“ครูหยุย” ติงคำสั่งเคอร์ฟิวโจ๋ 18 ปี ไม่ชัด หวั่นประชาชนสับสน เจอพวกแอบอ้าง จนท.ตำรวจ ใครจะรับผิดชอบ เสนอเอาจริงเอาจังตั้งด่านตรวจ-ส่งสายตรวจ ลุยพื้นที่อโคจร ขณะที่ ผอ.มูลนิธิพิทักษ์สิทธิเด็ก มึน จนท.ใช้อำนาจใดจัดการ เหตุไร้กฎหมายคุม
ตามที่ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน โดยทาง บช.น.ได้สั่งห้ามเด็กต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม โดยไม่มีเหตุอันควรนั้น
วันนี้(14 ม.ค.) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวมีปัญหาตรงรายละเอียดที่ตำรวจสื่อออกมาไม่ชัดเจน ทั้งนี้ตนเสนอว่า ควรดำเนินการใน 2 ประเด็นคู่กันไปกับมาตรการดังกล่าว คือ 1.ควรมีการตั้งด่านตรวจในเวลากลางคืน นอกเหนือจากการตรวจแอลกอฮอล์ รถซิ่ง ซึ่งหากพบว่าเป็นเด็กตามที่ออกคำสั่งมาตำรวจก็ต้องสอบถามเป็นพิเศษ ซึ่งหากมีเหตุผลเพียงพอก็ปล่อยเด็กกลับบ้านไป แต่หากสังเกตพบว่ามีอาการมึนเมา หรือมีพิรุธ ก็ควรกักเด็กไว้ก่อนที่ด่านตรวจ จากนั้นค่อยเรียกผู้ปกครองมารับตัวกลับ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยปกป้องสังคมโดยรวมและตัวเด็กด้วย 2.ควรเพิ่มหน้าที่ของสายตรวจ นอกจากดูแลเรื่องเหตุด่วนเหตุร้ายแล้วก็ควรตรวจสถานที่อโคจรต่างๆ เช่นกัน ซึ่งหากพบว่ามีเด็กเข้าใช้บริการหลัง 4 ทุ่มแล้ว ก็ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสั่งปิดทันที ซึ่งที่ปล่อยกันมาจนทุกวันนี้เพราะการไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าหน้าตำรวจที่บางคนหรือไม่
“การออกคำสั่งมาลอยๆ เช่นนี้ มีความสุ่มเสี่ยงอยู่หลายเรื่อง ทั้งการสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน ซึ่งจริงๆ แล้วคงจะไปห้ามไม่ให้เด็กออกจากบ้านเลยนั้นทำไม่ได้ นอกจากนี้ คำสั่งดังกล่าวยังสุ่มเสี่ยงในกรณีผู้ไม่หวังดี หลอกเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ อ้างว่า ควบคุมตัวเด็กไปโรงพักแต่กลับพาไปตบทรัพย์ กระทำการไม่ดี แล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งเหตุเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โดยมีมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นสารวัตรนักเรียน แล้วนำตัวเด็กไปตบทรัพย์ในห้องน้ำของห้างสรรพสินค้า อย่างไรก็ตาม ผมได้เสนอข้อท้วงติงเหล่านี้ไปยังตำรวจชั้นผู้ใหญ่บ้างแล้ว ผมเข้าใจว่า เป็นเจตนาที่ดีของตำรวจแต่อาจมีช่องว่างอยู่บ้างจึงก็ต้องช่วยกันอุดช่องว่างดังกล่าว” ครูหยุย กล่าว
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า คำสั่งที่เกิดขึ้นนั้นตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดมาดำเนินการ ทั้งนี้ การที่เด็กออกจากบ้านก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการไปกระทำความผิด ประเด็นจึงอยู่ที่สถานที่ที่เด็กไปมากกว่า ทั้งสถานบริการ ผับ เธค หรือร้านเกม ไม่ว่าจะก่อน หรือ หลัง 4 ทุ่ม ปัจจุบันก็มีเด็กเข้าไปใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อตำรวจไม่มีอำนาจแล้วไปออกคำสั่งมาเช่นนี้ เมื่อพบเจอเด็กที่ฝ่าฝืนจะจัดการอย่างไร ซึ่งที่บอกว่าจะมีการสอบถาม ซักประวัติ แล้วพาตัวไปโรงพักเพื่อรอผู้ปกครองมารับนั้นทำไม่ได้
“การออกคำสั่งเช่นนี้ทำให้ตำรวจทำงานลำบากคือ ทุกวันนี้ภารกิจตำรวจก็ยุ่งอยู่แล้ว ซึ่งหากเจอเด็กตามท้องถนนก็ต้องเข้าไปสอบถามอีก วิธีการที่ง่ายที่สุดหากจะทำ คือ 1.ส่งตำรวจมวลชนสัมพันธ์ไปทำงานร่วมกับโรงเรียน ครอบครัว ให้ร่วมกันพูดคุยหาแนวทางในการดูแลเด็ก เช่นเมื่อเด็กขาดเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ต้องรู้ว่าเด็กไปไหน 2.การจัดสายตรวจไปตรวจตามแหล่งที่เด็กชอบไป รวมตัวกัน มั่วสุมกัน ซึ่งจะง่ายกว่าการไปออกข้อกำหนดเสียอีก” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
ตามที่ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน โดยทาง บช.น.ได้สั่งห้ามเด็กต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม โดยไม่มีเหตุอันควรนั้น
วันนี้(14 ม.ค.) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวมีปัญหาตรงรายละเอียดที่ตำรวจสื่อออกมาไม่ชัดเจน ทั้งนี้ตนเสนอว่า ควรดำเนินการใน 2 ประเด็นคู่กันไปกับมาตรการดังกล่าว คือ 1.ควรมีการตั้งด่านตรวจในเวลากลางคืน นอกเหนือจากการตรวจแอลกอฮอล์ รถซิ่ง ซึ่งหากพบว่าเป็นเด็กตามที่ออกคำสั่งมาตำรวจก็ต้องสอบถามเป็นพิเศษ ซึ่งหากมีเหตุผลเพียงพอก็ปล่อยเด็กกลับบ้านไป แต่หากสังเกตพบว่ามีอาการมึนเมา หรือมีพิรุธ ก็ควรกักเด็กไว้ก่อนที่ด่านตรวจ จากนั้นค่อยเรียกผู้ปกครองมารับตัวกลับ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยปกป้องสังคมโดยรวมและตัวเด็กด้วย 2.ควรเพิ่มหน้าที่ของสายตรวจ นอกจากดูแลเรื่องเหตุด่วนเหตุร้ายแล้วก็ควรตรวจสถานที่อโคจรต่างๆ เช่นกัน ซึ่งหากพบว่ามีเด็กเข้าใช้บริการหลัง 4 ทุ่มแล้ว ก็ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสั่งปิดทันที ซึ่งที่ปล่อยกันมาจนทุกวันนี้เพราะการไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าหน้าตำรวจที่บางคนหรือไม่
“การออกคำสั่งมาลอยๆ เช่นนี้ มีความสุ่มเสี่ยงอยู่หลายเรื่อง ทั้งการสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน ซึ่งจริงๆ แล้วคงจะไปห้ามไม่ให้เด็กออกจากบ้านเลยนั้นทำไม่ได้ นอกจากนี้ คำสั่งดังกล่าวยังสุ่มเสี่ยงในกรณีผู้ไม่หวังดี หลอกเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ อ้างว่า ควบคุมตัวเด็กไปโรงพักแต่กลับพาไปตบทรัพย์ กระทำการไม่ดี แล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งเหตุเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โดยมีมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นสารวัตรนักเรียน แล้วนำตัวเด็กไปตบทรัพย์ในห้องน้ำของห้างสรรพสินค้า อย่างไรก็ตาม ผมได้เสนอข้อท้วงติงเหล่านี้ไปยังตำรวจชั้นผู้ใหญ่บ้างแล้ว ผมเข้าใจว่า เป็นเจตนาที่ดีของตำรวจแต่อาจมีช่องว่างอยู่บ้างจึงก็ต้องช่วยกันอุดช่องว่างดังกล่าว” ครูหยุย กล่าว
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า คำสั่งที่เกิดขึ้นนั้นตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดมาดำเนินการ ทั้งนี้ การที่เด็กออกจากบ้านก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการไปกระทำความผิด ประเด็นจึงอยู่ที่สถานที่ที่เด็กไปมากกว่า ทั้งสถานบริการ ผับ เธค หรือร้านเกม ไม่ว่าจะก่อน หรือ หลัง 4 ทุ่ม ปัจจุบันก็มีเด็กเข้าไปใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อตำรวจไม่มีอำนาจแล้วไปออกคำสั่งมาเช่นนี้ เมื่อพบเจอเด็กที่ฝ่าฝืนจะจัดการอย่างไร ซึ่งที่บอกว่าจะมีการสอบถาม ซักประวัติ แล้วพาตัวไปโรงพักเพื่อรอผู้ปกครองมารับนั้นทำไม่ได้
“การออกคำสั่งเช่นนี้ทำให้ตำรวจทำงานลำบากคือ ทุกวันนี้ภารกิจตำรวจก็ยุ่งอยู่แล้ว ซึ่งหากเจอเด็กตามท้องถนนก็ต้องเข้าไปสอบถามอีก วิธีการที่ง่ายที่สุดหากจะทำ คือ 1.ส่งตำรวจมวลชนสัมพันธ์ไปทำงานร่วมกับโรงเรียน ครอบครัว ให้ร่วมกันพูดคุยหาแนวทางในการดูแลเด็ก เช่นเมื่อเด็กขาดเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ต้องรู้ว่าเด็กไปไหน 2.การจัดสายตรวจไปตรวจตามแหล่งที่เด็กชอบไป รวมตัวกัน มั่วสุมกัน ซึ่งจะง่ายกว่าการไปออกข้อกำหนดเสียอีก” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว