กทม.ทุ่มงบ 16 ล้านบาท ติดตั้งตู้เขียวระวังภัยรูปแบบใหม่พลังงานแสงอาทิตย์ แจ้งเหตุผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กระจายข้อมูลสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบทันเหตุการณ์ นำร่องในจุดเสี่ยงภัย 112 จุดทั่วกรุงเทพฯ เพื่อช่วยลดอาชญากรรม และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
วันนี้ (17 ม.ค.) นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับ โครงการตู้เขียวระวังภัย ซึ่งสำนักเทศกิจเตรียมนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความปลอดภัย ตามโครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย โดยติดตั้งตู้เขียวระวังภัยรูปแบบใหม่ในจุดเสี่ยงภัย ซึ่งใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ มีสัญญาณไซเรนและไฟกะพริบแจ้งเหตุ พร้อมเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบ Real Time ผ่านซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ และส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันที นำร่องติดตั้งในจุดเสี่ยงภัย 22 สำนักงานเขต สำนักงานเขตละ 5 จุด ยกเว้นสำนักงานเขตพระนครและสำนักงานเขตปทุมวัน ติดตั้งสำนักงานเขตละ 6 จุด รวมทั้งสิ้น 112 จุด เพื่อช่วยลดอาชญากรรมบริเวณจุดเสี่ยงภัยได้มากขึ้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่สามารถทำการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ พร้อมขยายพื้นที่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ หากประสบผลสำเร็จ
ในส่วนของจุดที่จะพิจารณาติดตั้งตู้เขียวระวังภัยนั้น กทม.จะหารือร่วมกับตำรวจท้องที่และประชาชนในพื้นที่ด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ทับซ้อนกับตู้แดงของตำรวจ โดยใช้งบประมาณจำนวน 16,755,130 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ณ สำนักงานเขตและสำนักเทศกิจ อุปกรณ์ GPS BOX สำหรับติดตั้งรถจักรยานยนต์ จำนวน 110 คัน ชุดโปรแกรมควบคุมระบบพร้อมติดตั้ง ค่าบริการสื่อสารข้อมูล และค่าฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
สำหรับ 22 สำนักงานเขตนำร่อง ประกอบด้วย กลุ่มกรุงเทพกลาง ได้แก่ สำนักงานเขตดุสิต สำนักงานเขตพระนคร สำนักงานเขตราชเทวี และสำนักงานเขตห้วยขวาง กลุ่มกรุงเทพใต้ ได้แก่ สำนักงานเขตปทุมวัน สำนักงานเขตคลองเตย และสำนักงานเขตสวนหลวง กลุ่มกรุงเทพเหนือ ได้แก่ สำนักงานเขตจตุจักร สำนักงานเขตบางเขน สำนักงานเขตดอนเมือง และสำนักงานเขตสายไหม กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ได้แก่ สำนักงานเขตบางกะปิ สำนักงานเขตบึงกุ่ม สำนักงานเขตมีนบุรี และสำนักงานเขตประเวศ กลุ่มกรุงธนเหนือ ได้แก่ สำนักงานเขตคลองสาน สำนักงานเขตธนบุรี สำนักงานเขตจอมทอง และสำนักงานเขตตลิ่งชัน กลุ่มกรุงธนใต้ ได้แก่ สำนักงานเขตภาษีเจริญ สำนักงานเขตบางขุนเทียน และสำนักงานเขตบางแค
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กทม.ได้จัดทำโครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตามนโยบายด้านความปลอดภัย โดยให้ทุกสำนักงานเขตสำรวจและจัดทำบัญชีจุดเสี่ยงภัย พร้อมทั้งติดตั้งตู้เขียวและสมุดบันทึกการตรวจ จำนวน 579 แห่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งต่อจุด นอกจากนี้ยังจัดทำโครงการและกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลความปลอดภัย เช่น โครงการอาสาสมัครพิทักษ์คนเมือง โครงการฝึกอบรมความรู้และทักษะการป้องกันตัวเบื้องต้นให้กับนักเรียนและเยาวชนหญิงด้วย
วันนี้ (17 ม.ค.) นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับ โครงการตู้เขียวระวังภัย ซึ่งสำนักเทศกิจเตรียมนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความปลอดภัย ตามโครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย โดยติดตั้งตู้เขียวระวังภัยรูปแบบใหม่ในจุดเสี่ยงภัย ซึ่งใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ มีสัญญาณไซเรนและไฟกะพริบแจ้งเหตุ พร้อมเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบ Real Time ผ่านซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ และส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันที นำร่องติดตั้งในจุดเสี่ยงภัย 22 สำนักงานเขต สำนักงานเขตละ 5 จุด ยกเว้นสำนักงานเขตพระนครและสำนักงานเขตปทุมวัน ติดตั้งสำนักงานเขตละ 6 จุด รวมทั้งสิ้น 112 จุด เพื่อช่วยลดอาชญากรรมบริเวณจุดเสี่ยงภัยได้มากขึ้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่สามารถทำการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ พร้อมขยายพื้นที่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ หากประสบผลสำเร็จ
ในส่วนของจุดที่จะพิจารณาติดตั้งตู้เขียวระวังภัยนั้น กทม.จะหารือร่วมกับตำรวจท้องที่และประชาชนในพื้นที่ด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ทับซ้อนกับตู้แดงของตำรวจ โดยใช้งบประมาณจำนวน 16,755,130 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ณ สำนักงานเขตและสำนักเทศกิจ อุปกรณ์ GPS BOX สำหรับติดตั้งรถจักรยานยนต์ จำนวน 110 คัน ชุดโปรแกรมควบคุมระบบพร้อมติดตั้ง ค่าบริการสื่อสารข้อมูล และค่าฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
สำหรับ 22 สำนักงานเขตนำร่อง ประกอบด้วย กลุ่มกรุงเทพกลาง ได้แก่ สำนักงานเขตดุสิต สำนักงานเขตพระนคร สำนักงานเขตราชเทวี และสำนักงานเขตห้วยขวาง กลุ่มกรุงเทพใต้ ได้แก่ สำนักงานเขตปทุมวัน สำนักงานเขตคลองเตย และสำนักงานเขตสวนหลวง กลุ่มกรุงเทพเหนือ ได้แก่ สำนักงานเขตจตุจักร สำนักงานเขตบางเขน สำนักงานเขตดอนเมือง และสำนักงานเขตสายไหม กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ได้แก่ สำนักงานเขตบางกะปิ สำนักงานเขตบึงกุ่ม สำนักงานเขตมีนบุรี และสำนักงานเขตประเวศ กลุ่มกรุงธนเหนือ ได้แก่ สำนักงานเขตคลองสาน สำนักงานเขตธนบุรี สำนักงานเขตจอมทอง และสำนักงานเขตตลิ่งชัน กลุ่มกรุงธนใต้ ได้แก่ สำนักงานเขตภาษีเจริญ สำนักงานเขตบางขุนเทียน และสำนักงานเขตบางแค
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กทม.ได้จัดทำโครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตามนโยบายด้านความปลอดภัย โดยให้ทุกสำนักงานเขตสำรวจและจัดทำบัญชีจุดเสี่ยงภัย พร้อมทั้งติดตั้งตู้เขียวและสมุดบันทึกการตรวจ จำนวน 579 แห่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งต่อจุด นอกจากนี้ยังจัดทำโครงการและกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลความปลอดภัย เช่น โครงการอาสาสมัครพิทักษ์คนเมือง โครงการฝึกอบรมความรู้และทักษะการป้องกันตัวเบื้องต้นให้กับนักเรียนและเยาวชนหญิงด้วย