อย.เผยสำรวจพบคลินิกและสถานเสริมความงามจำนวนมาก กระทำผิดกฎหมาย ล่าสุดช่วง ต.ค.-ธ.ค.2553 สำรวจไปแล้ว 50 แห่ง สั่งระงับโฆษณาแล้ว 10 ราย ส่วนใหญ่ใช้พนักงานสาวสวยหน้าใส หุ่นดี พูดจูงใจให้ประชาชนใช้บริการ โดยเฉพาะอ้างทำให้ผิวขาว ใส เต่งตึง ด้วยวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศ โดยไม่ได้ขออนุญาตนำเข้า และไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา เตือนคลินิกและสถานเสริมความงามทุกแห่งปฏิบัติให้ถูกต้อง อย.ทำแผนเตรียมออกตรวจอย่างจริงจัง เริ่มมีนาคมนี้
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า จากนโยบาย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการ ณ คลินิกและสถานเสริมความงามต่างๆ ที่ขณะนี้เปิดให้บริการด้านความงามอย่างแพร่หลาย ในศูนย์การค้าและแหล่งชุมชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจะตกแต่งคลินิกให้สวยงาม สถานที่กว้างขวางมีพนักงานต้อนรับเป็นสาวสวย หน้าขาว ใส ใส่เครื่องแบบ หุ่นดี ซึ่งคลินิกหรือสถานเสริมความงามในลักษณะดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่กระทำผิดกฎหมาย โดยล่าสุด ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2553 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกสำรวจคลินิกและสถานบริการเสริมความงาม 50 แห่ง พบกระทำผิดกฎหมายเกือบทุกแห่ง โดยพบว่ามีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในสถานบริการ ในรูปแบบของแผ่นแบนเนอร์ แผ่นพับแจกเผยแพร่หน้าสถานบริการพบตัวหนังสือโฆษณาสรรพคุณที่กระจกหน้าร้าน รวมทั้งมีการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ด้วย ส่วนใหญ่จะระบุข้อความว่า : มีเครื่องเลเซอร์เสริมความงาม เครื่องอัลตราซาวนด์ ไอออนโต (Ionto) อินฟราเรด IPL เทอร์มาจ ลดน้ำหนัก ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (RF) ในการเสริมความงาม เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นโฆษณาเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้บริการในสถานเสริมความงาม ส่วนใหญ่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องมาขออนุญาตให้ถูกต้องด้วย ซึ่งจะต้องมีใบรับรองการนำเข้าจาก อย.ก่อนจึงจะนำมาใช้บริการได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอให้ผู้ประกอบการสถานเสริมความงาม ตรวจสอบว่าเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในสถานบริการ เป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีการนำเข้าโดยถูกกฎหมายหรือไม่ ขณะนี้ได้ดำเนินคดีโดยสั่งให้ระงับโฆษณาแล้ว 10 ราย นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือแพทย์กับผู้รับบริการเสริมความงามดังกล่าว เข้าข่ายประกอบโรคศิลปะ หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เท่านั้น หากพบว่ามีการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากพบว่ามีการประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการ อย.กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังพบสถานเสริมความงามที่จำหน่ายเครื่องสำอาง อ้างรักษาฝ้า ทำให้หน้าใส ขาว ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการด้วย หาก อย.ตรวจสอบว่าจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ข้อหาขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากพบขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง เช่น ไม่มีฉลากภาษาไทย, ไม่แสดงชื่อ ที่ตั้งผู้ผลิต, ไม่แสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิต เป็นต้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากพบขายเครื่องสำอางที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการ อย.กล่าวอีกว่า ในเดือนมีนาคมนี้ อย.จะออกตรวจคลินิกและสถานเสริมความงามอย่างจริงจัง จึงขอเตือนมายังประชาชนอย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อโฆษณาของสถานเสริมความงามต่างๆ เพียงเพื่อต้องการให้ตนเองดูดี โดยเสียค่าใช้จ่ายราคาสูง ผลที่ได้รับอาจไม่คุ้มค่า อาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบ หรือทำให้ใบหน้าเสียโฉมได้ ควรคำนึงว่าผิวธรรมชาติดีที่สุด หากผู้บริโภคพบเห็นสถานพยาบาล หรือสถานเสริมความงามใดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้บริการที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง หรือใช้วัสดุทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบปัญหาเพื่อ อย. จะได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมาย คุ้มครองประชาชนชาวไทยให้ได้รับความปลอดภัย
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า จากนโยบาย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการ ณ คลินิกและสถานเสริมความงามต่างๆ ที่ขณะนี้เปิดให้บริการด้านความงามอย่างแพร่หลาย ในศูนย์การค้าและแหล่งชุมชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจะตกแต่งคลินิกให้สวยงาม สถานที่กว้างขวางมีพนักงานต้อนรับเป็นสาวสวย หน้าขาว ใส ใส่เครื่องแบบ หุ่นดี ซึ่งคลินิกหรือสถานเสริมความงามในลักษณะดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่กระทำผิดกฎหมาย โดยล่าสุด ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2553 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกสำรวจคลินิกและสถานบริการเสริมความงาม 50 แห่ง พบกระทำผิดกฎหมายเกือบทุกแห่ง โดยพบว่ามีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในสถานบริการ ในรูปแบบของแผ่นแบนเนอร์ แผ่นพับแจกเผยแพร่หน้าสถานบริการพบตัวหนังสือโฆษณาสรรพคุณที่กระจกหน้าร้าน รวมทั้งมีการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ด้วย ส่วนใหญ่จะระบุข้อความว่า : มีเครื่องเลเซอร์เสริมความงาม เครื่องอัลตราซาวนด์ ไอออนโต (Ionto) อินฟราเรด IPL เทอร์มาจ ลดน้ำหนัก ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (RF) ในการเสริมความงาม เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นโฆษณาเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้บริการในสถานเสริมความงาม ส่วนใหญ่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องมาขออนุญาตให้ถูกต้องด้วย ซึ่งจะต้องมีใบรับรองการนำเข้าจาก อย.ก่อนจึงจะนำมาใช้บริการได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอให้ผู้ประกอบการสถานเสริมความงาม ตรวจสอบว่าเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในสถานบริการ เป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีการนำเข้าโดยถูกกฎหมายหรือไม่ ขณะนี้ได้ดำเนินคดีโดยสั่งให้ระงับโฆษณาแล้ว 10 ราย นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือแพทย์กับผู้รับบริการเสริมความงามดังกล่าว เข้าข่ายประกอบโรคศิลปะ หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เท่านั้น หากพบว่ามีการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากพบว่ามีการประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการ อย.กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังพบสถานเสริมความงามที่จำหน่ายเครื่องสำอาง อ้างรักษาฝ้า ทำให้หน้าใส ขาว ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการด้วย หาก อย.ตรวจสอบว่าจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ข้อหาขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากพบขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง เช่น ไม่มีฉลากภาษาไทย, ไม่แสดงชื่อ ที่ตั้งผู้ผลิต, ไม่แสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิต เป็นต้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากพบขายเครื่องสำอางที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการ อย.กล่าวอีกว่า ในเดือนมีนาคมนี้ อย.จะออกตรวจคลินิกและสถานเสริมความงามอย่างจริงจัง จึงขอเตือนมายังประชาชนอย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อโฆษณาของสถานเสริมความงามต่างๆ เพียงเพื่อต้องการให้ตนเองดูดี โดยเสียค่าใช้จ่ายราคาสูง ผลที่ได้รับอาจไม่คุ้มค่า อาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบ หรือทำให้ใบหน้าเสียโฉมได้ ควรคำนึงว่าผิวธรรมชาติดีที่สุด หากผู้บริโภคพบเห็นสถานพยาบาล หรือสถานเสริมความงามใดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้บริการที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง หรือใช้วัสดุทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบปัญหาเพื่อ อย. จะได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมาย คุ้มครองประชาชนชาวไทยให้ได้รับความปลอดภัย