เภสัชกรหญิง แฉพบผู้ป่วยพื้นที่ กทม.กว่า 1,000 ราย มียาเหลือใช้สูงสุด มูลค่ารวม 4 หมื่นบาทต่อราย ชี้ 20 เปอร์เซ็นใช้สิทธิ ขรก.เบิกยานอกบัญชีแพงเว่อร์
เภสัชกรหญิงรายหนึ่ง เปิดเผยว่า จากการศึกษาสถานการณ์ของการใช้ยาของผู้ป่วยในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปี 2553 กว่า 89 ชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 1,059 ราย พบว่า ผู้ป่วยส่วนมากป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน และโรคอ้วน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มียาเก็บไว้ในบ้านเรือนไม่ต่ำกว่า 10 ประเภท ในจำนวนนี้พบยาหมดอายุ เสื่อมสภาพราว 5-6 ประเภท บางรายพบยาซ้ำประเภทกว่า 2-3 ชุดและที่น่าห่วง และหมดอายุแล้ว ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรับยาใหม่เรื่อยๆ ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ มียาเหลือใช้มูลค่าสูงสุดถึงรายละ 40,000 บาท
เภสัชกรรายเดิม กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจยาเหลือใช้ในผู้ป่วยนั้นพบว่าร้อยละ 20 หรือราว 300 ราย เป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้าราชการในการรักษาพยาบาล ที่เหลือเป็นประกันสังคม และรักษาฟรีโดยผู้ป่วยในสิทธิดังกล่าวได้ใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาลดไขมันที่เรียกว่า เครสเตอร์ (Crestor) ที่มีราคาสูงถึงกล่องละ 1,000 กว่าบาท โดยพบผู้ป่วยรายหนึ่งป่วยใช้สิทธิข้าราชการเพราะมีลูกสาวเป็นพยาบาลใน รพ.สังกัด กทม.พบว่ามีการเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลักแต่ละครั้งราว 5 ประเภท ขณะที่ผู้ป่วยรายดังกล่าวมียาบางตัวที่หมดอายุ เสื่อมสภาพเก็บไว้ในบ้านคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
“สำหรับมูลค่าการใช้ยาโดยรวมของชาวชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น คาดว่า ต้องรอเวลารวบรวมข้อมูลอีกสักพักแล้วจะเผยแพร่ สู่สาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการระบบยาโดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้ข่าวของการเบิกจ่ายยาในสิทธิข้าราชการพบตัวเลขการสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาเกินความจำเป็นที่สูงขึ้น ซึ่งคิดว่าเป็นข้อมูลที่น่ากังวลอย่างมากสำหรับวงการรักษาพยาบาลของไทย เพราะขณะนี้เราล้าหลังจากต่างประเทศมาก” เภสัชกรรายเดิมกล่าว
เภสัชกรหญิงรายหนึ่ง เปิดเผยว่า จากการศึกษาสถานการณ์ของการใช้ยาของผู้ป่วยในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปี 2553 กว่า 89 ชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 1,059 ราย พบว่า ผู้ป่วยส่วนมากป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน และโรคอ้วน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มียาเก็บไว้ในบ้านเรือนไม่ต่ำกว่า 10 ประเภท ในจำนวนนี้พบยาหมดอายุ เสื่อมสภาพราว 5-6 ประเภท บางรายพบยาซ้ำประเภทกว่า 2-3 ชุดและที่น่าห่วง และหมดอายุแล้ว ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรับยาใหม่เรื่อยๆ ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ มียาเหลือใช้มูลค่าสูงสุดถึงรายละ 40,000 บาท
เภสัชกรรายเดิม กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจยาเหลือใช้ในผู้ป่วยนั้นพบว่าร้อยละ 20 หรือราว 300 ราย เป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้าราชการในการรักษาพยาบาล ที่เหลือเป็นประกันสังคม และรักษาฟรีโดยผู้ป่วยในสิทธิดังกล่าวได้ใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาลดไขมันที่เรียกว่า เครสเตอร์ (Crestor) ที่มีราคาสูงถึงกล่องละ 1,000 กว่าบาท โดยพบผู้ป่วยรายหนึ่งป่วยใช้สิทธิข้าราชการเพราะมีลูกสาวเป็นพยาบาลใน รพ.สังกัด กทม.พบว่ามีการเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลักแต่ละครั้งราว 5 ประเภท ขณะที่ผู้ป่วยรายดังกล่าวมียาบางตัวที่หมดอายุ เสื่อมสภาพเก็บไว้ในบ้านคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
“สำหรับมูลค่าการใช้ยาโดยรวมของชาวชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น คาดว่า ต้องรอเวลารวบรวมข้อมูลอีกสักพักแล้วจะเผยแพร่ สู่สาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการระบบยาโดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้ข่าวของการเบิกจ่ายยาในสิทธิข้าราชการพบตัวเลขการสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาเกินความจำเป็นที่สูงขึ้น ซึ่งคิดว่าเป็นข้อมูลที่น่ากังวลอย่างมากสำหรับวงการรักษาพยาบาลของไทย เพราะขณะนี้เราล้าหลังจากต่างประเทศมาก” เภสัชกรรายเดิมกล่าว