เครือข่ายสนับสนุนฉลากแบบสีสัญญาณ ร่อนหนังสือถึง “มาร์ค” ผ่าน สช.วอนยับยั้งการเตรียมออกประกาศฉลากขนมแบบ GDA ขอเวลากางรายละเอียดฉลาก “GDA-สีสัญญาณ” เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย
วันนี้ (5 เม.ย.) เครือข่ายสนับสนุนมาตรการฉลากอาหารแบบสีสัญญาณ นำโดยนายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย พร้อมตัวแทนจากภาคีเครือข่ายอื่นๆ อีก ราว 7 คน เดินทางมาที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อยื่นหนังสือเรื่อง ขอให้พิจารณายับยั้งการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด ผ่าน นพ.อําพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.ให้มีการนำเสนอหนังสือดังกล่าวต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ทั้งนี้ มี นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการ สช.เป็นผู้มารับหนังสือแทน
โดยนายสง่า กล่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการประชุมชี้แจงร่างประกาศกระทรวงฯ เรื่องของการแสดงฉลากอาหารผ่านรูปแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) เพื่อแสดงให้ข้อมูลโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์ โดยคณะกรรมการอาหารจะมีการประชุมหารือในรายละเอียดของร่างดังกล่าววันที่ 7 เม.ย.2554 นั้น ทางเครือข่ายฯเห็นว่า เป็นเรื่องที่เร่งรีบเกินไป แม้ว่าทางผู้ประกอบการเองจะเห็นด้วยก็ตามแต่ฝ่ายที่เห็นค้านยังมี ดังนั้น หาก อย.ไม่เห็นด้วยกับการแสดงฉลากในแบบสีสัญญาณตามที่เครือข่ายสนับสนุนก็ควรจะชะลอการออกประกาศแบบ GDA ด้วย แล้วใช้เวลาศึกษาเชิงวิชาการเปรียบเทียบกันว่า แบบไหนดีไม่ดีอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้เครือข่ายการคุ้มครองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริโภคอาหารในเด็ก เครือข่ายผู้ปกครอง และนักสื่อสาร ร่วมกันประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ว่าการแสดงฉลากแบบใดง่ายต่อการเข้าใจของผู้บริโภคมากที่สุด โดยคาดว่าจะประชุมในวันที่ 22 เม.ย.นี้ จึงอยากให้ อย.ชะลอมาตรการดังกล่าวก่อน
นายสง่า กล่าวว่า จริงๆ แล้วสิ่งเดียวที่เครือข่ายต้องการ คือ การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมซึ่งจากการทบทวนผลงานวิชาการในต่างประเทศอย่างสหราชอาณาจักรพบว่าผู้ปกครองกว่า 80% จาก 1,7000 ราย เห็นว่า การแสดงฉลากแบบสีสัญญาณนั้นเป็นเรื่องที่สามารถจดจำง่าย เพราะมีการแยกสีอย่างชัดเจนช่วยให้เด็กตัดสินใจเลือกอาหารที่เหมาะสมแก่การบริโภคได้ ซึ่งสมาคมการแพทย์ของอังกฤษ ( British Medical Association )หรือ BMA ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ
“จริงๆ แล้วประเด็นที่ผู้ประกอบการยังติดใจและไม่เห็นด้วยกับฉลากแบบสีสัญญาณ คือ กังวลว่า สัญลักษณ์ 1 สี จะมีความหมายไม่ชัดเจน เช่น สีแดง 1 วง อาจตีความหมายว่า ห้ามกิน ห้ามซื้อ ซึ่งในความจริงซื้อได้กินได้แต่อาจเหมาะสมแค่บางช่วงวัยเท่านั้น จุดนี้อยากจะอธิบายว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะสีแดงหมายถึงการเตือนให้ระวัง เช่น วันนี้กินขนมที่วงกลมสีแดงแสดงค่าของโซเดียมแล้ว มื้อถัดไปก็ไม่ควรบริโภคอะไรที่มีโซเดียมเยอะ เป็นต้น” นายสง่า กล่าว
วันนี้ (5 เม.ย.) เครือข่ายสนับสนุนมาตรการฉลากอาหารแบบสีสัญญาณ นำโดยนายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย พร้อมตัวแทนจากภาคีเครือข่ายอื่นๆ อีก ราว 7 คน เดินทางมาที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อยื่นหนังสือเรื่อง ขอให้พิจารณายับยั้งการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด ผ่าน นพ.อําพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.ให้มีการนำเสนอหนังสือดังกล่าวต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ทั้งนี้ มี นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการ สช.เป็นผู้มารับหนังสือแทน
โดยนายสง่า กล่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการประชุมชี้แจงร่างประกาศกระทรวงฯ เรื่องของการแสดงฉลากอาหารผ่านรูปแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) เพื่อแสดงให้ข้อมูลโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์ โดยคณะกรรมการอาหารจะมีการประชุมหารือในรายละเอียดของร่างดังกล่าววันที่ 7 เม.ย.2554 นั้น ทางเครือข่ายฯเห็นว่า เป็นเรื่องที่เร่งรีบเกินไป แม้ว่าทางผู้ประกอบการเองจะเห็นด้วยก็ตามแต่ฝ่ายที่เห็นค้านยังมี ดังนั้น หาก อย.ไม่เห็นด้วยกับการแสดงฉลากในแบบสีสัญญาณตามที่เครือข่ายสนับสนุนก็ควรจะชะลอการออกประกาศแบบ GDA ด้วย แล้วใช้เวลาศึกษาเชิงวิชาการเปรียบเทียบกันว่า แบบไหนดีไม่ดีอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้เครือข่ายการคุ้มครองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริโภคอาหารในเด็ก เครือข่ายผู้ปกครอง และนักสื่อสาร ร่วมกันประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ว่าการแสดงฉลากแบบใดง่ายต่อการเข้าใจของผู้บริโภคมากที่สุด โดยคาดว่าจะประชุมในวันที่ 22 เม.ย.นี้ จึงอยากให้ อย.ชะลอมาตรการดังกล่าวก่อน
นายสง่า กล่าวว่า จริงๆ แล้วสิ่งเดียวที่เครือข่ายต้องการ คือ การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมซึ่งจากการทบทวนผลงานวิชาการในต่างประเทศอย่างสหราชอาณาจักรพบว่าผู้ปกครองกว่า 80% จาก 1,7000 ราย เห็นว่า การแสดงฉลากแบบสีสัญญาณนั้นเป็นเรื่องที่สามารถจดจำง่าย เพราะมีการแยกสีอย่างชัดเจนช่วยให้เด็กตัดสินใจเลือกอาหารที่เหมาะสมแก่การบริโภคได้ ซึ่งสมาคมการแพทย์ของอังกฤษ ( British Medical Association )หรือ BMA ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ
“จริงๆ แล้วประเด็นที่ผู้ประกอบการยังติดใจและไม่เห็นด้วยกับฉลากแบบสีสัญญาณ คือ กังวลว่า สัญลักษณ์ 1 สี จะมีความหมายไม่ชัดเจน เช่น สีแดง 1 วง อาจตีความหมายว่า ห้ามกิน ห้ามซื้อ ซึ่งในความจริงซื้อได้กินได้แต่อาจเหมาะสมแค่บางช่วงวัยเท่านั้น จุดนี้อยากจะอธิบายว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะสีแดงหมายถึงการเตือนให้ระวัง เช่น วันนี้กินขนมที่วงกลมสีแดงแสดงค่าของโซเดียมแล้ว มื้อถัดไปก็ไม่ควรบริโภคอะไรที่มีโซเดียมเยอะ เป็นต้น” นายสง่า กล่าว