จุฬาฯ ตั้งเป้า 2 ปีสู่ “มหา’ลัยสร้างเสริมสุขภาพ” เต็มตัว อธิการฯ เผย ปีหน้านิสิตปี 1 ทุกคน ต้องเน้นกิจกรรมอาสา อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/ปี เป็นเวลา 3 ปี บันทึกลงทรานสคริปต์ หวังกระตุ้นการมีจิตสำนึก+จิตอาสา เตรียมถกหามาตรการหากนิสิตไม่ปฏิบัติตาม จะไม่ให้จบการศึกษาหรือไม่
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาฯ ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพให้ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยได้จัดให้เรื่องนี้เป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาจุฬาฯ ภายใต้ชื่อยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” และ “เป็นสุข” โดยการดำเนินการนั้นได้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากโครงการบ้านนี้มีสุข ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเน้น 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากร นิสิต ชุมชน และสังคม เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการสร้างเสริมสุขภาวะ และมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัว
ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า กิจกรรมที่ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมานั้น อาทิ โครงการจักรยานในอุทยานจามจุรี พื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชนภายในมหาวิทยาลัย โครงการสปอร์ตคอมเพล็กซ์ การใช้กิจกรรมสุขภาพเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และสร้างประโยชน์ร่วมกัน การจัดพื้นที่เต้นแอโรบิกบริเวณตลาดสามย่าน เป็นต้น ขณะเดียวกัน จุฬาฯ ยังได้พยายามสร้างจิตสำนึก และการพัฒนาจิตอาสาในนิสิตด้วย โดยในปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป นิสิตชั้นปี 1 ระดับปริญญาตรีทุกคนต้องทำกิจกรรมอาสา อย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ส่วนระดับปริญญาโท อย่างน้อย 10 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งรูปแบบการทำกิจกรรมอาจเป็นการรวมกลุ่มของนิสิต หรือร่วมกับคณะ หรือร่วมกับโครงการของมหาวิทยาลัย โดยจะมีการบันทึกว่านิสิตทำความดีอะไรบ้างในทรานสคริปต์ของนิสิตเมื่อสำเร็จการศึกษาด้วย
“การบันทึกความดีลงทรานสคริปต์จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการไปสมัครงาน ซึ่งจะทำให้นายจ้างเห็นได้ว่านิสิตนอกจากจะขยันเรียนแล้ว ยังทำประโยชน์ให้แก่สังคมด้วย เพื่อให้สมกับเกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าจะเป็นปีแรกในการดำเนินการ หากนิสิตคนใดไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดก็อาจจะยังไม่มีการดำเนินการอะไร แต่จากการหารือร่วมกับคณบดีคณะต่างๆ ในเบื้องต้น มีบางรายได้เสนอว่าหากไม่ถึงอาจจะไม่ให้จบการศึกษา แต่ประเด็นนี้จะเป็นข้อสรุปหรือไม่คงต้องหารือกันต่อไป” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาฯ ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพให้ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยได้จัดให้เรื่องนี้เป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาจุฬาฯ ภายใต้ชื่อยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” และ “เป็นสุข” โดยการดำเนินการนั้นได้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากโครงการบ้านนี้มีสุข ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเน้น 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากร นิสิต ชุมชน และสังคม เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการสร้างเสริมสุขภาวะ และมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัว
ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า กิจกรรมที่ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมานั้น อาทิ โครงการจักรยานในอุทยานจามจุรี พื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชนภายในมหาวิทยาลัย โครงการสปอร์ตคอมเพล็กซ์ การใช้กิจกรรมสุขภาพเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และสร้างประโยชน์ร่วมกัน การจัดพื้นที่เต้นแอโรบิกบริเวณตลาดสามย่าน เป็นต้น ขณะเดียวกัน จุฬาฯ ยังได้พยายามสร้างจิตสำนึก และการพัฒนาจิตอาสาในนิสิตด้วย โดยในปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป นิสิตชั้นปี 1 ระดับปริญญาตรีทุกคนต้องทำกิจกรรมอาสา อย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ส่วนระดับปริญญาโท อย่างน้อย 10 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งรูปแบบการทำกิจกรรมอาจเป็นการรวมกลุ่มของนิสิต หรือร่วมกับคณะ หรือร่วมกับโครงการของมหาวิทยาลัย โดยจะมีการบันทึกว่านิสิตทำความดีอะไรบ้างในทรานสคริปต์ของนิสิตเมื่อสำเร็จการศึกษาด้วย
“การบันทึกความดีลงทรานสคริปต์จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการไปสมัครงาน ซึ่งจะทำให้นายจ้างเห็นได้ว่านิสิตนอกจากจะขยันเรียนแล้ว ยังทำประโยชน์ให้แก่สังคมด้วย เพื่อให้สมกับเกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าจะเป็นปีแรกในการดำเนินการ หากนิสิตคนใดไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดก็อาจจะยังไม่มีการดำเนินการอะไร แต่จากการหารือร่วมกับคณบดีคณะต่างๆ ในเบื้องต้น มีบางรายได้เสนอว่าหากไม่ถึงอาจจะไม่ให้จบการศึกษา แต่ประเด็นนี้จะเป็นข้อสรุปหรือไม่คงต้องหารือกันต่อไป” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว