ตัวแทนกลุ่มเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยในอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ ร้องนิติบุคคลละเมิดสัญญานำพื้นที่ส่วนกลางไปต่อเติมดัดแปลงเป็นศูนย์การค้า
วันนี้ (4 ก.พ.) ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตัวแทนกลุ่มเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยในอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ ได้เข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า นิติบุคคลอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำละเมิดสัญญา โดยการปรับปรุง แก้ไข ต่อเติมพื้นที่ที่เป็นทางเดิน น้ำพุ พื้นที่ด้านหน้าอาคารภายในอาคาร และที่จอดรถบางส่วนที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางไปสร้างเป็นเป็นศูนย์การค้า (PLAZA)
อาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 โดยบริษัท เพชรบุญมา จำกัด เป็นตึก 36 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีจำนวนห้อง 610 ห้องแบ่งเป็นอาคาร A และ B ตั้งอยู่เลขที่ 888 ถ.เพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จดทะเบียนเป็นอาคารชุดเพื่อใช้เป็นอาคารที่อยู่อาศัย พาณิชย์-ภัตตาคาร-จอดรถยนต์
ต่อมาได้มีการจัดตั้งบริษัท ภัทรา พร๊อพเพอตี้ มาเนจเม้นท์ จำกัด เป็นผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุด ในปี 2548 เจ้าของอาคารได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงอาคาร A เป็นโรงแรม-พาณิชย์-พักอาศัย-จอดรถยนต์ และได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2548 ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ได้มีการจัดประชุมใหญ่เพื่อขอความเห็น เรื่องการนำพื้นที่ส่วนกลางไปดัดแปลงเป็นพลาซ่าซึ่งมีเจ้าของร่วมจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยและทำหนังสือยื่นคัดค้านการก่อสร้างดังกล่าวต่อบริษัท เพชรบุญมาฯ
หลังจากนั้นวันที่ 21 มกราคม 2553 นิติบุคคลฯ ได้ส่งหนังสือเชิญประชุมใหญ่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 ให้กับเจ้าของร่วมโดยมิได้ส่งให้เจ้าของห้องโดยตรง แต่ใช้วิธีให้ประชาสัมพันธ์แจกหน้าเคาเตอร์ ถ้าพบเจ้าของร่วม ที่ประชาสัมพันธ์รู้จัก หนังสือดังกล่าวจึงไม่ถึงมือเจ้าของร่วมทั้งหมด ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ประชุมใหญ่ได้นำข้อเสนอการขอเช่าพื้นที่ของบริษัท พรพันจำกัด เข้าร่วมประชุมเพื่อขอมติเรื่องการนำพื้นที่ส่วนกลางมาต่อเติมและดัดแปลงเป็นพลาซ่า ซึ่งในวันประชุมนั้นนิติบุคคลฯ อ้างว่ามีผู้เข้าร่วมการประชุมครบองค์ประชุม เพราะมีทั้งตัวแทนบริษัทพรพันฯ ตัวแทนและเจ้าของห้องชุดเข้าร่วมประชุมเกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปตามระเบียบ ที่ตั้งไว้ ในที่ประชุม มีทั้งเสียงที่เห็นด้วย, ไม่เห็นด้วยและงดออกเสียง
หลังจากนั้น ผู้จัดการนิติบุคคลฯ 2553 อ้างมติที่ประชุมเห็นชอบด้วยเสียงส่วนใหญ่แจ้งความประสงค์ขอดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ ตามแบบ กทม.6 เลขที่ 135/2553 ลงวันที่ 1 เมษายน โดยเอาทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นทางเดิน น้ำพุ และส่วนที่ต่อเติมมาทำเป็นศูนย์การค้า (Plaza) โดยมีสัญญาเช่า 30 ปี กับ บริษัท พรพัน จำกัด ตั้งแต่บริษัท พรพันฯ เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้สร้างความเสียหายกับเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยจำนวนมาก ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบต่อความสะดวกสบาย ในการอยู่อาศัย และการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ
นายศิริไชย หงษ์สงวนศรี ผู้อาศัยในคอนโดมิเนียมกล่าวว่า การสร้างส่วนพลาซ่าเพื่อขายของนั้นไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา พร้อมให้เหตุผลการซื้อคอนโดฯ ว่าอยากอยู่อย่างสงบถึงได้เลือกซื้อคอนโดฯ นี้ อยากให้ทางนิติบุคคลทำตามสัญญา
“อยากให้มีการควบคุมสัญญา ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมในการทำสัญญาด้วย ไม่ใช่ผู้ขายคอนโดฯ อยากเปลี่ยนแปลงอะไรก็ทำได้ น่าจะมีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม” นายศิริไชยกล่าว
ด้าน นางยุวธิดา ยะโคะโนะ ผู้อาศัยอีกรายกล่าวว่า ตัดสินใจซื้อคอนโดนี้เพราะโฆษณาและเห็นว่าเป็นคอนโดฯ ที่ดูดี สงบ แต่เมื่อมีการมาสร้างพลาซ่าในภายหลังทำให้ผู้คนเยอะขึ้นและวิถีชีวิตประจำวันต่างๆ เปลี่ยนไป มีผู้คนพลุกพล่านเสียงดัง และกลิ่นเหม็นควันจากการจราจรของรถ
“ก่อนซื้อเราก็เลือกแล้วและมีการวางแผนชีวิตว่าเราจะมีความสุขกับครอบครัวที่นี่ แต่แทนที่จะเป็นแบบนั้นเรากลับสวนทางกับผู้คนมากขึ้น และเสียความเป็นส่วนตัว ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของอาคารชุดฯ อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาในส่วนนี้” นางยุวธิดากล่าว
