สภา กทม.กระตุ้น กทม.เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในประเทศญี่ปุ่น พร้อมเตรียมแผนรับมือแผ่นดินไหว และสึนามิ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ “สุขุมพันธุ์” ยันพร้อมให้ความช่วยเหลือ ด้านปลัด กทม.เผย กรุงเทพฯห่างไกลผลกระทบฝุ่นนิวเคลียร์พัดจากญี่ปุ่น
วันนี้ (15 มี.ค.) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร นายพิรกร วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง ได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (สึนามิ) ในประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่ กทม.มีความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน รวมทั้งสภา กทม.ยังมีโครงการสภาบ้านพี่เมืองน้อง และโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน รวมถึงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจกับหลายเมืองสำคัญของประเทศญี่ปุ่น กทม.ควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่นโดยส่งทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัย หน่วยแพทย์ รวมทั้งล่ามแปลภาษาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว เพื่อแสดงความมีน้ำใจและเป็นการให้ความสำคัญกับมิตรประเทศ นอกจากนี้ ผู้บริหารควรวางแผนระยะยาวเพื่อป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ (สึนามิ) รวมทั้งควรมีการซักซ้อมแผนป้องกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ซึ่งในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการของกรุงเทพมหานครในการให้ความช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งควรวางแผนป้องกันและควบคุมภัยพิบัติกรุงเทพมหานครในระยะยาว โดยเฉพาะมาตรการป้องกันภัยพิบัติจากสึนามิ ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงที่หลายประเทศประสบปัญหาอยู่ขณะนี้
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ผู้บริหารกทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยได้ส่งสารแสดงความเสียใจไปถึงเอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย รวมทั้งยังได้ประสานไปยังรัฐบาลส่วนกลางเพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (สึนามิ) ในประเทศญี่ปุ่น โดยหากมีการร้องขอและประสานมาทางกรุงเทพมหานครพร้อมให้การสนับสนุนตามความต้องการ อาทิ เจ้าหน้าที่กู้ภัย รวมทั้งฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยพิบัติต่อไป นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้เตรียมพร้อมในการรับสาธารณภัยโดยการจัดเตรียมแผนหลัก คือ แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนปี 2550 และแผนป้องกันและควบคุมภัยพิบัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการจัดทำแผนรองรับก่อนเกิดเหตุ การเผชิญเหตุ การกู้ภัย การบรรเทาสาธารณภัยและฟื้นฟู การอบรมผู้เกี่ยวข้อง และการฝึกซ้อมแผนเพื่อให้มีความพร้อมอย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง รวมทั้งยังเตรียมความพร้อมด้านระบบเตือนภัย การอพยพและที่พักพิง ระบบการบัญชาการ ระบบสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรุงเทพฯมหานครจะเพิ่มแผนป้องกันภัยพิบัติ (สึนามิ) เข้าอยู่ในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังไม่มีแผนป้องกันและรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิอีกด้วย
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบในญัตติดังกล่าว และจะส่งต่อไปยังคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการต่อไป
ในวันเดียวกัน นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นระเบิด ทำให้มีประชาชนวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีที่อาจลอยมาถึงประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้ กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ชี้แจงแล้วว่า การพัดกระจายของสารกัมมันตรังสีไม่ได้มาทางประเทศไทย แต่พัดไปทางตอนเหนือของญี่ปุ่นลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก จึงแจ้งประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบของ กทม.ทุกหน่วยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงที
วันนี้ (15 มี.ค.) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร นายพิรกร วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง ได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (สึนามิ) ในประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่ กทม.มีความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน รวมทั้งสภา กทม.ยังมีโครงการสภาบ้านพี่เมืองน้อง และโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน รวมถึงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจกับหลายเมืองสำคัญของประเทศญี่ปุ่น กทม.ควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่นโดยส่งทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัย หน่วยแพทย์ รวมทั้งล่ามแปลภาษาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว เพื่อแสดงความมีน้ำใจและเป็นการให้ความสำคัญกับมิตรประเทศ นอกจากนี้ ผู้บริหารควรวางแผนระยะยาวเพื่อป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ (สึนามิ) รวมทั้งควรมีการซักซ้อมแผนป้องกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ซึ่งในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการของกรุงเทพมหานครในการให้ความช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งควรวางแผนป้องกันและควบคุมภัยพิบัติกรุงเทพมหานครในระยะยาว โดยเฉพาะมาตรการป้องกันภัยพิบัติจากสึนามิ ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงที่หลายประเทศประสบปัญหาอยู่ขณะนี้
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ผู้บริหารกทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยได้ส่งสารแสดงความเสียใจไปถึงเอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย รวมทั้งยังได้ประสานไปยังรัฐบาลส่วนกลางเพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (สึนามิ) ในประเทศญี่ปุ่น โดยหากมีการร้องขอและประสานมาทางกรุงเทพมหานครพร้อมให้การสนับสนุนตามความต้องการ อาทิ เจ้าหน้าที่กู้ภัย รวมทั้งฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยพิบัติต่อไป นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้เตรียมพร้อมในการรับสาธารณภัยโดยการจัดเตรียมแผนหลัก คือ แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนปี 2550 และแผนป้องกันและควบคุมภัยพิบัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการจัดทำแผนรองรับก่อนเกิดเหตุ การเผชิญเหตุ การกู้ภัย การบรรเทาสาธารณภัยและฟื้นฟู การอบรมผู้เกี่ยวข้อง และการฝึกซ้อมแผนเพื่อให้มีความพร้อมอย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง รวมทั้งยังเตรียมความพร้อมด้านระบบเตือนภัย การอพยพและที่พักพิง ระบบการบัญชาการ ระบบสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรุงเทพฯมหานครจะเพิ่มแผนป้องกันภัยพิบัติ (สึนามิ) เข้าอยู่ในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังไม่มีแผนป้องกันและรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิอีกด้วย
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบในญัตติดังกล่าว และจะส่งต่อไปยังคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการต่อไป
ในวันเดียวกัน นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นระเบิด ทำให้มีประชาชนวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีที่อาจลอยมาถึงประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้ กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ชี้แจงแล้วว่า การพัดกระจายของสารกัมมันตรังสีไม่ได้มาทางประเทศไทย แต่พัดไปทางตอนเหนือของญี่ปุ่นลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก จึงแจ้งประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบของ กทม.ทุกหน่วยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงที