อย. คุมเข้มผู้นำเข้าอาหารทุกประเภทจาก 12 จังหวัดของญี่ปุ่นที่ อย. ประกาศ ต้องแสดง ผลตรวจวิเคราะห์ นอกเหนือจาก 12 จังหวัด ต้องแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด หากไม่มีเอกสารดังกล่าว อย. จะกักสินค้าไว้ โดยไม่ปล่อยให้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยตกถึงมือผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกระดับความรุนแรงของสารกัมมันตรังสีจากโรงงานปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ได้นิ่งนอนในกับกรณีดังกล่าว และได้ดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ อย. ได้ปรับระดับการเฝ้าระวังการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ฉบับ เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี และเรื่อง กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าอาหารทุกประเภทจาก 12 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ ฟุกุชิมะ, กุนมะ, อิบารากิ, โตชิกิ, มิยากิ, ยามากาตะ, นิอิกาตะ, นากาโนะ, ยามานาชิ, ไชตามะ, โตเกียว และชิบะ แสดงผลตรวจวิเคราะห์จากห้องแล็ปของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น โดยระบุประเภท ชนิดอาหาร และปริมาณกัมมันตรังสี (Certificate of Analysis) ส่วนกรณีนำเข้าอาหารจากพื้นที่นอกเหนือจาก 12 จังหวัด ผู้นำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด ของสินค้าที่มีการเพาะปลูก หรือเพาะเลี้ยง หรือผลิต (Certificate of Origin) จากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานที่รัฐรับรอง และได้มีมาตรการดำเนินงาน ณ ด่านอาหารและยา ตามประกาศกระทรวงฯ อย่างเคร่งครัด ดังนั้น หากผู้นำเข้าอาหารทุกประเภทจากญี่ปุ่นไม่มีเอกสารตามที่ประกาศฯกำหนด ด่านอาหารและยาจะกักสินค้าไว้จนกว่าจะได้รับเอกสารซึ่งหากยังไม่มีเอกสารดังกล่าว เจ้าหน้าที่อย. จะยังไม่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำอาหารทุกประเภทที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศ จนกว่าจะมีหลักฐานตามที่กำหนด ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และชัดเจนมาแสดง ทั้งนี้ ผู้ที่นำเข้าที่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว อย. ยังคงระบบสุ่มตรวจหาสารกัมมันตรังสีในอาหารต่อไป เพื่อปกป้อง คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ได้รับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
เลขาธิการอย. กล่าวอีกว่า ขอผู้บริโภควางใจการดำเนินงานของ อย. ซึ่ง อย. ได้ติดตามสถานการณ์รอบด้านอย่างใกล้ชิด หากสถานการณ์รุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย.อาจปรับระดับการคุมเข้มอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นให้เข้มงวดมากขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อย. จะรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ และสถานการณ์ความคืบหน้าให้ประชาชนได้ทราบผ่านทุกสื่อ รวมทั้ง เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th และ Social Media: Facebook: Fda Thai และ Twitter: FDAthai อย่างต่อเนื่อง
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกระดับความรุนแรงของสารกัมมันตรังสีจากโรงงานปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ได้นิ่งนอนในกับกรณีดังกล่าว และได้ดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ อย. ได้ปรับระดับการเฝ้าระวังการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ฉบับ เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี และเรื่อง กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าอาหารทุกประเภทจาก 12 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ ฟุกุชิมะ, กุนมะ, อิบารากิ, โตชิกิ, มิยากิ, ยามากาตะ, นิอิกาตะ, นากาโนะ, ยามานาชิ, ไชตามะ, โตเกียว และชิบะ แสดงผลตรวจวิเคราะห์จากห้องแล็ปของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น โดยระบุประเภท ชนิดอาหาร และปริมาณกัมมันตรังสี (Certificate of Analysis) ส่วนกรณีนำเข้าอาหารจากพื้นที่นอกเหนือจาก 12 จังหวัด ผู้นำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด ของสินค้าที่มีการเพาะปลูก หรือเพาะเลี้ยง หรือผลิต (Certificate of Origin) จากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานที่รัฐรับรอง และได้มีมาตรการดำเนินงาน ณ ด่านอาหารและยา ตามประกาศกระทรวงฯ อย่างเคร่งครัด ดังนั้น หากผู้นำเข้าอาหารทุกประเภทจากญี่ปุ่นไม่มีเอกสารตามที่ประกาศฯกำหนด ด่านอาหารและยาจะกักสินค้าไว้จนกว่าจะได้รับเอกสารซึ่งหากยังไม่มีเอกสารดังกล่าว เจ้าหน้าที่อย. จะยังไม่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำอาหารทุกประเภทที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศ จนกว่าจะมีหลักฐานตามที่กำหนด ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และชัดเจนมาแสดง ทั้งนี้ ผู้ที่นำเข้าที่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว อย. ยังคงระบบสุ่มตรวจหาสารกัมมันตรังสีในอาหารต่อไป เพื่อปกป้อง คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ได้รับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
เลขาธิการอย. กล่าวอีกว่า ขอผู้บริโภควางใจการดำเนินงานของ อย. ซึ่ง อย. ได้ติดตามสถานการณ์รอบด้านอย่างใกล้ชิด หากสถานการณ์รุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย.อาจปรับระดับการคุมเข้มอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นให้เข้มงวดมากขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อย. จะรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ และสถานการณ์ความคืบหน้าให้ประชาชนได้ทราบผ่านทุกสื่อ รวมทั้ง เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th และ Social Media: Facebook: Fda Thai และ Twitter: FDAthai อย่างต่อเนื่อง