถานศึกษา เช่น การสอนวิชาการท่องเที่ยว ที่เน้นไปที่การผลิตคนงานในเชิงปฏิบัติ แต่ไม่ได้สาระวิชาการท่องเที่ยว
พร้อมกันนี้ เสนอให้สถาบันการศึกษาสรุปบทเรียนให้กับนักเรียน มากกว่าการยัดเยียดบทเรียนให้นักเรียน ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับชีวิตของนักเรียน ควรหามาตรฐานที่ยืดหยุ่นเหมาะสมกับการเรียนรู้ เช่น การประเมินผลการเรียนรู้ โดยยึดตัวผู้เรียนเป็นหลัก เนื่องจากระบบทุนได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยต้องการให้คนมีความคิดริเริ่ม แต่การศึกษาไทยไม่ควรสอนให้คนคิดหรือแลกเปลี่ยน และถกเถียง
นายนิธิ ได้เสนอ 4 แนวทางสำหรับการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 คือ ครูและนักเรียนควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างหลักการเรียนรู้ในแต่ละวิชา การเรียนรู้หรือการสอนควรใช้เวลาในห้องเรียนอภิปรายถกเถียงมากกว่าให้ครูสรุป กระบวนการการเรียนรู้ควรแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดการถกเถียงและความรู้ที่มากขึ้น และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น โฮมสคูล (home school) เพื่อเชื่อมต่อระบบการศึกษาภาคปกติ
พร้อมกันนี้ เสนอให้สถาบันการศึกษาสรุปบทเรียนให้กับนักเรียน มากกว่าการยัดเยียดบทเรียนให้นักเรียน ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับชีวิตของนักเรียน ควรหามาตรฐานที่ยืดหยุ่นเหมาะสมกับการเรียนรู้ เช่น การประเมินผลการเรียนรู้ โดยยึดตัวผู้เรียนเป็นหลัก เนื่องจากระบบทุนได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยต้องการให้คนมีความคิดริเริ่ม แต่การศึกษาไทยไม่ควรสอนให้คนคิดหรือแลกเปลี่ยน และถกเถียง
นายนิธิ ได้เสนอ 4 แนวทางสำหรับการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 คือ ครูและนักเรียนควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างหลักการเรียนรู้ในแต่ละวิชา การเรียนรู้หรือการสอนควรใช้เวลาในห้องเรียนอภิปรายถกเถียงมากกว่าให้ครูสรุป กระบวนการการเรียนรู้ควรแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดการถกเถียงและความรู้ที่มากขึ้น และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น โฮมสคูล (home school) เพื่อเชื่อมต่อระบบการศึกษาภาคปกติ