สวนดุสิตโพล เผย ประชาชน 61.95% อยากให้ฉาย “ดอกส้มสีทอง” ต่อ เพราะอยากรู้จุดจบ ชี้ หยุดฉายก็ไม่ช่วยให้สังคมดีขึ้น ขณะที่ 33.56% อยากให้ตัดต่อบางตอนที่ไม่เหมาะสมออกไป ระบุ ประโยชน์และโทษของละครครึ่งๆ ห่วงเด็กลอกเลียนแบบ
จากกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ ละคร “ดอกส้มสีทอง” ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ก้าวร้าวรุนแรง ไม่เคารพบุพการี รวมถึงการจัดเรตติ้งไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน นั้น
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ติดตามชมละครเรื่อง “ดอกส้มสีทอง” จำนวนทั้งสิ้น 1,251 คน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2554
จากการสำรวจพบว่า ประชาชน 44.92% เห็นว่า ละครเรื่องดังกล่าวเห็นว่าเป็นละครสะท้อนสังคมที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างมาก ส่วน 34.72% มองว่า บางตอนมีเนื้อหาไม่เหมาะสม อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว/มีฉากเลิฟซีนที่ล่อแหลม ขณะที่ 20.36% มองว่า สนุก ให้แง่คิด แต่อาจมีเยาวชนบางกลุ่มที่ลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เมื่อถามถึงเนื้อหาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ 53.29% มองว่า เหมาะสม เพราะเป็นเรื่องจริงที่มาจากการสะท้อนชีวิตของคนในสังคม ให้แง่คิดในเรื่องของการมีชีวิตคู่ การมีครอบครัว ฯลฯ ใกล้เคียงกันกับความเห็นไม่เหมาะสม คือ 46.71% เพราะมีหลายฉากที่ใช้ความรุนแรง พฤติกรรมชู้สาว ฉากเลิฟซีน /อาจเกิดการลอกเลียนแบบได้ ฯลฯ
ส่วนการแสดงบทบาทของตัวละครชื่อ เรยา มีความเหมาะสมหรือไม่ ส่วนใหญ่ 58.33% มองว่าไม่เหมาะสม เพราะการใช้พฤติกรรมที่ก้าวร้าว คำพูดไม่เหมาะสมกับบุพการี, เป็นชู้กับสามีคนอื่น ฯลฯ ส่วนเหมาะสม 41.67% เพราะสะท้อนให้เห็นถึงผู้หญิงที่มีความทะเยอทะยาน อยากได้ใคร่ดี, การใช้จริตมารยาของผู้หญิง ฯลฯ
เมื่อเปรียบเทียบ “ประโยชน์” และ “โทษ” ที่ผู้ชมได้รับจากละครเรื่องนี้ อันดับหนึ่ง 49.79% มองว่า พอๆ กัน เพราะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ชมแต่ละคน, ถ้าเด็กอยากดูควรมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ ฯลฯ ตามมาด้วยคนที่มองว่า มีประโยชน์มากกว่า 26.47% เพราะให้ข้อคิด คติสอนใจ, เป็นการสะท้อนความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน ฯลฯ ไล่เลี่ยกันที่ 23.74% โทษมากกว่า เพราะเนื้อหาล่อแหลม ส่อไปในเรื่องของการคบชู้สู่ชาย, ความทะเยอทะยาน ไม่รู้จักความพอดี, เกิดการลอกเลียนแบบ ฯลฯ
เมื่อถามว่า จากที่มีการเรียกร้องให้เพิ่มเรตอายุผู้ชมตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ผู้ชมคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ อันดับ 1 ที่ 72.56% มองว่า เหมาะสม เพราะเป็นช่วงอายุที่มีวุฒิภาวะ มีความคิดความอ่าน และสามารถแยกแยะได้ในระดับหนึ่ง ฯลฯ ที่มองว่า ไม่เหมาะสมมี 27.44% เพราะ ไม่สามารถควบคุมได้จริง เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ และควรมีการตรวจสอบก่อนที่จะมีการออกอากาศ ฯลฯ
ผู้ชมคิดอย่างไรกับการวิพากษ์วิจารณ์ละครเรื่องนี้ 59.62% เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์บางส่วน เพราะเนื้อหาโดยรวมของเรื่องต้องการสะท้อนความเป็นจริงในสังคม แต่บทบาทและฉากบางตอนล่อแหลม ไม่เหมาะสม ฯลฯ ประชาชน 22.18% เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมด เพราะ เป็นละครที่มีเนื้อหารุนแรงจริง อาจเกิดการลอกเลียนแบบ และทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในสังคม ฯลฯ ขณะที่ ไม่เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ มี 18.20% เพราะเชื่อว่าผู้ชมสามารถแยกแยะได้, ละครก็คือละคร, ในชีวิตจริงเด็กอาจพบเจอเหตุการณ์ที่แย่กว่านี้ก็เป็นได้ ฯลฯ
สุดท้ายถามว่า ผู้ชมคิดว่าควรทำอย่างไร กับละครเรื่องนี้ 61.95% เห็นว่า ควรให้ฉายต่อไปตามปกติ เพราะอยากรู้ว่าจุดจบของละครเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เป็นการทำลายอรรถรสในการรับชมของแฟนละคร, ถึงจะหยุดฉายก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ ฯลฯ ส่วนที่เห็นว่า ควรตัดต่อบางตอนที่ไม่เหมาะสมออกไปอยู่ที่ 33.56% เพราะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของสังคมไทย ฯลฯ ที่เห็นว่า ควร หยุดฉายทันที มีแค่ 4.49% เพราะละครมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเกินกว่าจะรับได้, เป็นบทเรียนสำหรับผู้จัดละครที่คิดจะทำละครแนวนี้ต่อไป ฯลฯ
จากกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ ละคร “ดอกส้มสีทอง” ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ก้าวร้าวรุนแรง ไม่เคารพบุพการี รวมถึงการจัดเรตติ้งไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน นั้น
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ติดตามชมละครเรื่อง “ดอกส้มสีทอง” จำนวนทั้งสิ้น 1,251 คน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2554
จากการสำรวจพบว่า ประชาชน 44.92% เห็นว่า ละครเรื่องดังกล่าวเห็นว่าเป็นละครสะท้อนสังคมที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างมาก ส่วน 34.72% มองว่า บางตอนมีเนื้อหาไม่เหมาะสม อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว/มีฉากเลิฟซีนที่ล่อแหลม ขณะที่ 20.36% มองว่า สนุก ให้แง่คิด แต่อาจมีเยาวชนบางกลุ่มที่ลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เมื่อถามถึงเนื้อหาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ 53.29% มองว่า เหมาะสม เพราะเป็นเรื่องจริงที่มาจากการสะท้อนชีวิตของคนในสังคม ให้แง่คิดในเรื่องของการมีชีวิตคู่ การมีครอบครัว ฯลฯ ใกล้เคียงกันกับความเห็นไม่เหมาะสม คือ 46.71% เพราะมีหลายฉากที่ใช้ความรุนแรง พฤติกรรมชู้สาว ฉากเลิฟซีน /อาจเกิดการลอกเลียนแบบได้ ฯลฯ
ส่วนการแสดงบทบาทของตัวละครชื่อ เรยา มีความเหมาะสมหรือไม่ ส่วนใหญ่ 58.33% มองว่าไม่เหมาะสม เพราะการใช้พฤติกรรมที่ก้าวร้าว คำพูดไม่เหมาะสมกับบุพการี, เป็นชู้กับสามีคนอื่น ฯลฯ ส่วนเหมาะสม 41.67% เพราะสะท้อนให้เห็นถึงผู้หญิงที่มีความทะเยอทะยาน อยากได้ใคร่ดี, การใช้จริตมารยาของผู้หญิง ฯลฯ
เมื่อเปรียบเทียบ “ประโยชน์” และ “โทษ” ที่ผู้ชมได้รับจากละครเรื่องนี้ อันดับหนึ่ง 49.79% มองว่า พอๆ กัน เพราะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ชมแต่ละคน, ถ้าเด็กอยากดูควรมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ ฯลฯ ตามมาด้วยคนที่มองว่า มีประโยชน์มากกว่า 26.47% เพราะให้ข้อคิด คติสอนใจ, เป็นการสะท้อนความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน ฯลฯ ไล่เลี่ยกันที่ 23.74% โทษมากกว่า เพราะเนื้อหาล่อแหลม ส่อไปในเรื่องของการคบชู้สู่ชาย, ความทะเยอทะยาน ไม่รู้จักความพอดี, เกิดการลอกเลียนแบบ ฯลฯ
เมื่อถามว่า จากที่มีการเรียกร้องให้เพิ่มเรตอายุผู้ชมตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ผู้ชมคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ อันดับ 1 ที่ 72.56% มองว่า เหมาะสม เพราะเป็นช่วงอายุที่มีวุฒิภาวะ มีความคิดความอ่าน และสามารถแยกแยะได้ในระดับหนึ่ง ฯลฯ ที่มองว่า ไม่เหมาะสมมี 27.44% เพราะ ไม่สามารถควบคุมได้จริง เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ และควรมีการตรวจสอบก่อนที่จะมีการออกอากาศ ฯลฯ
ผู้ชมคิดอย่างไรกับการวิพากษ์วิจารณ์ละครเรื่องนี้ 59.62% เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์บางส่วน เพราะเนื้อหาโดยรวมของเรื่องต้องการสะท้อนความเป็นจริงในสังคม แต่บทบาทและฉากบางตอนล่อแหลม ไม่เหมาะสม ฯลฯ ประชาชน 22.18% เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมด เพราะ เป็นละครที่มีเนื้อหารุนแรงจริง อาจเกิดการลอกเลียนแบบ และทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในสังคม ฯลฯ ขณะที่ ไม่เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ มี 18.20% เพราะเชื่อว่าผู้ชมสามารถแยกแยะได้, ละครก็คือละคร, ในชีวิตจริงเด็กอาจพบเจอเหตุการณ์ที่แย่กว่านี้ก็เป็นได้ ฯลฯ
สุดท้ายถามว่า ผู้ชมคิดว่าควรทำอย่างไร กับละครเรื่องนี้ 61.95% เห็นว่า ควรให้ฉายต่อไปตามปกติ เพราะอยากรู้ว่าจุดจบของละครเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เป็นการทำลายอรรถรสในการรับชมของแฟนละคร, ถึงจะหยุดฉายก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ ฯลฯ ส่วนที่เห็นว่า ควรตัดต่อบางตอนที่ไม่เหมาะสมออกไปอยู่ที่ 33.56% เพราะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของสังคมไทย ฯลฯ ที่เห็นว่า ควร หยุดฉายทันที มีแค่ 4.49% เพราะละครมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเกินกว่าจะรับได้, เป็นบทเรียนสำหรับผู้จัดละครที่คิดจะทำละครแนวนี้ต่อไป ฯลฯ