วันนี้ (4 ก.พ.) ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตัวแทนกลุ่มเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยในอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ ได้เข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า นิติบุคคลอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำละเมิดสัญญา โดยการปรับปรุง แก้ไข ต่อเติมพื้นที่ที่เป็นทางเดิน น้ำพุ พื้นที่ด้านหน้าอาคารภายในอาคาร และที่จอดรถบางส่วนที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางไปสร้างเป็นเป็นศูนย์การค้า (PLAZA)
อาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 โดยบริษัท เพชรบุญมา จำกัด เป็นตึก 36 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีจำนวนห้อง 610 ห้องแบ่งเป็นอาคาร A และ B ตั้งอยู่เลขที่ 888 ถ.เพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จดทะเบียนเป็นอาคารชุดเพื่อใช้เป็นอาคารที่อยู่อาศัย พาณิชย์-ภัตตาคาร-จอดรถยนต์
ต่อมาได้มีการจัดตั้งบริษัท ภัทรา พร๊อพเพอตี้ มาเนจเม้นท์ จำกัด เป็นผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุด ในปี 2548 เจ้าของอาคารได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงอาคาร A เป็นโรงแรม-พาณิชย์-พักอาศัย-จอดรถยนต์ และได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2548 ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ได้มีการจัดประชุมใหญ่เพื่อขอความเห็น เรื่องการนำพื้นที่ส่วนกลางไปดัดแปลงเป็นพลาซ่าซึ่งมีเจ้าของร่วมจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยและทำหนังสือยื่นคัดค้านการก่อสร้างดังกล่าวต่อบริษัท เพชรบุญมาฯ
หลังจากนั้นวันที่ 21 มกราคม 2553 นิติบุคคลฯ ได้ส่งหนังสือเชิญประชุมใหญ่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 ให้กับเจ้าของร่วมโดยมิได้ส่งให้เจ้าของห้องโดยตรง แต่ใช้วิธีให้ประชาสัมพันธ์แจกหน้าเคาเตอร์ ถ้าพบเจ้าของร่วม ที่ประชาสัมพันธ์รู้จัก หนังสือดังกล่าวจึงไม่ถึงมือเจ้าของร่วมทั้งหมด ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ประชุมใหญ่ได้นำข้อเสนอการขอเช่าพื้นที่ของบริษัท พรพันจำกัด เข้าร่วมประชุมเพื่อขอมติเรื่องการนำพื้นที่ส่วนกลางมาต่อเติมและดัดแปลงเป็นพลาซ่า ซึ่งในวันประชุมนั้นนิติบุคคลฯ อ้างว่ามีผู้เข้าร่วมการประชุมครบองค์ประชุม เพราะมีทั้งตัวแทนบริษัทพรพันฯ ตัวแทนและเจ้าของห้องชุดเข้าร่วมประชุมเกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปตามระเบียบ ที่ตั้งไว้ ในที่ประชุม มีทั้งเสียงที่เห็นด้วย, ไม่เห็นด้วยและงดออกเสียง
หลังจากนั้น ผู้จัดการนิติบุคคลฯ 2553 อ้างมติที่ประชุมเห็นชอบด้วยเสียงส่วนใหญ่แจ้งความประสงค์ขอดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ ตามแบบ กทม.6 เลขที่ 135/2553 ลงวันที่ 1 เมษายน โดยเอาทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นทางเดิน น้ำพุ และส่วนที่ต่อเติมมาทำเป็นศูนย์การค้า (Plaza) โดยมีสัญญาเช่า 30 ปี กับ บริษัท พรพัน จำกัด ตั้งแต่บริษัท พรพันฯ เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้สร้างความเสียหายกับเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยจำนวนมาก ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบต่อความสะดวกสบาย ในการอยู่อาศัย และการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดแกรนด์ไดมอนด์-ประตูน้ำ
นายศิริไชย หงษ์สงวนศรี ผู้อาศัยในคอนโดมิเนียมกล่าวว่า การสร้างส่วนพลาซ่าเพื่อขายของนั้นไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา พร้อมให้เหตุผลการซื้อคอนโดฯ ว่าอยากอยู่อย่างสงบถึงได้เลือกซื้อคอนโดฯ นี้ อยากให้ทางนิติบุคคลทำตามสัญญา
“อยากให้มีการควบคุมสัญญา ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมในการทำสัญญาด้วย ไม่ใช่ผู้ขายคอนโดฯ อยากเปลี่ยนแปลงอะไรก็ทำได้ น่าจะมีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม” นายศิริไชยกล่าว
ด้าน นางยุวธิดา ยะโคะโนะ ผู้อาศัยอีกรายกล่าวว่า ตัดสินใจซื้อคอนโดนี้เพราะโฆษณาและเห็นว่าเป็นคอนโดฯ ที่ดูดี สงบ แต่เมื่อมีการมาสร้างพลาซ่าในภายหลังทำให้ผู้คนเยอะขึ้นและวิถีชีวิตประจำวันต่างๆ เปลี่ยนไป มีผู้คนพลุกพล่านเสียงดัง และกลิ่นเหม็นควันจากการจราจรของรถ
“ก่อนซื้อเราก็เลือกแล้วและมีการวางแผนชีวิตว่าเราจะมีความสุขกับครอบครัวที่นี่ แต่แทนที่จะเป็นแบบนั้นเรากลับสวนทางกับผู้คนมากขึ้น และเสียความเป็นส่วนตัว ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของอาคารชุดฯ อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาในส่วนนี้” นางยุวธิดากล่าว