ม็อบลูกจ้างกว่า 150 คน ร้อง ก.แรงงาน ให้สปส.เก็บหนี้จากนายจ้างมากขึ้น หวังให้ปิดกิจการ แล้วจ่ายเงินชดเชย เหตุนายจ้างขาดสภาพคล่องทำให้จ่ายเงินเดือนล่าช้า
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่กระทรวงแรงงาน นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่คนงานจากบริษัท อริยะการทอ จำกัด จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 150 คน ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุมอยู่บริเวณหน้ากระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปทุมธานี ดำเนินการให้บริษัท อริยะการทอ จำกัด ชำระหนี้กองทุนประกันสังคม ซึ่งเดิมผ่อนชำระเดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ขอให้สปส.เรียกเก็บเงินจากบริษัทฯ เพื่อชำระหนี้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ขอให้ สปส.ยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทเพื่อออกขายทอดตลาด ว่า เป็นการมุ่งหวังกดดันให้บริษัทฯ ประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ส่งผลให้มีการเลิกจ้างและจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง
โดยก่อนหน้านี้ได้มีการขอให้ใช้อำนาจตามกฎหมายสั่งปิดกิจการโรงงานดังกล่าว และจ่ายเงินชดเชยให้กับแรงงานทั้งหมด แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ยังดำเนินการอยู่ และยังไม่ได้จ่ายเงินชดเชยแก่แรงงานทั้ง 283 คน คิดเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาท
นางอัมพร กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯ ยังขาดสภาพคล่อง และยังจ่ายเงินให้กับคนงานยังไม่ครบ ทางลูกจ้างจึงอยากให้นายจ้างบอกเลิกจ้างเลย เพื่อจะได้เงินชดเชย แล้วจะได้ออกไปทำงานที่อื่น แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่ได้มีการเลิกจ้าง ทางกลุ่มลูกจ้างที่มาชุมนุมจึงอยากให้ สปส.เรียกเก็บสมทบที่ทางบริษัทฯ ติดหนี้อยู่ให้มากขึ้น เพื่อกดดันให้บริษัทประสบปัญหาจะได้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ แล้วจึงจ่ายเงินชดเชยให้ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง
“จากปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย โดยการจ่ายค่าแรงไม่ตรงเวลาเพื่อให้ลูกจ้างรำคาญและลาออกไปเองซึ่งก็จะไม่ได้เงินชดเชย ทำให้ทางกลุ่มลูกจ้างออกมาเรียกร้องซึ่งในขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่จาก สปส.เข้าไปไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าวแล้ว”นางอัมพรกล่าว
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่กระทรวงแรงงาน นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่คนงานจากบริษัท อริยะการทอ จำกัด จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 150 คน ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุมอยู่บริเวณหน้ากระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปทุมธานี ดำเนินการให้บริษัท อริยะการทอ จำกัด ชำระหนี้กองทุนประกันสังคม ซึ่งเดิมผ่อนชำระเดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ขอให้สปส.เรียกเก็บเงินจากบริษัทฯ เพื่อชำระหนี้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ขอให้ สปส.ยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทเพื่อออกขายทอดตลาด ว่า เป็นการมุ่งหวังกดดันให้บริษัทฯ ประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ส่งผลให้มีการเลิกจ้างและจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง
โดยก่อนหน้านี้ได้มีการขอให้ใช้อำนาจตามกฎหมายสั่งปิดกิจการโรงงานดังกล่าว และจ่ายเงินชดเชยให้กับแรงงานทั้งหมด แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ยังดำเนินการอยู่ และยังไม่ได้จ่ายเงินชดเชยแก่แรงงานทั้ง 283 คน คิดเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาท
นางอัมพร กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯ ยังขาดสภาพคล่อง และยังจ่ายเงินให้กับคนงานยังไม่ครบ ทางลูกจ้างจึงอยากให้นายจ้างบอกเลิกจ้างเลย เพื่อจะได้เงินชดเชย แล้วจะได้ออกไปทำงานที่อื่น แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่ได้มีการเลิกจ้าง ทางกลุ่มลูกจ้างที่มาชุมนุมจึงอยากให้ สปส.เรียกเก็บสมทบที่ทางบริษัทฯ ติดหนี้อยู่ให้มากขึ้น เพื่อกดดันให้บริษัทประสบปัญหาจะได้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ แล้วจึงจ่ายเงินชดเชยให้ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง
“จากปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย โดยการจ่ายค่าแรงไม่ตรงเวลาเพื่อให้ลูกจ้างรำคาญและลาออกไปเองซึ่งก็จะไม่ได้เงินชดเชย ทำให้ทางกลุ่มลูกจ้างออกมาเรียกร้องซึ่งในขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่จาก สปส.เข้าไปไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าวแล้ว”นางอัมพรกล่าว