จุฬาราชมนตรี เรียกร้องนายกฯเร่งคลอดกฎหมายครอบครัวมรดก เพื่อประโยชน์ของพี่น้องมุสลิม พร้อมขอช่วยเร่งแก้ปัญหาการประกอบพิธีฮัจญ์
เมื่อเวลา 08.00 น.ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี พร้อมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นเวลา 45 นาที โดย นายอาศิส ได้เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายกฯ ว่า ได้ขอให้นายกฯช่วยประสาน และสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการฮัจญ์ของชาวมุสลิมที่จะเริ่มดำเนินการอีกไม่นานนี้ ซึ่งเชื่อว่า จะสร้างความเข้าใจกันได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงบ่ายจะมีการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเชื่อว่า จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และขอให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดก ซึ่งขณะนี้อยู่ในสภา และอยู่ในขั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ขอให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับมุสลิมทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมที่จะต้องมีการจัดระบบครอบครัว หรือจะมีการจัดการมรดกกันอย่างไร ซึ่งมีกรอบศาสนากำหนดไว้ ดังนั้นจึงอยากให้กฎหมายที่บังคับใช้อยู่สอดคล้องกับหลักการทางศาสนา ซึ่งนายกฯ ก็เข้าใจมากขึ้น
นายอาศิส กล่าวต่อว่า ความจริงกฎหมายนี้ไม่ใช่กฎหมายใหม่ แต่มีมา 64 ปีแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ เมื่อมีการนำเรื่องนี้มาพูด เมื่อมีการนำเรื่องนี้มาพูดก็ทำให้คิดว่า เป็นกฎหมายใหม่ เราเพียงต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีแนวคิดขยายการบังคับใช้ออกไป ให้ครอบคลุมในจังหวัดอื่นๆ นอกจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมุสลิมจำนวนมาก
เมื่อเวลา 08.00 น.ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี พร้อมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นเวลา 45 นาที โดย นายอาศิส ได้เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายกฯ ว่า ได้ขอให้นายกฯช่วยประสาน และสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการฮัจญ์ของชาวมุสลิมที่จะเริ่มดำเนินการอีกไม่นานนี้ ซึ่งเชื่อว่า จะสร้างความเข้าใจกันได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงบ่ายจะมีการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเชื่อว่า จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และขอให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดก ซึ่งขณะนี้อยู่ในสภา และอยู่ในขั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ขอให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับมุสลิมทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมที่จะต้องมีการจัดระบบครอบครัว หรือจะมีการจัดการมรดกกันอย่างไร ซึ่งมีกรอบศาสนากำหนดไว้ ดังนั้นจึงอยากให้กฎหมายที่บังคับใช้อยู่สอดคล้องกับหลักการทางศาสนา ซึ่งนายกฯ ก็เข้าใจมากขึ้น
นายอาศิส กล่าวต่อว่า ความจริงกฎหมายนี้ไม่ใช่กฎหมายใหม่ แต่มีมา 64 ปีแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ เมื่อมีการนำเรื่องนี้มาพูด เมื่อมีการนำเรื่องนี้มาพูดก็ทำให้คิดว่า เป็นกฎหมายใหม่ เราเพียงต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีแนวคิดขยายการบังคับใช้ออกไป ให้ครอบคลุมในจังหวัดอื่นๆ นอกจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมุสลิมจำนวนมาก