กทม.เตรียมย้ายผู้ค้าหาบเร่แผงลอยสยามสแควร์ เข้าแผงที่จุฬาฯจัดเตรียม 435 แผงดีเดย์ 7มี.ค.นี้ โดยรับผู้ค้า 592 คนที่ลงทะเบียนไว้ คิดค่าเช่าแผงอาหาร 100 บาท เปิดให้ 2 กะ แผงเสื้อผ้ากะเดียวหลัง 2 ทุ่ม 200 บาทต่อแผง “ธีระชน” เผย หากยังพบผู้ค้าฝ่าฝืนเตรียมจับปรับเต็มอัตรา 2,000 บาทต่อวัน พร้อมส่งคอมมานโด-เทศกิจ ตรึงพื้นที่
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเถื่อนย่านสยามสแควร์ บริเวณทางเท้าและพื้นผิวจราจรบางส่วนตั้งแต่บริเวณถนนพระราม 1 ถนนอังรีดูนังต์ และถนนพญาไท ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเขตปทุมวัน ตัวแทนจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) สำนักเทศกิจ และ สน.พื้นที่ ว่า จากมติที่ประชุมได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ โดยทางสำนักทรัพย์สินฯ จะจัดพื้นที่ประมาณ 1 x 2 เมตร ในซอยต่างๆ ภายในพื้นที่สยามสแควร์ ให้ผู้ค้าเข้าไปวางจำหน่ายสินค้า โดยสามารถรองรับแผงค้าได้ 435 แผง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทจำหน่ายเสื้อผ้า ของใช้ 334 แผงค้า ขายตั้งแต่ 20.00 น.เป็นต้นไป ค่าเช่าแผงวันละ 200 บาท และประเภทอาหาร 129 แผง โดยจะแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบกลางวัน และรอบเย็น วันละ 100 บาท
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการย้ายแผงค้าในวันที่ 7 มี.ค.นี้ ซึ่งขณะนี้เริ่มเข้าไปทำความเข้าใจกับผู้ค้า หากยังมีผู้ค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ก็จะดำเนินการปรับสูงสุดทุกวันในอัตรา 2,000 บาท ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ควบคู่ไปกับการตรวจสอบผู้มีอิทธิพลมาแอบอ้างจัดเก็บค่าเช่าแผงค้าภายหลังที่ทราบข้อมูลว่ามีบุคคลอักษรย่อ “บ.คลองเตย” เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ค้า ซึ่งทาง บช.น.จะเร่งตรวจสอบต่อไป หากพบว่ายังเข้ามาเกี่ยวข้องอีกจริงก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ พื้นที่ 435 แผงที่ทางจุฬาฯ จัดสรรไว้นั้นสามารถรองรับผู้ค้าได้สูงสุด 592 แผง โดยจะแบ่งผู้ค้าอาหารเป็น 2 รอบ
“ตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.เป็นต้นไป กทม.จะเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจเขต และส่วนกลาง พร้อมทั้งประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยคอมมานโดจาก บช.น. เข้ามาตรึงกำลังในพื้นที่ไม่ให้มีการฝ่าฝืนการค้าขายในพื้นที่ดังกล่าวอีกเด็ดขาด แต่ทั้งนี้ ก็เชื่อว่า จะสามารถทำความเข้าใจกับทางกลุ่มผู้ค้าและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ปะทะหรือความรุนแรงแต่อย่างใด” นายธีระชน กล่าว
ด้าน รศ.น.อ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดี กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ล่าสุดทางจุฬาฯ ได้เตรียมการปรับภูมิทัศน์ทางเท้าบริเวณหน้าสยามสแควร์เอาไว้พร้อมแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางจุฬาฯ ยังคงกังวลว่า หลังจากย้ายผู้ค้าตามบัญชีเดิมมาแล้วนั้น อาจมีผู้ค้ารายใหม่เข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งหากไม่เพียงพออาจจะต้องมีการแบ่งวันในการจำหน่ายสินค้า แต่เบื้องต้นยังไม่ทราบตัวเลขผู้ค้าที่แน่นอน เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง จึงจะต้องยึดตามจำนวนผู้ค้าที่เคยลงทะเบียนไว้เดิม โดยจะมีการเซ็นต์สัญญากับผู้ค้าก่อนในช่วงแรกเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าเช่า ส่วนผู้ค้าบางส่วนที่ได้ไปลงทะเบียนเพื่อไปจำหน่ายสินค้าที่จตุจักรสแควร์ ขณะนี้ก็ให้มาตั้งแผงค้าได้ในพื้นที่ที่จุฬาฯ จัดให้ด้วย
