บ้านเรากำลังเผชิญปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเข้าขั้นวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใต้ท้องทะเลไทยที่เคยสวยงาม อุดมสมบูรณ์ มาวันนี้เกิดปะการังฟอกขาว จนเหลือรอดไม่ถึง 20%
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด ได้จัดกิจกรรมรวมพลังสดใส ใจอาสา โดยขออาสาสมัครจากเยาวชน 800 คน ช่วยกันคนละไม้คนละมือพลิกฟื้นระบบธรรมชาติ ด้วยการปลูกป่าชายเลน ปลูกปะการัง ที่อ่าวดงตาล เกาะขาม จ.ชลบุรี
ฉัตรทิพย์ ทิพย์พิริยพงศ์ หรือ ตุ้ย นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย AIT และESCP EUROPE กล่าวว่า สองมือนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมฟื้นฟู อนุรักษ์ทะเลไทย ก่อนไม่มีทะเลไทย พอได้ยินข่าวปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วท้องทะเลไทย ทำให้ปะการังตาย เหลือไม่ถึง 20% สัตว์น้ำลดลง รู้สึกใจหาย ความสวยงามใต้ท้องทะเล เคยเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติได้ชมความสวยงาม วันนี้ถึงเวลาที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์ส่วนที่เหลืออยู่และฟื้นฟูส่วนที่ขาดหายไปให้กลับมาดั่งเดิม
ตุ้ย บอกว่า เธอเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน พอรู้ว่า เรดบูล สปิริต รวมพลคนใจอาสา พลิกฟื้นคืนปะการังให้ท้องทะเล ปลูกป่าชายเลน บริเวณเกาะขาว อ่าวดงตาล ของฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี จึงขันอาสาร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
“พอลงมือทำถึงรู้ว่าขั้นตอนการปลูกปะการังในท่อพีวีซีละเอียดอ่อนมาก เจ้าหน้าที่เล่าว่า เลี้ยงกว่าจะเจริญเติบโตนิ้วหนึ่งต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน เป็นปี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ปะการัง สภาพอาหาร อุณหภูมิของน้ำใต้ท้องทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำร้อนปะการังที่เหล่าอาสาปลูกอาจตายหมด จึงขอฝากถึงทุกคนมาเที่ยวทะเลอย่าเหยียบปะการัง และช่วยกันลดโลกร้อนด้วยกันเลือกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ตุ้ย ยกตัวอย่างง่ายๆ ในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อมว่า โดยนำเป้ไปซื้อของ จะลดการใช้ถุงพลาสติก ซื้ออาหารจะนำกล่องไปใส่ ไม่ใส่โฟม หากทุกคนช่วยกันคนละเล็กละน้อย และขอให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชื่อว่า สิ่งแวดล้อมจะดีขึ้น
น.ส.เพ็ญพรรณ งามวิจิตรนันท์ หรือ เปิ้ล หนึ่งในเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนี้ แสดงความเห็นว่า กิจกรรมปลูกปะการัง ปลูกป่า เก็บขยะ เป็นการแก้ปัญหาปลายน้ำ เราต้องไปดูว่าต้นน้ำที่ทำ ลาย ธรรมชาติ ทำล ายสิ่งแวดล้อม เกิดจากอะไร ต้องแก้จุดนั้น ขณะเดียวกันปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนหันมารักธรรมชาติ เตือนสติว่าถ้าเราทำลายธรรมชาติๆ จะมีผลกับการดำรงชีวิต อย่างตัดป่าชายเลน ไม่ใช่ป่าไปหมดอย่างเดียว สัตว์น้ำที่อาศัยก็หายไปด้วย สมมติว่าปะการังตายหมด สัตว์น้ำที่อาศัยปะการัง ก็อยู่ไม่ได้ นักท่องเที่ยวก็ไม่มา เพราะไม่รู้ว่าดำน้ำไปดูอะไร
“ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องลุกขึ้นมาช่วยกันอนุรักษ์และพลิกฟื้นธรรมชาติของท้องถิ่นให้คนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์ ใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน แต่อย่าลืมสร้างทดแทนให้ทันกันด้วย” เปิ้ล ทิ้งท้าย
ด้าน นาวาเอก มนตรี รอดวิเศษ ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพเรือภาคที่ 1 เล่าว่า ภาวะโลกร้อนครั้งนี้ คาดว่ารุนแรงที่สุด เพราะปะการังที่เกิดจากธรรมชาติ รวมทั้งปะการังที่กลุ่มอาสาสมัคร นักท่องเที่ยว ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปลูกไว้ เหลือประมาณ 20-30% คงต้องเร่งปลูกเพิ่มเพื่อทดแทนส่วนที่ตายไป นอกจากนี้ กองทัพเรือ ร่วมกับนักวิชาการ เพาะพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่กำลังจะสูญพันธุ์ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
“สมเด็จพระเทพฯ ทรงห่วงว่าพันธุ์ไม้ป่าชายเลนจะสูญพันธุ์ เร่งให้ขยายพันธุ์แล้วนำมาปลูกเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ให้ใกล้เคียงธรรมชาติ หากผืนป่าอุดมสมบูรณ์ สัตว์ต่างๆ จะกลับมาเช่นกัน” นาวาเอก มนตรี กล่าวทิ้งท้าย
โดย...สุกัญญา แสงงาม
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด ได้จัดกิจกรรมรวมพลังสดใส ใจอาสา โดยขออาสาสมัครจากเยาวชน 800 คน ช่วยกันคนละไม้คนละมือพลิกฟื้นระบบธรรมชาติ ด้วยการปลูกป่าชายเลน ปลูกปะการัง ที่อ่าวดงตาล เกาะขาม จ.ชลบุรี
ฉัตรทิพย์ ทิพย์พิริยพงศ์ หรือ ตุ้ย นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย AIT และESCP EUROPE กล่าวว่า สองมือนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมฟื้นฟู อนุรักษ์ทะเลไทย ก่อนไม่มีทะเลไทย พอได้ยินข่าวปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วท้องทะเลไทย ทำให้ปะการังตาย เหลือไม่ถึง 20% สัตว์น้ำลดลง รู้สึกใจหาย ความสวยงามใต้ท้องทะเล เคยเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติได้ชมความสวยงาม วันนี้ถึงเวลาที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์ส่วนที่เหลืออยู่และฟื้นฟูส่วนที่ขาดหายไปให้กลับมาดั่งเดิม
ตุ้ย บอกว่า เธอเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน พอรู้ว่า เรดบูล สปิริต รวมพลคนใจอาสา พลิกฟื้นคืนปะการังให้ท้องทะเล ปลูกป่าชายเลน บริเวณเกาะขาว อ่าวดงตาล ของฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี จึงขันอาสาร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
“พอลงมือทำถึงรู้ว่าขั้นตอนการปลูกปะการังในท่อพีวีซีละเอียดอ่อนมาก เจ้าหน้าที่เล่าว่า เลี้ยงกว่าจะเจริญเติบโตนิ้วหนึ่งต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน เป็นปี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ปะการัง สภาพอาหาร อุณหภูมิของน้ำใต้ท้องทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำร้อนปะการังที่เหล่าอาสาปลูกอาจตายหมด จึงขอฝากถึงทุกคนมาเที่ยวทะเลอย่าเหยียบปะการัง และช่วยกันลดโลกร้อนด้วยกันเลือกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ตุ้ย ยกตัวอย่างง่ายๆ ในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อมว่า โดยนำเป้ไปซื้อของ จะลดการใช้ถุงพลาสติก ซื้ออาหารจะนำกล่องไปใส่ ไม่ใส่โฟม หากทุกคนช่วยกันคนละเล็กละน้อย และขอให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชื่อว่า สิ่งแวดล้อมจะดีขึ้น
น.ส.เพ็ญพรรณ งามวิจิตรนันท์ หรือ เปิ้ล หนึ่งในเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนี้ แสดงความเห็นว่า กิจกรรมปลูกปะการัง ปลูกป่า เก็บขยะ เป็นการแก้ปัญหาปลายน้ำ เราต้องไปดูว่าต้นน้ำที่ทำ ลาย ธรรมชาติ ทำล ายสิ่งแวดล้อม เกิดจากอะไร ต้องแก้จุดนั้น ขณะเดียวกันปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนหันมารักธรรมชาติ เตือนสติว่าถ้าเราทำลายธรรมชาติๆ จะมีผลกับการดำรงชีวิต อย่างตัดป่าชายเลน ไม่ใช่ป่าไปหมดอย่างเดียว สัตว์น้ำที่อาศัยก็หายไปด้วย สมมติว่าปะการังตายหมด สัตว์น้ำที่อาศัยปะการัง ก็อยู่ไม่ได้ นักท่องเที่ยวก็ไม่มา เพราะไม่รู้ว่าดำน้ำไปดูอะไร
“ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องลุกขึ้นมาช่วยกันอนุรักษ์และพลิกฟื้นธรรมชาติของท้องถิ่นให้คนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์ ใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน แต่อย่าลืมสร้างทดแทนให้ทันกันด้วย” เปิ้ล ทิ้งท้าย
ด้าน นาวาเอก มนตรี รอดวิเศษ ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพเรือภาคที่ 1 เล่าว่า ภาวะโลกร้อนครั้งนี้ คาดว่ารุนแรงที่สุด เพราะปะการังที่เกิดจากธรรมชาติ รวมทั้งปะการังที่กลุ่มอาสาสมัคร นักท่องเที่ยว ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปลูกไว้ เหลือประมาณ 20-30% คงต้องเร่งปลูกเพิ่มเพื่อทดแทนส่วนที่ตายไป นอกจากนี้ กองทัพเรือ ร่วมกับนักวิชาการ เพาะพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่กำลังจะสูญพันธุ์ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
“สมเด็จพระเทพฯ ทรงห่วงว่าพันธุ์ไม้ป่าชายเลนจะสูญพันธุ์ เร่งให้ขยายพันธุ์แล้วนำมาปลูกเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ให้ใกล้เคียงธรรมชาติ หากผืนป่าอุดมสมบูรณ์ สัตว์ต่างๆ จะกลับมาเช่นกัน” นาวาเอก มนตรี กล่าวทิ้งท้าย
โดย...สุกัญญา แสงงาม