กรมแพทย์ชูแผนพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ตั้งเป้าลดความเสียหายในในภัยพิบัติ ร้อยละ 15 แย้มอาจตั้งทีมเพิ่มในส่วนภูมิภาค
นพ.เรวัติ วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวในการประชมวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี ครั้งที่ 22 ปี 2554 เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการพัฒนาศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma Center) ว่า ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ทางกรมการแพทย์ได้มีการหารือในเรื่องของการพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน และระบบการส่งต่อผู้ป่วยจากกรณีดังกล่าว กระจายไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการตรวจรักษา ในฐานะที่ รพ.ราชวิถี เป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งที่ต้องทำหน้าที่ในการบริการดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่า รพ.ศูนย์เป็นสถานบริการที่มีศักยภาพในการบริการดังกล่าวมากกว่าโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งนี้ทางกรมฯ ได้มีนโยบายให้มีการเตรียมซ้อมการบริการของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (ชุด MERT) ด้วยเพื่อรองรับผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินในเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เป็นสาธารณภัยซึ่งขณะนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชกรรมประมาณชุดละ 16 คน
นพ.เรวัติ กล่าวด้วยว่า ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์(MERT) เป็นทีมที่มีขนาดกระทัดรัดสามารถออกไปปฏิบัติภารกิจ เมื่อได้รับการร้องขอจากพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม สึนามิ วาตภัย เป็นต้น หลังจากได้รับการสั่งการจากสายการบังคับบัญชา ภายใน 12 ชั่วโมง โดยความสามารถของทีมจะต้องช่วยลดความเสียหายของแต่ละพื้นที่ได้ราวร้อย 15 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องคัดแยก ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินระดับอาการรุนแรงเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจำนวนมาก ในภัยพิบัติระยะแรกจนสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลปลายทางได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถดูแลตนเองได้ในระยะเวลาอันสั้น (3 วัน) และไม่รบกวนทรัพยากรของท้องถิ่น อีกทั้งยังสามารถปรับบทบาทของทีมได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบนโยบายของกรมการแพทย์ตามแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 2553-2555 โดยมีความพยายามจะตั้งชุกปฏิบัติการดังกล่าว ในส่วนภูมิภาคราวภาคละ 3 ชุด แล้วจะดำเนินการซ้อมแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม
ด้าน นพ.ไพโรจน์ เครือกาญจนา หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร รพ.ราชวิถี กล่าวว่า ทั้งนี้ทางชุด MERT จะมีการซ้อมช่วยเหลือผู้ป่วยครั้งใหญ่ในรอบปีราวเดือนพฤษภาคม เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยจะเน้นที่การพัฒนาระบบส่งต่อตามนโยบายของ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้เร็วขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ อาจมีการพิจารณาถึงประเด็นการเพิ่มบุคลากรในแต่ละชุดด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปัญหาของทีม MERT ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องอำนวยความสะดวกที่ยังไม่เพียงพอ เช่น เครื่องปั่นไฟฟ้า ซึ่งมีความจำเป็นการปฏิบัติงานอย่างมาก ดังนั้นหากจะพัฒนาส่วนนี้จะต้องเร่งแก้ไขในจุดนี้ด้วย ซึ่งคาดว่าการดำเนินการของกรมการแพทย์จะสามารถพัฒนาได้ในเร็วๆ นี้
นพ.เรวัติ วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวในการประชมวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี ครั้งที่ 22 ปี 2554 เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการพัฒนาศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma Center) ว่า ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ทางกรมการแพทย์ได้มีการหารือในเรื่องของการพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน และระบบการส่งต่อผู้ป่วยจากกรณีดังกล่าว กระจายไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการตรวจรักษา ในฐานะที่ รพ.ราชวิถี เป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งที่ต้องทำหน้าที่ในการบริการดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่า รพ.ศูนย์เป็นสถานบริการที่มีศักยภาพในการบริการดังกล่าวมากกว่าโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งนี้ทางกรมฯ ได้มีนโยบายให้มีการเตรียมซ้อมการบริการของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (ชุด MERT) ด้วยเพื่อรองรับผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินในเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เป็นสาธารณภัยซึ่งขณะนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชกรรมประมาณชุดละ 16 คน
นพ.เรวัติ กล่าวด้วยว่า ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์(MERT) เป็นทีมที่มีขนาดกระทัดรัดสามารถออกไปปฏิบัติภารกิจ เมื่อได้รับการร้องขอจากพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม สึนามิ วาตภัย เป็นต้น หลังจากได้รับการสั่งการจากสายการบังคับบัญชา ภายใน 12 ชั่วโมง โดยความสามารถของทีมจะต้องช่วยลดความเสียหายของแต่ละพื้นที่ได้ราวร้อย 15 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องคัดแยก ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินระดับอาการรุนแรงเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจำนวนมาก ในภัยพิบัติระยะแรกจนสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลปลายทางได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถดูแลตนเองได้ในระยะเวลาอันสั้น (3 วัน) และไม่รบกวนทรัพยากรของท้องถิ่น อีกทั้งยังสามารถปรับบทบาทของทีมได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบนโยบายของกรมการแพทย์ตามแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 2553-2555 โดยมีความพยายามจะตั้งชุกปฏิบัติการดังกล่าว ในส่วนภูมิภาคราวภาคละ 3 ชุด แล้วจะดำเนินการซ้อมแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม
ด้าน นพ.ไพโรจน์ เครือกาญจนา หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร รพ.ราชวิถี กล่าวว่า ทั้งนี้ทางชุด MERT จะมีการซ้อมช่วยเหลือผู้ป่วยครั้งใหญ่ในรอบปีราวเดือนพฤษภาคม เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยจะเน้นที่การพัฒนาระบบส่งต่อตามนโยบายของ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้เร็วขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ อาจมีการพิจารณาถึงประเด็นการเพิ่มบุคลากรในแต่ละชุดด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปัญหาของทีม MERT ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องอำนวยความสะดวกที่ยังไม่เพียงพอ เช่น เครื่องปั่นไฟฟ้า ซึ่งมีความจำเป็นการปฏิบัติงานอย่างมาก ดังนั้นหากจะพัฒนาส่วนนี้จะต้องเร่งแก้ไขในจุดนี้ด้วย ซึ่งคาดว่าการดำเนินการของกรมการแพทย์จะสามารถพัฒนาได้ในเร็วๆ นี้