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเถื่อนย่านสยามสแควร์ บริเวณทางเท้าและพื้นผิวจราจรบางส่วนตั้งแต่บริเวณถนนพระราม 1 ถนนอังรีดูนังต์ และถนนพญาไท ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเขตปทุมวัน ตัวแทนจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) สำนักเทศกิจ และ สน.พื้นที่ ว่า จากมติที่ประชุมได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ โดยทางสำนักทรัพย์สินฯ จะจัดพื้นที่ประมาณ 1 x 2 เมตร ในซอยต่างๆ ภายในพื้นที่สยามสแควร์ ให้ผู้ค้าเข้าไปวางจำหน่ายสินค้า โดยสามารถรองรับแผงค้าได้ 435 แผง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทจำหน่ายเสื้อผ้า ของใช้ 334 แผงค้า ขายตั้งแต่ 20.00 น.เป็นต้นไป ค่าเช่าแผงวันละ 200 บาท และประเภทอาหาร 129 แผง โดยจะแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบกลางวัน และรอบเย็น วันละ 100 บาท
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการย้ายแผงค้าในวันที่ 7 มี.ค.นี้ ซึ่งขณะนี้เริ่มเข้าไปทำความเข้าใจกับผู้ค้า หากยังมีผู้ค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ก็จะดำเนินการปรับสูงสุดทุกวันในอัตรา 2,000 บาท ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ควบคู่ไปกับการตรวจสอบผู้มีอิทธิพลมาแอบอ้างจัดเก็บค่าเช่าแผงค้าภายหลังที่ทราบข้อมูลว่ามีบุคคลอักษรย่อ “บ.คลองเตย” เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ค้า ซึ่งทาง บช.น.จะเร่งตรวจสอบต่อไป หากพบว่ายังเข้ามาเกี่ยวข้องอีกจริงก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ พื้นที่ 435 แผงที่ทางจุฬาฯ จัดสรรไว้นั้นสามารถรองรับผู้ค้าได้สูงสุด 592 แผง โดยจะแบ่งผู้ค้าอาหารเป็น 2 รอบ
“ตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.เป็นต้นไป กทม.จะเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจเขต และส่วนกลาง พร้อมทั้งประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยคอมมานโดจาก บช.น. เข้ามาตรึงกำลังในพื้นที่ไม่ให้มีการฝ่าฝืนการค้าขายในพื้นที่ดังกล่าวอีกเด็ดขาด แต่ทั้งนี้ ก็เชื่อว่า จะสามารถทำความเข้าใจกับทางกลุ่มผู้ค้าและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ปะทะหรือความรุนแรงแต่อย่างใด” นายธีระชน กล่าว
ด้าน รศ.น.อ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดี กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ล่าสุดทางจุฬาฯ ได้เตรียมการปรับภูมิทัศน์ทางเท้าบริเวณหน้าสยามสแควร์เอาไว้พร้อมแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางจุฬาฯ ยังคงกังวลว่า หลังจากย้ายผู้ค้าตามบัญชีเดิมมาแล้วนั้น อาจมีผู้ค้ารายใหม่เข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งหากไม่เพียงพออาจจะต้องมีการแบ่งวันในการจำหน่ายสินค้า แต่เบื้องต้นยังไม่ทราบตัวเลขผู้ค้าที่แน่นอน เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง จึงจะต้องยึดตามจำนวนผู้ค้าที่เคยลงทะเบียนไว้เดิม โดยจะมีการเซ็นต์สัญญากับผู้ค้าก่อนในช่วงแรกเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าเช่า ส่วนผู้ค้าบางส่วนที่ได้ไปลงทะเบียนเพื่อไปจำหน่ายสินค้าที่จตุจักรสแควร์ ขณะนี้ก็ให้มาตั้งแผงค้าได้ในพื้นที่ที่จุฬาฯ จัดให้ด้วย