สภาเทคนิคการแพทย์ เตรียมหาทางออก นศ.สาขาเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จฯ กรณีฝึกวิชาชีพไม่ได้
นพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ เลขาธิการสภาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงกรณีนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ สภาได้พิจารณามีมติไม่รับรองหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ของสถาบันดังกล่าวตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เหตุเพราะหลักสูตรไม่ตรงตามเกณฑ์ข้อบังคับของสภา โดยทางสภาได้แนะนำว่าให้ไปปรับปรุงข้อบกพร่องให้พร้อมแล้วสามารถยื่นขอใบรับรองหลักสูตรครั้งที่ 2 ได้ ซึ่งตามหลักการแล้วสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยต่างๆ จะยื่นขอรับรองหลักสูตรใหม่ได้ต้องดำเนินการภายหลังจากมติสภาที่ไม่รับรองในครั้งแรกจำนวน 120 วัน ขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว
“จริงๆ แล้ว ตามหลักเกณฑ์หลักๆ ของการเรียนการสอนในหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ของแต่ละสถาบัน สภาต้องดูแลตั้งแต่จำนวนอาจารย์ที่ต้องตรงกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระบุไว้นั่นคือ ต้องมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 1 ท่าน ต่อนักศึกษา 8 ราย และต้องมีอุปกรณ์การเรียนการสอนของสถาบันที่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ในรายละเอียดของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ตนจำไม่ได้ว่ามีข้อบกพร่องเรื่องใดบ้าง แต่เชื่อว่าสถาบันรับรู้ด้วยตนเองอยู่แล้ว แต่เหตุที่ยังไม่มายื่นขอรับรองหลักสูตรรอบที่ 2 เนื่องจากยังไม่ครบ 120 วัน” นพ.สมชัย กล่าว
นพ.สมชัย กล่าวด้วยว่า ในเบื้องต้นสำหรับข้อผิดพลาดของสถาบันการศึกษา นั้นคงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ในส่วนของสภาฯ จะต้องดูแลรับผิดชอบนักศึกษา 3 ชั้นปี ของสถาบันไปก่อน โดยในสัปดาห์หน้าสภาฯจะประชุมหารือ เพื่อหาทางออกแก่นักศึกษาที่ได้รับความเดือดร้อน
นพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ เลขาธิการสภาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงกรณีนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ สภาได้พิจารณามีมติไม่รับรองหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ของสถาบันดังกล่าวตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เหตุเพราะหลักสูตรไม่ตรงตามเกณฑ์ข้อบังคับของสภา โดยทางสภาได้แนะนำว่าให้ไปปรับปรุงข้อบกพร่องให้พร้อมแล้วสามารถยื่นขอใบรับรองหลักสูตรครั้งที่ 2 ได้ ซึ่งตามหลักการแล้วสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยต่างๆ จะยื่นขอรับรองหลักสูตรใหม่ได้ต้องดำเนินการภายหลังจากมติสภาที่ไม่รับรองในครั้งแรกจำนวน 120 วัน ขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว
“จริงๆ แล้ว ตามหลักเกณฑ์หลักๆ ของการเรียนการสอนในหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ของแต่ละสถาบัน สภาต้องดูแลตั้งแต่จำนวนอาจารย์ที่ต้องตรงกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระบุไว้นั่นคือ ต้องมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 1 ท่าน ต่อนักศึกษา 8 ราย และต้องมีอุปกรณ์การเรียนการสอนของสถาบันที่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ในรายละเอียดของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ตนจำไม่ได้ว่ามีข้อบกพร่องเรื่องใดบ้าง แต่เชื่อว่าสถาบันรับรู้ด้วยตนเองอยู่แล้ว แต่เหตุที่ยังไม่มายื่นขอรับรองหลักสูตรรอบที่ 2 เนื่องจากยังไม่ครบ 120 วัน” นพ.สมชัย กล่าว
นพ.สมชัย กล่าวด้วยว่า ในเบื้องต้นสำหรับข้อผิดพลาดของสถาบันการศึกษา นั้นคงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ในส่วนของสภาฯ จะต้องดูแลรับผิดชอบนักศึกษา 3 ชั้นปี ของสถาบันไปก่อน โดยในสัปดาห์หน้าสภาฯจะประชุมหารือ เพื่อหาทางออกแก่นักศึกษาที่ได้รับความเดือดร้อน