“หมอประเวศ” แนะไทยใช้หลักทางวัฒนธรรมเป็นตัวตั้งในการบริหารดินแดนร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ไม่ยึดแนวคิดแบบตะวันตก เชื่อทำให้เรื่องดินแดนที่ไทยประสบอยู่ขณะนี้ลดลงได้
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในการจัดทำยุทธศาสตร์อารยธรรมสุวรรณภูมิ เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.นพ.ประเวศ ได้นำเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาดินแดนในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมาจากกลุ่มประเทศอาเซียนใช้การบริหารจัดการดินแดนแบบชาวตะวันตก ในรูปแบบของรัฐชาติใช้ดินแดนแบ่งอาณาเขตที่แน่ชัด โดยใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ซึ่งสังคมที่เน้นการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจโดยลืมรากฐานของวัฒนธรรม ก็จะก่อให้เกิดปัญหาสังคม และปัญหาดินแดนระหว่างประเทศขึ้น ตัวอย่างเช่น ที่เชียงคานเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ชาวบ้านไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในดินแดนของประเทศใด แต่ชาวบ้านรู้ว่า เขามีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันเขายึดวัฒนธรรมในพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยไม่คำนึงถึงเรื่องดินแดน ทำให้ไม่มีปัญหาเหมือนเช่นทุกวันนี้ที่คนแบ่งกันด้วยคำว่า “ชาติใด”
นายสมชาย กล่าวต่อว่า ศ.นพ.ประเวศ ยังได้เน้นย้ำด้วยว่า ประเทศไทยควรใช้หลักของกระบวนการทางวัฒนธรรมมาเป็นตัวตั้งในการบริหารดินแดนร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องดินแดนที่ประเทศไทยประสบอยู่ในขณะนี้ลดลงได้ หากกลุ่มประเทศอาเซียนมีการเชื่อมโยงกันโดยใช้วัฒนธรรมอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา โดยใช้อารยธรรมสุวรรณภูมิไม่ได้ยึดแนวคิดเรื่องของดินแดนแบบตะวันตกก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ ซึ่งตนเห็นด้วยกับ ศ.นพ.ประเวศ อย่างยิ่งกับเรื่องนี้ หลายฝ่ายอาจมองว่า การใช้วัฒนธรรมเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนจะส่งผลถึงเรื่องความมั่นคงของรัฐ แต่ตนมองว่า ความมั่นคงของมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เพราะหากทุกคนเคารพในกันและกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ความมั่นคงของรัฐก็จะตามมา
“ศ.นพ.ประเวศ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของนโยบายอารยธรรมสุวรรณภูมิ เกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆ ไว้ด้วยว่า การสร้างอารยธรรมสุวรรณภูมิ จะส่งผลดีต่อการสร้างความมั่นคงของภูมิภาค ลดความขัดแย้งเรื่องดินแดน รวมทั้งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวในภูมิภาคด้วย กระทรวงวัฒนธรรม ต้องเร่งหารือกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ สื่อมวลชน ผู้แทนภาคการท่องเที่ยว เกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้งรัฐบาลต้องถือยุทธศาสตร์นี้ เป็นนโยบายและจัดสรรงบประมาณศึกษาค้นคว้าวิจัย วัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ อย่างเข้มข้น ซึ่งการค้นคว้าวิจัย ต้องร่วมถึงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และดีเอ็นเอของผู้คนในภูมิภาคด้วย จะทำให้ผู้คนที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนเห็นว่า เรามีอารยธรรมร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกด้วยคำว่าประเทศอีก” ปลัด วธ.กล่าว
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในการจัดทำยุทธศาสตร์อารยธรรมสุวรรณภูมิ เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.นพ.ประเวศ ได้นำเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาดินแดนในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมาจากกลุ่มประเทศอาเซียนใช้การบริหารจัดการดินแดนแบบชาวตะวันตก ในรูปแบบของรัฐชาติใช้ดินแดนแบ่งอาณาเขตที่แน่ชัด โดยใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ซึ่งสังคมที่เน้นการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจโดยลืมรากฐานของวัฒนธรรม ก็จะก่อให้เกิดปัญหาสังคม และปัญหาดินแดนระหว่างประเทศขึ้น ตัวอย่างเช่น ที่เชียงคานเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ชาวบ้านไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในดินแดนของประเทศใด แต่ชาวบ้านรู้ว่า เขามีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันเขายึดวัฒนธรรมในพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยไม่คำนึงถึงเรื่องดินแดน ทำให้ไม่มีปัญหาเหมือนเช่นทุกวันนี้ที่คนแบ่งกันด้วยคำว่า “ชาติใด”
นายสมชาย กล่าวต่อว่า ศ.นพ.ประเวศ ยังได้เน้นย้ำด้วยว่า ประเทศไทยควรใช้หลักของกระบวนการทางวัฒนธรรมมาเป็นตัวตั้งในการบริหารดินแดนร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องดินแดนที่ประเทศไทยประสบอยู่ในขณะนี้ลดลงได้ หากกลุ่มประเทศอาเซียนมีการเชื่อมโยงกันโดยใช้วัฒนธรรมอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา โดยใช้อารยธรรมสุวรรณภูมิไม่ได้ยึดแนวคิดเรื่องของดินแดนแบบตะวันตกก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ ซึ่งตนเห็นด้วยกับ ศ.นพ.ประเวศ อย่างยิ่งกับเรื่องนี้ หลายฝ่ายอาจมองว่า การใช้วัฒนธรรมเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนจะส่งผลถึงเรื่องความมั่นคงของรัฐ แต่ตนมองว่า ความมั่นคงของมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เพราะหากทุกคนเคารพในกันและกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ความมั่นคงของรัฐก็จะตามมา
“ศ.นพ.ประเวศ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของนโยบายอารยธรรมสุวรรณภูมิ เกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆ ไว้ด้วยว่า การสร้างอารยธรรมสุวรรณภูมิ จะส่งผลดีต่อการสร้างความมั่นคงของภูมิภาค ลดความขัดแย้งเรื่องดินแดน รวมทั้งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวในภูมิภาคด้วย กระทรวงวัฒนธรรม ต้องเร่งหารือกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ สื่อมวลชน ผู้แทนภาคการท่องเที่ยว เกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้งรัฐบาลต้องถือยุทธศาสตร์นี้ เป็นนโยบายและจัดสรรงบประมาณศึกษาค้นคว้าวิจัย วัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ อย่างเข้มข้น ซึ่งการค้นคว้าวิจัย ต้องร่วมถึงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และดีเอ็นเอของผู้คนในภูมิภาคด้วย จะทำให้ผู้คนที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนเห็นว่า เรามีอารยธรรมร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกด้วยคำว่าประเทศอีก” ปลัด วธ.กล่าว