ปลัดแรงงาน เผย ให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบแรงเลยไม่ได้ ต้องให้ตัวอื่นก่อน เหตุผลข้างเคียงเยอะ-ส่งผลกระทบกองทุน
วันนี้ (3 มี.ค.) ที่ กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เรียกร้องต่อคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยเฉพาะประเด็นการใช้ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา ที่ผู้ประกันตนของประกันสังคมเข้าไม่ถึงยาตัวนี้ ขณะที่บัตรรักษาฟรีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มียาตัวนี้ให้แก่ผู้ป่วยว่า ยาชนิดนี้เป็นยาที่แรง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น ซึ่งอาจจะใช้ยาชนิดอื่นที่เบากว่านี้ได้ ทำให้ไม่ผลกระทบกองทุนมากขึ้นด้วย
นายสมเกียรติ กล่าวว่า การที่ทางประกันสังคมได้ให้ยาต้านไวรัสไปกดเชื้อไว้นั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ ต้องให้กินยาพื้นฐานก่อน อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง แต่ในระยะยาวก็อาจจะดื้อยาได้ ซึ่งต้องมีการบังคับและแนะนำให้กินยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการดื้อยา ซึ่งกรณีที่ดื้อยาขึ้นมาก็ต้องใช้ยาชนิดอื่นๆ ซึ่งมีหลายตัว โดยทางเราจะให้ยาแรง หรือยาที่แพงเลยก็ไม่ได้ เพราะยังมียาตัวอื่นๆ อีกที่สามารถต้านไวรัสได้เหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่ว่าเราอยากจะประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องมองถึงสถานะของกองทุนด้วย อีกทั้งยังมีเรื่องของผลข้างเคียงที่จะเพิ่มขึ้นจากการใช้ยาแรงอีกด้วย
“ตัวยาที่แรงขึ้นก็จะทำให้มีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยมากขึ้น ทำให้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทาง สปส.ก็จะมีระบบกลั่นกรองการจ่ายยาให้ผู้ป่วยมากขึ้น อีกทั้งหากใช้ตัวยาที่แรงกันทุกคนจะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของกองทุน อย่างไรก็ตาม หากทางผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่จะเข้าถึงยาตัวนี้ ก็ขอให้ประสานมาทางประกันสังคม” นายสมเกียรติ กล่าว
วันนี้ (3 มี.ค.) ที่ กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เรียกร้องต่อคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยเฉพาะประเด็นการใช้ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา ที่ผู้ประกันตนของประกันสังคมเข้าไม่ถึงยาตัวนี้ ขณะที่บัตรรักษาฟรีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มียาตัวนี้ให้แก่ผู้ป่วยว่า ยาชนิดนี้เป็นยาที่แรง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น ซึ่งอาจจะใช้ยาชนิดอื่นที่เบากว่านี้ได้ ทำให้ไม่ผลกระทบกองทุนมากขึ้นด้วย
นายสมเกียรติ กล่าวว่า การที่ทางประกันสังคมได้ให้ยาต้านไวรัสไปกดเชื้อไว้นั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ ต้องให้กินยาพื้นฐานก่อน อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง แต่ในระยะยาวก็อาจจะดื้อยาได้ ซึ่งต้องมีการบังคับและแนะนำให้กินยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการดื้อยา ซึ่งกรณีที่ดื้อยาขึ้นมาก็ต้องใช้ยาชนิดอื่นๆ ซึ่งมีหลายตัว โดยทางเราจะให้ยาแรง หรือยาที่แพงเลยก็ไม่ได้ เพราะยังมียาตัวอื่นๆ อีกที่สามารถต้านไวรัสได้เหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่ว่าเราอยากจะประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องมองถึงสถานะของกองทุนด้วย อีกทั้งยังมีเรื่องของผลข้างเคียงที่จะเพิ่มขึ้นจากการใช้ยาแรงอีกด้วย
“ตัวยาที่แรงขึ้นก็จะทำให้มีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยมากขึ้น ทำให้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทาง สปส.ก็จะมีระบบกลั่นกรองการจ่ายยาให้ผู้ป่วยมากขึ้น อีกทั้งหากใช้ตัวยาที่แรงกันทุกคนจะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของกองทุน อย่างไรก็ตาม หากทางผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่จะเข้าถึงยาตัวนี้ ก็ขอให้ประสานมาทางประกันสังคม” นายสมเกียรติ กล่าว