โดยจารยา บุญมาก
เป็นที่น่าตกใจว่า คนไทยป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 30,000 ราย ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ราว 300 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 30-50 ราย โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่อายุน้อยสุดเพียงแค่ 4 ขวบเท่านั้น
สถิติข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า โรคไตวายเรื้อรังนั้น เป็นภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพของคนไทยทุกเพศทุกวัย โดย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานอนุกรรมการป้องกันโรคไต กล่าวว่า จริงๆ แล้วการเกิดภาวะไตเสื่อมในเด็ก จนนำไปสู่ไตวายเรื้อรังเป็นผลมาจากโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก อันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ 1.กรวยไตอักเสบ ส่งผลให้เด็กมีไข้สูง ปวดบั้นเอว ปัสสาวะมีสีขุ่น ระหว่างขับถ่ายปัสสาวะจะมีอาการแสบขัด บางรายคลื่นไส้ อาเจียน 2.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขุ่น บางครั้งอาจมีเลือดปน เด็กบางคนมีปัสสาวะรดที่นอนเมื่อโตแล้ว หรือเพิ่งเป็นจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า หากพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง พบความผิดปกติดังกล่าว แนะนำว่า ควรจะเร่งตรวจปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยออกมาว่า เด็กป่วยเป็นโรคใด เนื่องจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเป็นอาการนำที่บ่งบอกถึงความผิดปกติแต่กำเนิดของไต และทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น ในเด็กที่เป็นกรวยไตอักเสบทุกราย หรือเด็กเล็กที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือมีการติดเชื้อซ้ำควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวนด์หาแผลเป็นที่ไต เป็นต้น โดยหากแพทย์ตรวจพบโดยเร็ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
“โดยส่วนใหญ่เด็กโตที่ป่วยเป็นภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสวะ เมื่อป่วยนานๆ เข้า อาจจะเริ่มเข้าสู่ภาวะไตเริ่มเสื่อม โดยร่างกายแสดงลักษณะอาการบวม ผิวซีด อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย ทำให้เด็กมีอาการอ่อนแอ ซึ่งกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะเกิดโรคไตเรื้อรังจนต้องรับการฟอกไต และเปลี่ยนไตใหม่ ที่ได้รับบริจาคจากญาติหรือผูมีจิตศรัทธา” ผศ.นพ.สุรศักดิ์ อธิบาย
ปัญหา คือ ในการดำเนินการรักษาด้วยการฟอกไต หรือการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยเด็กค่อนข้างลำบาก เพราะเด็กจะมีภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ใหญ่ การใส่ไตเข้าไปใหม่เหมือนหนึ่งสิ่งแปลกปลอม ร่างกายอาจต่อต้าน ทำให้การพักฟื้นต้องใช้เวลานาน หรือบางครั้งแพทย์ต้องให้ยาลดภูมิแก่เด็ก แต่ทั้งนี้ การแพทย์จะดำเนินการได้ต้องทำในเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปี หรือมีน้ำหนักมากกว่า 15 กิโลกรัมเท่านั้น เพราะในเด็กนั้นจะพบว่าเด็กจะมีการขับยามากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้แพทย์รักษาระดับยาที่ให้ได้ยากขึ้น รวมถึงเด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายและอารมณ์ บางครั้งจะมีการต่อต้านหรือเบื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ทำให้รับประทานยาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ไตถูกทำลาย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงค่อนข้างล่าช้า แต่ก็ไม่ได้มีผลอันตรายมากนักหากปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
ส่วนวิธีดูแลเด็กไม่ให้มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะไตเสื่อมพญ.ธนันดา ตระการวนิช อนุกรรมการป้องกันโรคไต อธิบายเพิ่มเติมว่า พ่อแม่และผู้ปกครองก็ควรให้คำแนะนำในการทำความสะอาดหลังการขับถ่าย ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอุจจาระ เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ดื่มน้ำมากๆและปัสสาวะให้เป็นเวลา และควรปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง ไม่กลั้นปัสสาวะ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดด้วย หากปฏิบัติได้ดีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังก็จะลดน้อยลง อันจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และกำลังรอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้มีโอกาสในการรับจากผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ซึ่งมีค่อนข้างน้อย
เป็นที่น่าตกใจว่า คนไทยป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 30,000 ราย ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ราว 300 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 30-50 ราย โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่อายุน้อยสุดเพียงแค่ 4 ขวบเท่านั้น
สถิติข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า โรคไตวายเรื้อรังนั้น เป็นภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพของคนไทยทุกเพศทุกวัย โดย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานอนุกรรมการป้องกันโรคไต กล่าวว่า จริงๆ แล้วการเกิดภาวะไตเสื่อมในเด็ก จนนำไปสู่ไตวายเรื้อรังเป็นผลมาจากโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก อันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ 1.กรวยไตอักเสบ ส่งผลให้เด็กมีไข้สูง ปวดบั้นเอว ปัสสาวะมีสีขุ่น ระหว่างขับถ่ายปัสสาวะจะมีอาการแสบขัด บางรายคลื่นไส้ อาเจียน 2.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขุ่น บางครั้งอาจมีเลือดปน เด็กบางคนมีปัสสาวะรดที่นอนเมื่อโตแล้ว หรือเพิ่งเป็นจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า หากพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง พบความผิดปกติดังกล่าว แนะนำว่า ควรจะเร่งตรวจปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยออกมาว่า เด็กป่วยเป็นโรคใด เนื่องจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเป็นอาการนำที่บ่งบอกถึงความผิดปกติแต่กำเนิดของไต และทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น ในเด็กที่เป็นกรวยไตอักเสบทุกราย หรือเด็กเล็กที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือมีการติดเชื้อซ้ำควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวนด์หาแผลเป็นที่ไต เป็นต้น โดยหากแพทย์ตรวจพบโดยเร็ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
“โดยส่วนใหญ่เด็กโตที่ป่วยเป็นภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสวะ เมื่อป่วยนานๆ เข้า อาจจะเริ่มเข้าสู่ภาวะไตเริ่มเสื่อม โดยร่างกายแสดงลักษณะอาการบวม ผิวซีด อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย ทำให้เด็กมีอาการอ่อนแอ ซึ่งกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะเกิดโรคไตเรื้อรังจนต้องรับการฟอกไต และเปลี่ยนไตใหม่ ที่ได้รับบริจาคจากญาติหรือผูมีจิตศรัทธา” ผศ.นพ.สุรศักดิ์ อธิบาย
ปัญหา คือ ในการดำเนินการรักษาด้วยการฟอกไต หรือการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยเด็กค่อนข้างลำบาก เพราะเด็กจะมีภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ใหญ่ การใส่ไตเข้าไปใหม่เหมือนหนึ่งสิ่งแปลกปลอม ร่างกายอาจต่อต้าน ทำให้การพักฟื้นต้องใช้เวลานาน หรือบางครั้งแพทย์ต้องให้ยาลดภูมิแก่เด็ก แต่ทั้งนี้ การแพทย์จะดำเนินการได้ต้องทำในเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปี หรือมีน้ำหนักมากกว่า 15 กิโลกรัมเท่านั้น เพราะในเด็กนั้นจะพบว่าเด็กจะมีการขับยามากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้แพทย์รักษาระดับยาที่ให้ได้ยากขึ้น รวมถึงเด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายและอารมณ์ บางครั้งจะมีการต่อต้านหรือเบื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ทำให้รับประทานยาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ไตถูกทำลาย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงค่อนข้างล่าช้า แต่ก็ไม่ได้มีผลอันตรายมากนักหากปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
ส่วนวิธีดูแลเด็กไม่ให้มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะไตเสื่อมพญ.ธนันดา ตระการวนิช อนุกรรมการป้องกันโรคไต อธิบายเพิ่มเติมว่า พ่อแม่และผู้ปกครองก็ควรให้คำแนะนำในการทำความสะอาดหลังการขับถ่าย ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอุจจาระ เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ดื่มน้ำมากๆและปัสสาวะให้เป็นเวลา และควรปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง ไม่กลั้นปัสสาวะ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดด้วย หากปฏิบัติได้ดีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังก็จะลดน้อยลง อันจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และกำลังรอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้มีโอกาสในการรับจากผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ซึ่งมีค่อนข้างน้อย