ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังฯ แจงถอด กบว.-สั่งแบน หรือตรวจสอบเนื้อหาละครดอกส้มสีทองเกินอำนาจหน้าที่ วธ.ขณะที่การจัดเรตติ้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถือเป็นเรื่องปกติ ส่วนการจะปรับแก้เรตใหม่อีกครั้งหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับกสทช.ชุดใหม่
น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า หลังจากที่ วธ.ได้ทำหนังสือไปยัง นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตรวจสอบเนื้อหาละครดอกส้มสีทองนั้น ขั้นตอนต่อไปก็คงจะเป็นหน้าที่ของท่านในฐานะที่กำกับดูแลสื่อที่มีหน้าที่ส่วนนี้โดยตรง ขณะที่ วธ.ในฐานะคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีหน้าที่ทำเรื่องสื่อที่เหมาะสม เปิดสายด่วนวัฒนธรรม 1765 และเมื่อมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเราก็มีหน้าที่รายงานต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างกรณีที่ประชาชนร้องเรียนละครเรื่องดอกส้มสีทองก็ร้องเข้ามาตลอดจนถึงขณะนี้ ทั้งในแง่ที่ว่าถ้า วธ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทำอะไรเลยก็จะบุกมากระทรวง หรือถ้ามีการสั่งแบนละครก็จะบุกมาเช่นกัน ซึ่งในเรื่องการแบนนั้น วธ.ไม่มีหน้าที่หรือไปสั่งแบนได้ ส่วนการลงไปตรวจสอบเนื้อหาละครหรือสั่งถอดกบว.ทั้งชุดเราก็ทำไม่ได้เช่นกันเพราะไม่มีอำนาจไปสั่งการตรงส่วนนั้น
ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังฯ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการจัดเรตติ้งที่มีผลสำรวจออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจนั้น มองว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะคู่มือในการจัดเรตติ้งนั้นได้จัดทำมา 4-5 ปีแล้ว และหน่วยงานที่ร่วมกันทำก็มีกรมประชาสัมพันธ์ วธ.ช่องสถานีต่างๆ มูลนิธิ ตัวแทนภาคประชาชน ดังนั้น ผู้แทนที่ถูกสำรวจก็อาจจะไม่ใช่คนที่มานั่งทำคู่มือชุดนี้ก็ได้ เมื่อเห็นสัญลักษณ์ก็เกิดความไม่เข้าใจว่าคืออะไร ดังนั้น เราจะต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความรับรู้เข้าใจถึงสัญลักษณ์ของเรตติ้งอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่รู้ว่ารัฐพยายามติดตัวอักษรให้และให้เขาไปทำความเข้าใจกันเอง ส่วนการที่จะปรับเรทติ้งครั้งใหม่อีกหรือไม่นั้นก็คงจะต้องอยู่ที่ กสทช.ชุดใหม่ที่จะมีการแต่งตั้งในอนาคตซึ่งมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง
น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า หลังจากที่ วธ.ได้ทำหนังสือไปยัง นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตรวจสอบเนื้อหาละครดอกส้มสีทองนั้น ขั้นตอนต่อไปก็คงจะเป็นหน้าที่ของท่านในฐานะที่กำกับดูแลสื่อที่มีหน้าที่ส่วนนี้โดยตรง ขณะที่ วธ.ในฐานะคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีหน้าที่ทำเรื่องสื่อที่เหมาะสม เปิดสายด่วนวัฒนธรรม 1765 และเมื่อมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเราก็มีหน้าที่รายงานต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างกรณีที่ประชาชนร้องเรียนละครเรื่องดอกส้มสีทองก็ร้องเข้ามาตลอดจนถึงขณะนี้ ทั้งในแง่ที่ว่าถ้า วธ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทำอะไรเลยก็จะบุกมากระทรวง หรือถ้ามีการสั่งแบนละครก็จะบุกมาเช่นกัน ซึ่งในเรื่องการแบนนั้น วธ.ไม่มีหน้าที่หรือไปสั่งแบนได้ ส่วนการลงไปตรวจสอบเนื้อหาละครหรือสั่งถอดกบว.ทั้งชุดเราก็ทำไม่ได้เช่นกันเพราะไม่มีอำนาจไปสั่งการตรงส่วนนั้น
ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังฯ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการจัดเรตติ้งที่มีผลสำรวจออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจนั้น มองว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะคู่มือในการจัดเรตติ้งนั้นได้จัดทำมา 4-5 ปีแล้ว และหน่วยงานที่ร่วมกันทำก็มีกรมประชาสัมพันธ์ วธ.ช่องสถานีต่างๆ มูลนิธิ ตัวแทนภาคประชาชน ดังนั้น ผู้แทนที่ถูกสำรวจก็อาจจะไม่ใช่คนที่มานั่งทำคู่มือชุดนี้ก็ได้ เมื่อเห็นสัญลักษณ์ก็เกิดความไม่เข้าใจว่าคืออะไร ดังนั้น เราจะต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความรับรู้เข้าใจถึงสัญลักษณ์ของเรตติ้งอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่รู้ว่ารัฐพยายามติดตัวอักษรให้และให้เขาไปทำความเข้าใจกันเอง ส่วนการที่จะปรับเรทติ้งครั้งใหม่อีกหรือไม่นั้นก็คงจะต้องอยู่ที่ กสทช.ชุดใหม่ที่จะมีการแต่งตั้งในอนาคตซึ่งมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง