สธ.ชี้ ภัยสารกำจัดศัตรูพืช สะสมในร่างกายเรื้อรัง ทำให้ “เซ็กซ์เสื่อม เป็นหมัน มะเร็ง” เปิดโครงการตรวจเลือดเกษตรกรหาสารพิษตกค้างอันตราย เริ่ม 14 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป เป้าปีนี้ 840,000 คน พร้อมเตรียมผลักดันโครงการเป็นวาระแห่งชาติ และบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ตรวจสุขภาพฟรี
วันนี้ (14 ก.พ.) นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดตัวโครงการ “เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส” ที่โรงแรมสตาร์ อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ป้องกันการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตร และคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคทั้งประเทศ ให้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ดำเนินการเป็นปีแรก เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปี 2554 เริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป
ในโครงการดังกล่าว จะให้บริการตรวจเลือดแก่เกษตรกรทุกจังหวัดจำนวน 840,000 คนฟรี เฉลี่ยอำเภอละ 1,000 คน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน โดยการค้นหาเกษตรกรที่มีความเสี่ยง และตรวจเลือดโดยใช้ชุดตรวจสารพิษในเลือดภาคสนาม รู้ผลเร็วภายใน 10 นาที หากพบว่ามีสารพิษในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จะนำสมุนไพรรางจืดซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นยารสเย็น ใช้แก้พิษเบื่อเมา จากเห็ดพิษ สารหนู หรือยาฆ่าแมลง โดยผลิตในรูปของชาชงสำเร็จ มาใช้ล้างพิษในร่างกาย รวมทั้งมีบริการตรวจคัดกรอง ให้คำปรึกษาวิธีบรรเทาปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดให้เกษตรกรด้วย นอกจากนี้ จะมีการยกมาตรฐานตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 28 แห่ง ให้มีระบบการตรวจเฝ้าระวังสารตกค้าง อบรมผู้ค้าให้มีความรู้ความเข้าใจอันตรายสารกำจัดศัตรูพืช และคัดเลือกผักผลไม้ที่ปลอดภัยมาจำหน่ายผู้บริโภค คาดว่า จะสามารถประเมินผลได้ภายใน 3 เดือน
ข้อมูลจากสำนักงานสถิตแห่งชาติ ล่าสุด ในปี 2551 ทั่วประเทศ มีเกษตรกร 14.1 ล้านคน เกษตรกรร้อยละ 60 มีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งกว่าครึ่งใช้สารเคมี จากข้อมูลการฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลและพืชไร่ในภาคตะวันออก เช่น ที่ จ.จันทบุรี ระยอง ตราด สระแก้ว ในช่วงปี 2546-2549 พบว่า ผู้ปลูกไม้ผล มีการใช้สารเคมีที่ผสมน้ำแล้วเฉลี่ยคนละ 21,791 ลิตรต่อปี มากกว่าชาวไร่ถึง 3.5 เท่าตัว โดยชาวไร่ใช้เพียงคนละ 5,997 ลิตรต่อปี สารเคมีที่ชาวสวนใช้มากอันดับ 1 ร้อยละ 54 ได้แก่ สารออการ์โนฟอสเฟต ซึ่งใช้กำจัดแมลง ส่วนชาวไร่ใช้สารกลุ่มพาราควอต กำจัดวัชพืชร้อยละ 69 และส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการใช้สารเคมี โดยพบว่าขณะที่ฉีดพ่นไม่ได้ใช้เครื่องป้องกัน เช่น แว่นตาป้องกันละอองสารเคมีร้อยละ 77 ไม่ใส่ถุงมือร้อยละ 49 และไม่ใช้ที่ปิดจมูกร้อยละ 10 จึงมีความเสี่ยงสูงที่สารเคมีจะเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการตรวจเลือดให้เกษตรกรดังกล่าว
นางพรรณสิริ กล่าวต่อว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนมากมีอันตรายต่อระบบสมองและประสาท บางชนิดมีผลกระทบต่อฮอร์โมนการสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ บางชนิดทำให้ตับอักเสบ เป็นมะเร็ง โดยอาการพิษมี 2 แบบ คือ แบบพิษเฉียบพลัน อาการเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก ท้องเสีย ตาลาย หายใจติดขัด เสียชีวิตได้ และแบบพิษเรื้อรัง อาการจะค่อยๆ ปรากฏหลังได้รับพิษ ใช้เวลานานอาจเป็นเดือน หรือเป็นปี และยังพบว่าหากหญิงตั้งครรภ์ได้รับพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทารกด้วย โดยเฉพาะอายุครรภ์ 3 เดือนแรก เนื่องจากระยะนี้อวัยวะต่างๆ ของทารกอยู่ในช่วงก่อตัว
นางพรรณสิริ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโครงการ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะผลักดันโครงการเกษตรปลอดโรค ให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเกษตรกรเป็นกำลังแรงงานที่มีมากที่สุดในประเทศ และมีความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด ประกอบด้วย หน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข มี นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อผลักดันนโยบายเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน จะผลักดันให้การตรวจเลือดหาสารตกค้างในเลือดเกษตรกรบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย ซึ่งจะสามารถใช้เชื่อมโยงกับกองทุนสุขภาพตำบล ช่วยลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยของเกษตรกรมากขึ้น
วันนี้ (14 ก.พ.) นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดตัวโครงการ “เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส” ที่โรงแรมสตาร์ อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ป้องกันการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตร และคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคทั้งประเทศ ให้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ดำเนินการเป็นปีแรก เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปี 2554 เริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป
ในโครงการดังกล่าว จะให้บริการตรวจเลือดแก่เกษตรกรทุกจังหวัดจำนวน 840,000 คนฟรี เฉลี่ยอำเภอละ 1,000 คน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน โดยการค้นหาเกษตรกรที่มีความเสี่ยง และตรวจเลือดโดยใช้ชุดตรวจสารพิษในเลือดภาคสนาม รู้ผลเร็วภายใน 10 นาที หากพบว่ามีสารพิษในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จะนำสมุนไพรรางจืดซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นยารสเย็น ใช้แก้พิษเบื่อเมา จากเห็ดพิษ สารหนู หรือยาฆ่าแมลง โดยผลิตในรูปของชาชงสำเร็จ มาใช้ล้างพิษในร่างกาย รวมทั้งมีบริการตรวจคัดกรอง ให้คำปรึกษาวิธีบรรเทาปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดให้เกษตรกรด้วย นอกจากนี้ จะมีการยกมาตรฐานตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 28 แห่ง ให้มีระบบการตรวจเฝ้าระวังสารตกค้าง อบรมผู้ค้าให้มีความรู้ความเข้าใจอันตรายสารกำจัดศัตรูพืช และคัดเลือกผักผลไม้ที่ปลอดภัยมาจำหน่ายผู้บริโภค คาดว่า จะสามารถประเมินผลได้ภายใน 3 เดือน
ข้อมูลจากสำนักงานสถิตแห่งชาติ ล่าสุด ในปี 2551 ทั่วประเทศ มีเกษตรกร 14.1 ล้านคน เกษตรกรร้อยละ 60 มีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งกว่าครึ่งใช้สารเคมี จากข้อมูลการฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลและพืชไร่ในภาคตะวันออก เช่น ที่ จ.จันทบุรี ระยอง ตราด สระแก้ว ในช่วงปี 2546-2549 พบว่า ผู้ปลูกไม้ผล มีการใช้สารเคมีที่ผสมน้ำแล้วเฉลี่ยคนละ 21,791 ลิตรต่อปี มากกว่าชาวไร่ถึง 3.5 เท่าตัว โดยชาวไร่ใช้เพียงคนละ 5,997 ลิตรต่อปี สารเคมีที่ชาวสวนใช้มากอันดับ 1 ร้อยละ 54 ได้แก่ สารออการ์โนฟอสเฟต ซึ่งใช้กำจัดแมลง ส่วนชาวไร่ใช้สารกลุ่มพาราควอต กำจัดวัชพืชร้อยละ 69 และส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการใช้สารเคมี โดยพบว่าขณะที่ฉีดพ่นไม่ได้ใช้เครื่องป้องกัน เช่น แว่นตาป้องกันละอองสารเคมีร้อยละ 77 ไม่ใส่ถุงมือร้อยละ 49 และไม่ใช้ที่ปิดจมูกร้อยละ 10 จึงมีความเสี่ยงสูงที่สารเคมีจะเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการตรวจเลือดให้เกษตรกรดังกล่าว
นางพรรณสิริ กล่าวต่อว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนมากมีอันตรายต่อระบบสมองและประสาท บางชนิดมีผลกระทบต่อฮอร์โมนการสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ บางชนิดทำให้ตับอักเสบ เป็นมะเร็ง โดยอาการพิษมี 2 แบบ คือ แบบพิษเฉียบพลัน อาการเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก ท้องเสีย ตาลาย หายใจติดขัด เสียชีวิตได้ และแบบพิษเรื้อรัง อาการจะค่อยๆ ปรากฏหลังได้รับพิษ ใช้เวลานานอาจเป็นเดือน หรือเป็นปี และยังพบว่าหากหญิงตั้งครรภ์ได้รับพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทารกด้วย โดยเฉพาะอายุครรภ์ 3 เดือนแรก เนื่องจากระยะนี้อวัยวะต่างๆ ของทารกอยู่ในช่วงก่อตัว
นางพรรณสิริ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโครงการ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะผลักดันโครงการเกษตรปลอดโรค ให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเกษตรกรเป็นกำลังแรงงานที่มีมากที่สุดในประเทศ และมีความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด ประกอบด้วย หน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข มี นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อผลักดันนโยบายเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน จะผลักดันให้การตรวจเลือดหาสารตกค้างในเลือดเกษตรกรบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย ซึ่งจะสามารถใช้เชื่อมโยงกับกองทุนสุขภาพตำบล ช่วยลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยของเกษตรกรมากขึ้น